รีเซต

นาวิกโยธินสหรัฐฯ​ ซื้อระบบป้องกัน Iron Dome จากอิสราเอล

นาวิกโยธินสหรัฐฯ​ ซื้อระบบป้องกัน Iron Dome จากอิสราเอล
TNN ช่อง16
30 สิงหาคม 2566 ( 10:58 )
119

นาวิกโยธินสหรัฐฯ เตรียมสั่งซื้อระบบไอรอนโดม (Iron Dome) ของบริษัทเอกชนในประเทศอิสราเอล โดยใช้รูปแบบการพัฒนาร่วมกับบริษัทในสหรัฐอเมริกา เพื่อช่วยเสริมการป้องกันจากขีปนาวุธร่อนและภัยคุกคามจากจรวดร่อน หรือโดรน ตามรายงานของสื่อต่างประเทศ The Drive แผนปัจจุบันคือการซื้อมีทั้งหมด 3 ระบบ แท่นยิงจรวด 44 เครื่อง และขีปนาวุธสกัดกั้นทาเมียร์ (Tamir) จำนวน 1,840 ลูก 

 

การซื้อขายเทคโนโลยีอาวุธในครั้งนี้ไม่ถูกเปิดเผยมูลค่า แต่จากการประมาณการคาดว่าอาจมีมูลค่ากว่า 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 7,000 ล้านบาท รายละเอียดของเงื่อนไขสัญญาดังกล่าวได้ประกาศบนเว็บไซต์ทำสัญญา System for Award Management (SAM) ของรัฐบาลสหรัฐฯ โดยมีรายละเอียดเพิ่มเติม เช่น เครื่องที่บูรณาการกับระบบควบคุมการปล่อยขีปนาวุธแบบโดมเหล็ก (LCE) ระบบการจัดการและควบคุมการรบขนาดเล็ก (mBMC) 11 ระบบ และระบบอื่น ๆ รวมไปถึงสัญญาการซื้อขายกับบริษัท Raytheon ในสหรัฐอเมริกา


ระบบไอรอนโดม (Iron Dome) ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยใช้ความร่วมมือระหว่างบริษัท Rafael Advanced Defense Systems และ Israel Aerospace Industries ประเทศอิสราเอล ส่วนระบบไอรอนโดม (Iron Dome) ที่จะถูกจัดซื้อและใช้งานในกองทัพสหรัฐอเมริกาจะอยู่ในรูปแบบการพัฒนาร่วมกันระหว่างบริษัท Rafael Advanced Defense Systems ประเทศอิสรเอลและบริษัท Raytheon สหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ตาม สหรัฐอเมริกาไม่เปิดเผยรายละเอียดความร่วมมือระหว่างทั้งสองบริษัท


โดยระบบไอรอนโดมมีขีดความสามารถการสกัดกั้นระยะกลาง (MRIC) จรวดร่อน , กระสุนปืนใหญ่และปืนครก (C-RAM) เครื่องบิน, เฮลิคอปเตอร์, UAV รองรับการตอบโต้ภัยคุกคามในระยะสูงสุด 70 กิโลเมตร และการป้องกันแบบ VSHORAD (Very Short Range Air Defence Missile) ในระยะสูงสุด 10 กิโลเมตร ระบบสามารถทำงานได้ในทุกสภาพอากาศรวมถึงเมื่อมีเมฆอยู่ในระดับต่ำ, ฝน, พายุฝุ่น หรือ หมอก


สำหรับขีปนาวุธสกัดกั้นทาเมียร์ (Tamir) นับเป็นระบบป้องกันที่มีความแม่นยำสูง ใช้รูปแบบการยิงจากพื้นสู่อากาศพร้อมกันหลายลูกโดยมีต้นทุนอยู่ที่ระหว่าง 40,000-100,000 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อการยิง 1 ครั้ง ซึ่งถือว่าเป็นต้นทุนที่ต่ำเมื่อเทียบกับขีดความสามารถในการป้องกันพื้นที่ต่าง ๆ โดยนาวิกโยธินสหรัฐฯ ได้ทดลองกับเป้าลวงที่เป็นขีปนาวุธร่อนจำลองเพื่อความมั่นใจก่อนตัดสินใจสั่งซื้อ


ที่มาของข้อมูล interestingengineering.com

ที่มาของรูปภาพ RAFAEL Advanced Defense Systems

 


ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง