รีเซต

ใครเห็นก็นึกว่าปลา ! หุ่นยนต์ปลาพลัง AI ทำหน้าที่ช่วยวิจัยในทะเล

ใครเห็นก็นึกว่าปลา ! หุ่นยนต์ปลาพลัง AI ทำหน้าที่ช่วยวิจัยในทะเล
TNN ช่อง16
4 กรกฎาคม 2566 ( 09:13 )
170

นักวิจัยและนักศึกษาสาขาวิศวกรรมหุ่นยนต์จากสถาบันเทคโนโลยีสหพันธ์สวิส ซูริค (ETH Zürich, Swiss Federal Institute of Technology) ได้สร้างเบลล์ (Belle) หุ่นยนต์ที่มีรูปทรงและลักษณะการเคลื่อนที่แบบเพื่อสำรวจใต้ทะเลด้วยการเคลื่อนที่อัตโนมัติของปัญญาประดิษฐ์ หรือเอไอ (AI)


คุณลักษณะหุ่นยนต์ปลาพลัง AI จากสวิส

เบลล์ (Belle) หรือหุ่นยนต์ปลาพลังเอไอ มีหน้าตาและรูปร่างคล้ายกับปลา มีน้ำหนักประมาณ 10 กิโลกรัม ภายในเป็นช่อง (Cavity) ที่รองรับการสูบน้ำเข้าไปภายในและดันออกมาด้วยปั๊มที่อยู่ภายในเพื่อขับดันตัวหุ่นยนต์ไปข้างหน้า และใช้ครีบปลาเทียมที่ทำจากซิลิโคนสำหรับควบคุมทิศทางหุ่นยนต์ปลาพลังเอไอโดยสามารถดำน้ำได้ลึกสูงสุด 1 เมตร


การทำงานจะใช้ปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอ (AI) ในการนำทางด้วยตัวเอง โดยตัวหุ่นยนต์ปลาพลังเอไอมีอุปกรณ์สำหรับเก็บตัวอย่างรหัสพันธุกรรม (DNA) ของสิ่งมีชีวิตใต้น้ำ พร้อมกล้องบันทึกวิดีโอความละเอียดสูง ตัวปลาเอไอสามารถแหวกว่ายในน้ำได้นานสุด 2 ชั่วโมงต่อรอบการชาร์จ และเมื่อแบตเตอรี่ใกล้หมด ตัวปลาจะขึ้นมาบนผิวน้ำและส่งสัญญาณเพื่อแจ้งพิกัดผ่านระบบจีพีเอส (GPS) เพื่อให้ผู้ควบคุมมาเก็บต่อไป


เป้าหมายการทำหุ่นยนต์ปลาพลัง AI 

ทีมนักวิจัยต้องการสร้างหุ่นยนต์และอุปกรณ์ที่ช่วยนักวิจัยในการสำรวจและเก็บมูลในทะเลโดยให้กระทบกับสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด และออกแบบให้มีรูปทรงคล้ายฉลามเพื่อป้องกันปลาอื่น ๆ เข้าใกล้หุ่นยนต์ปลาพลังเอไอ โดยไม่เป็นอันตรายกับสัตว์ในน้ำแต่อย่างใด


อย่างไรก็ตาม ทางทีมวิจัยได้ตัดฟังก์ชันการส่งข้อมูลผ่านระบบดาวเทียมหรือคลื่นวิทยุอื่น ๆ ออกไป เนื่องจากวัตถุประสงค์การสร้างหุ่นยนต์ปลาพลังเอไอคือการเก็บข้อมูลรหัสพันธุกรรมที่นักวิจัยจำเป็นต้องไปเก็บกู้ด้วยตัวเองอยู่ดี โดยงานนี้ยังได้นักศึกษาปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมโยธาและวิศวกรรมไฟฟ้ามาเป็นลูกมือช่วยพัฒนา เพื่อสร้างการเรียนรู้สู่การปฏิบัติอีกด้วย



ที่มาข้อมูล Interesting Engineering

ที่มารูปภาพ ETH Zurich

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง