สิ้นสุดยุคโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ? เยอรมนีปิดโรงงานนิวเคลียร์แห่งสุดท้าย
TNN ช่อง16
16 เมษายน 2566 ( 12:44 )
138
วันที่ 14 เมษายนที่ผ่านมา ประเทศเยอรมนีประสบความสำเร็จในการยกเลิกโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 3 แห่งสุดท้ายของประเทศ ภายหลังการรณรงค์และการทยอยยกเลิกโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มาเป็นระยะนอกจากนี้ยังเป็นยุติช่วงเวลากว่า 60 ปี ที่ประเทศพึ่งพาพลังงานไฟฟ้าจากนิวเคลียร์
โรงงานไฟฟ้าทั้ง 3 แห่งสุดท้ายประกอบด้วยอิซาร์ II (Isar II), เอมส์แลนด์ (Emsland) และเนคคาร์เวสต์ไฮม์ II (Neckarwestheim II) ตามเป้าหมายของรัฐบาลที่ต้องการเปลี่ยนไปใช้พลังงานไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนทั้งหมดภายในปี 2035
ภัยพิบัติโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะของญี่ปุ่นในปี 2011 ที่ส่งผลให้มีประชาชนเสียชีวิตจำนวนมาก กลายเป็นปัจจัยเร่งสำคัญที่ทำให้ประเทศเยอรมนี ตื่นตัวและเริ่มเดินหน้าปิดโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ให้เร็วมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ในช่วงความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนทำให้แผนการยกเลิกโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ของเยอรมนีต้องลูกเลื่อนออกไปเล็กน้อย เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับการขาดแคลนพลังงานไฟฟ้าในประเทศหลังจากหยุดการนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากรัสเซียตามมาตรการคว่ำบาตรรัสเซีย ก่อนกลับมาดำเนินการอีกครั้ง
แผนการยกเลิกโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของประเทศเยอรมนีเริ่มขึ้นในช่วงปี 1970 โดยมีการออกกฎหมายที่นำไปสู่การยกเลิกเตาปฏิกรณ์ในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั้งหมดภายในปี 2021
ในระหว่างการยกเลิกโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของประเทศเยอรมนีมีทั้งความเห็นจากกลุ่มสนับสนุนและต่อต้าน โดยกลุ่มต่อต้านมองว่าการยกเลิกโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อาจทำให้เกิดการใช้ถ่านหินและก๊าซธรรมชาติเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากประเทศไม่สามารถมองหาแหล่งพลังงานจากกระแสลมและแสงแดดไม่เพียงพอ ส่วนฝ่ายสนับสนุนมองว่าพลังงานไฟฟ้านิวเคลียร์ยังคงมีความอันตรายอยู่และยากต่อการกำจัดทำลายของเสียจากโรงงาน
แม้ว่าจะเป็นการยกเลิกไฟฟ้านิวเคลียร์แต่กำลังการผลิตไฟฟ้าของโรงงานทั้ง 3 แห่ง มีเพียง 5% ของการผลิตพลังงานไฟฟ้าทั้งประเทศจึงสามารถมองหาแหล่งพลังงานทดแทนได้ไม่ยาก นอกจากนี้ในปีที่ผ่านมาประเทศเยอรมนี ประสบความสำเร็จส่งเสริมพลังงานไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนได้มากถึง 44% ของแหล่งพลังงานไฟฟ้าทั้งประเทศ
ที่มาของข้อมูลและรูปภาพ Reuters