ขั้นตอนสมัคร "โครงการ DR BIZ การเงินร่วมใจ ธุรกิจไทยมั่นคง" ลงทะเบียนแก้หนี้ธุรกิจ SMEs รวมหนี้ ไม่เสียประวัติ
สำหรับเจ้าของธุรกิจที่เป็นหนี้ ต้องการแก้หนี้ เป็นหนี้ที่ใช้ในการทำธุรกิจและมีเจ้าหนี้ตั้งแต่ 2 ราย สามารถลงทะเบียนแก้หนี้ธุรกิจ ได้แล้วผ่าน "โครงการ DR BIZ การเงินร่วมใจ ธุรกิจไทยมั่นคง" ลงทะเบียนแก้หนี้ธุรกิจ SMEs ช่วยเหลือลูกหนี้ธุรกิจ ที่มีเจ้าหนี้ธนาคารหลายราย มีหนี้เยอะ ต้องการปลดหนี้ ให้สามารถเจรจาแก้ไขหนี้กับเจ้าหนี้หลายรายในคราวเดียว ขยายเวลาชำระหนี้ ลดค่างวด การพิจารณาให้สินเชื่อใหม่แก่ลูกหนี้ที่มีแผนธุรกิจชัดเจน มีประวัติการชำระหนี้ดี และมีความตั้งใจในการทำธุรกิจ
ลูกหนี้ธุรกิจที่มีเจ้าหนี้หลายรายสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการได้โดยตรงกับธนาคารเจ้าหนี้ หรือลงทะเบียนผ่าน เว็บไซต์โครงการ DR BIZ เพื่อแจ้งความประสงค์ขอรับการแก้ไขหนี้ โดยธนาคารจะใช้เวลาพิจารณาประมาณ 1 เดือนหลังจากได้รับข้อมูลและเอกสารจากลูกหนี้ครบถ้วน
โครงการ DR BIZ แก้หนี้ คืออะไร
เว็บไซต์โครงการ DR BIZ เป็นช่องทางในการแจ้งความประสงค์ขอรับการแก้ไขหนี้ สำหรับลูกหนี้ที่มีเจ้าหนี้สถาบันการเงินหรือสถาบันการเงินเฉพาะกิจหลายรายที่มีคุณสมบัติตามเงื่อนไขของโครงการ เพื่ออำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสาร ระหว่างผู้สมัครกับเจ้าหนี้ดังกล่าวเท่านั้น ทุกอย่างจะขึ้นกับการตกลงร่วมกันระหว่างผู้เข้าร่วมโครงการและเจ้าหนี้
โครงการ DR BIZ มีขึ้นเพื่อ "แก้หนี้" ช่วยเหลือและบรรเทาภาระหนี้ของธุรกิจที่มีเจ้าหนี้หลายรายซึ่งได้รับผล กระทบจากภาวะเศรษฐกิจ สถานการณ์ COVID-19 รวมถึงสงครามการค้า ภัยธรรมชาติ โดยการปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้ เพื่อให้เกิดผลโดยเร็ว
โครงการ DR BIZ แก้หนี้ ดีไหม
- ช่วยบรรเทาภาระหนี้
- ลดค่างวด
- ขยายเวลาชำระหนี้
- มีระยะเวลาปลอดหนี้
- ลดระยะเวลาเจรจาหนี้
- ลดเวลาติดต่อเจ้าหนี้หลายราย
- เจรจาหาข้อยุติได้รวดเร็วกายในกรอบระยะเวลา
- ไม่เสียประวัติด้านเครดิต
- หนี้ที่ไม่เป็น NPL ไม่ถูกรายงานใน NCB
- หนี้ที่ไม่เป็น NPL ไม่ถูกรายงานใน NCB
- ธุรกิจไม่สะดุด
- มีเงินพอรองรับการประกอบธุรกิจ
เงื่อนไขการเข้าร่วมโครงการ "DR BIZ การเงินร่วมใจ ธุรกิจไทยมั่นคง"
- มีเจ้าหนี้ธนาคาร ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ตั้งแต่ 2 รายขึ้นไป
- เป็นลูกหนี้ธุรกิจทุกประเภทธุรกิจ (ทั้งนิติบุคคลและบุคคลธรรมดา) และทุกอุตสาหกรรม ที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ แต่ยังคงมีศักยภาพในการดำเนินธุรกิจหรือชำระหนี้ได้
- มีสถานะหนี้ปกติ ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2563 หรือเป็น NPL กับธนาคารบางแห่งตั้งแต่ 1 ม.ค. 2562 เป็นต้นไป ไม่เป็นหนี้เสีย (ไม่มีการค้างชำระหนี้เกิน 90 วัน) กับเจ้าหนี้อย่างน้อยหนึ่งราย ทั้งนี้ กรณีที่เป็นหนี้เสียกับเจ้าหนี้บางราย ต้องไม่ใช่หนี้เสียที่มีอยู่เดิม โดยต้องเป็นหนี้เสียตั้งแต่ 1 ม.ค. 62 เว้นแต่พิสูจน์ได้ว่าได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจและสถานการณ์ COVID-19
- ไม่ถูกเจ้าหนี้รายใดรายหนึ่งฟ้องดำเนินคดีตามกฎหมาย ยกเว้นเจ้าหนี้ยินยอมถอนฟ้องคดี
ในระยะแรกเพื่อให้โครงการสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงมุ่งกลุ่มลูกหนี้ที่มีวงเงินสินเชื่อกับเจ้าหนี้ทุกรายรวมกัน ณ วันที่สมัครเข้าร่วมโครงการ ตั้งแต่ 50-500 ล้านบาท และสามารถใช้แนวทางที่กำหนดร่วมกันดังกล่าวขยายผลไปยังกลุ่มลูกหนี้ที่มีวงเงินต่ำกว่า 50 ล้านบาทหรือสูงกว่า 500 ล้านบาท โดยความเห็นชอบและยินยอมร่วมกันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้
ช่องทางการลงทะเบียนโครงการ "DR BIZ" แก้หนี้
https://www.bot.or.th/app/drbiz
ลูกหนี้ที่ต้องการเข้าร่วมโครงการสามารถติดต่อสมัครได้โดยตรงกับธนาคารหลักที่ใช้บริการอยู่ หรือลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์โครงการ DR BIZ เพื่อแจ้งความประสงค์ขอรับการแก้ไขหนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2563 เป็นต้นไป โดยธนาคารจะใช้เวลาพิจารณาประมาณ 1 เดือนหลังจากได้รับข้อมูลและเอกสารจากลูกหนี้ครบถ้วน
เงื่อนไขการลงทะเบียนโครงการ "DR BIZ" แก้หนี้
- ต้องกรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ถูกต้องตามความเป็นจริง โดยเฉพาะเลขประจำตัวประชาชน/เลขทะเบียนนิติบุคคล และหมายเลขโทรศัพท์มือถือ เพื่อติดต่อและรับรหัสส่งข้อมูล
- ในกรณีที่ไม่สะดวกที่จะกรอกข้อมูลด้วยตนเอง สามารถติดต่อสถาบันการเงินหรือสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ใช้บริการ
ขั้นตอนการสมัครเข้าร่วมโครงการ
- ลูกหนี้สมัครเข้าร่วมโครงการโดยลงทะเบียนผ่านช่องทางข้างต้น และให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น
- ชื่อบุคคล / นิติบุคคล
- ประเภทลูกหนี้ (บุคคลธรรมดา/ หจก./ บจก./ บมจ./ อื่นๆ)
- เลขบัตรประชาชน / เลขประจำตัวนิติบุคคล
- ชื่อผู้ติดต่อ
- หมายเลขโทรศัพท์มือถือ
- รายชื่อธนาคารเจ้าหนี้ที่สะดวกให้ติดต่อกลับ
- ธนาคารจะติดต่อลูกหนี้กลับภายใน 5 วัน โดยธนาคารจะมีการตรวจสอบตัวตนลูกหนี้ และอาจขอเอกสารจากลูกหนี้เพิ่มเติม
- ลูกหนี้นำส่งเอกสารเพิ่มเติมตามที่ธนาคารกำหนด
- ธนาคารเจ้าหนี้จะร่วมกันพิจารณาแนวทางให้ความช่วยเหลือ และแจ้งลูกหนี้ทราบผล รวมถึงลงนามในสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ภายใน 1 เดือน หลังจากธนาคารได้รับเอกสารของลูกหนี้ถูกต้อง ครบถ้วน (ทั้งนี้ อาจขยายเวลาเพิ่มได้ในกรณีที่มีความซับซ้อน)
ระยะเวลาโครงการ
เริ่มโครงการตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2564
ประโยชน์ที่ลูกหนี้จะได้รับจากการแก้หนี้ธุรกิจ
- การเข้าร่วมโครงการนี้จะช่วยให้ลูกหนี้ผู้ประกอบธุรกิจได้ติดต่อกับเจ้าหนี้จากหลายธนาคารได้ในคราวเดียว(one-stop) ช่วยลดขั้นตอนการสื่อสารระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ ซึ่งจะทำให้การแก้ไขปัญหาหนี้สินในภาพรวมของลูกหนี้สามารถได้ข้อยุติร่วมกันโดยเร็ว ไม่ต้องติดต่อขอเจรจากับเจ้าหนี้ทีละราย
- ลูกหนี้สามารถหารือปรับเงื่อนไขการชำระหนี้กับเจ้าหนี้ให้เหมาะสมก่อนที่จะกลายเป็นหนี้เสีย เพื่อบรรเทาภาระทางการเงิน และช่วยให้ลูกหนี้ยังสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้
- เป็นช่องทางในการเข้าถึงสินเชื่อใหม่ โดยธนาคารอาจพิจารณาให้สินเชื่อใหม่แก่ลูกหนี้ที่มีพฤติกรรมชำระหนี้ดี ตั้งใจทำธุรกิจต่อ และมีแผนธุรกิจที่ชัดเจน
ทั้งนี้ วิธีการปรับโครงสร้างหนี้ และการพิจารณาให้สินเชื่อใหม่ (อัตราดอกเบี้ย การขอหลักประกันเพิ่ม) จะขึ้นอยู่กับการพิจารณาความเสี่ยงและการประเมินความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้แต่ละราย
ค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมโครงการ DR BIZ
- ไม่มีค่าธรรมเนียมในการเข้าร่วมโครงการ
- ในระหว่างที่ลูกหนี้ผ่อนชำระหนี้ตามข้อตกลงของสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ธนาคารจะไม่เรียกเก็บดอกเบี้ยในอัตราผิดนัด หรือเรียกเก็บค่าบริการ เบี้ยปรับ หรือค่าใช้จ่ายอื่นใดเพิ่มเติมจากลูกหนี้
- ไม่มีเบี้ยปรับการชำระหนี้ก่อนกำหนด (prepayment fee)
อย่างไรก็ตาม กรณีที่มีค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงในการปรับโครงสร้างหนี้ เช่น ค่าจ้างเจ้าหน้าที่ประเมินมูลค่าหลักประกัน ลูกหนี้อาจต้องรับภาระดังกล่าว
ลูกหนี้ได้รับสิทธิประโยชน์หรือการยกเว้นค่าธรรมเนียมใดบ้าง
- ลดค่าธรรมเนียมการโอนและจดจำนองหลักประกัน เหลือ 0.01% (ภายใน 31 ธ.ค. 64)
- ได้รับยกเว้น ภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเพาะ อากรแสตมป์ สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (ภายใน 31 ธ.ค. 64) และอื่นๆ ซึ่งจะประกาศเพิ่มเติมต่อไป
รายชื่อสถาบันการเงินหรือสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ร่วมโครงการแก้หนี้
- ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารเจพีมอร์แกน เชส
- ธนาคารโอเวอร์ซี-ไชนีสแบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น จำกัด
- ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารซิตี้แบงก์ เอ็น.เอ.
- ธนาคารซูมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น
- ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารอาร์ เอช บี จำกัด
- ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารเมกะ สากลพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารแห่งอเมริกาเนชั่นแนลแอสโซซิเอชั่น
- ธนาคารอินเดียนโอเวอร์ซีส์
- ธนาคารออมสิน
- ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น จำกัด
- ธนาคารดอยซ์แบงก์
- ธนาคารอาคารสงเคราะห์
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
- ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
- ธนาคารมิซูโฮ จำกัด
- ธนาคารบีเอ็นพี พารีบาส์
- ธนาคารแห่งประเทศจีน (ไทย) จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
- ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารไอซีบีซี (ไทย) จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารเอเอ็นแซด (ไทย) จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารซูมิโตโม มิตซุย ทรัสต์ (ไทย) จำกัด (มหาชน)
- บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม
- บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย
- ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย
ช่องทางการติดต่อทุกธนาคารโดยละเอียด >> คลิก
ข้อมูลจาก โครงการ "DR BIZ การเงินร่วมใจ ธุรกิจไทยมั่นคง"
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
--------------------
เกาะติดสถานการณ์โควิด-19 ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก
ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.
คลิกเลย >>> TrueID Community <<<