รีเซต

กินข้าวร่วมกับผู้อื่น เสี่ยงรับเชื้อ(โควิด)ได้อย่างไร?

กินข้าวร่วมกับผู้อื่น เสี่ยงรับเชื้อ(โควิด)ได้อย่างไร?
TrueID
10 เมษายน 2564 ( 17:07 )
5.3K

ในช่วงโควิด-19 ที่หลายๆฝ่ายรณรงค์ให้สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อยๆ และรักษาระยะห่าง หรือ social distancing เป็นข้อควรปฏิบัติที่ช่วยลดการระบาดของโรคติดต่อได้ดี แต่อาจมีคนสงสัยว่า การรักษาระยะห่างจำเป็นมากขนาดไหน ทำไมแค่กินข้าวด้วยกันถึงสามารถแพร่เชื้อไวรัสได้ วันนี้ trueID มีคำตอบมาให้ทุกท่านว่าทำไมกินข้าวร่วมกับผู้อื่นจึงมีความเสี่ยงในการติดเชื้อ

 

 

ติดเชื้อจากการสัมผัสสิ่งของร่วมกัน

อะไรก็ตามที่เราใช้ร่วมกับคนอื่นมีโอกาสติดเชื้อได้ เช่นช้อนกลาง ทัพพีตักข้าว ถังน้ำแข็ง หรือแม้แต่โต๊ะ หรือเก้าอี้ ที่มีคนติดเชื้อมานั่งหากเราได้เข้าไปสัมผัสกันก็มีโอกาสติดเชื้อได้แล้ว

 

ละอองจากน้ำลาย

เวลาที่เรานั่งรับประทานอาหาร จะเป็นช่วงที่เราไม่ได้ใส่หน้ากากอนามัย จึงมีโอกาสที่ติดเชื้อที่มาจากละอองน้ำลายผ่านอากาศ หากเพื่อนร่วมโต๊ะที่ติดเชื้อเกิดจาม ไอ หรือพูดขณะรับประทานอาหาร

 

ข้อควรระวังหากรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น

 

ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสภาชนะของผู้อื่น เพราะมีโอกาสที่เราจะสัมผัสกับสารคัดหลั่ง จนนำไปสู่การได้รับเชื้อโรคต่าง ๆ ได้

 

 

 

หลีกเลี่ยงการใช้มือเปล่าหยิบอาหารเข้าปาก

 

 

 

หากมีความจำเป็นต้องใช้ช้อนกลางร่วมกับผู้อื่น ควรล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง หรือ ทำความสะอาดมือทันทีด้วยเจลแอลกออฮอล์ เพื่อป้องกันการนำเชื้อโรคที่ติดอยู่บนช้อนเข้าสู่ร่างกาย

 

 

 

ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังสัมผัสสิ่งของหรือทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกับ สวมหน้ากาก และ เว้นระยะห่างทางสังคม ช่วยลดโอกาสรับและส่งต่อเชื้อโรคไปสู่คนรอบข้างได้

 

 

 

ที่สำคัญต้องอย่าลืม ! เช็กข้อมูลข่าวสารอยู่เสมอ เพื่อให้รู้ว่าตรงไหนเป็นจุดเสี่ยงที่ควรหลีกเลี่ยงบ้าง

 

 

ข้อมูล :  สสส

ภาพโดย LEEROY Agency จาก Pixabay 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

ฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้วทำไมยังติดเชื้อโควิด หรือต้องฉีดสลับยี่ห้อ?

เปิดสถานที่ตรวจ "โควิด-19 ฟรี" เช็คเลย!

เดินทางกลับบ้านจังหวัดไหน ต้องกักตัวโควิด 14 วัน?

5 อันดับประเทศ ที่ฉีดวัคซีนโควิดเข็มแรกครอบคลุมมากที่สุด

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง