รีเซต

นาซาเตรียมส่งยานไปสำรวจขั้วใต้ดวงจันทร์เพิ่มเติมในปี 2027

นาซาเตรียมส่งยานไปสำรวจขั้วใต้ดวงจันทร์เพิ่มเติมในปี 2027
TNN ช่อง16
2 กันยายน 2567 ( 13:36 )
18
นาซาเตรียมส่งยานไปสำรวจขั้วใต้ดวงจันทร์เพิ่มเติมในปี 2027

วันที่ 30 สิงหาคมที่ผ่านมา นาซา (NASA) ได้ประกาศมอบเงินทุนมูลค่า 116.9 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 3,970 ล้านบาทให้แก่บริษัท อินทูอิทีฟ แมชีนส์ (Intuitive Machines) บริษัทด้านเทคโนโลยีอวกาศในสหรัฐอเมริกา โดยรูปแบบภารกิจเป็นการขนส่งอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ของนาซาจำนวน 6 ชิ้น ไปยังขั้วโลกใต้ของดวงจันทร์ในปี 2027


“เครื่องมือสำรวจดวงจันทร์ทั้งหมดนี้สามารถช่วยให้นาซาบรรลุวัตถุประสงค์ทางวิทยาศาสตร์ และสร้างความเข้าใจสภาพแวดล้อมของดวงจันทร์เพิ่มมากขึ้น"  


"ตัวอย่างเช่น ช่วยตอบคำถามสำคัญเกี่ยวกับตำแหน่งที่พบการระเหย เช่น น้ำแข็ง หรือก๊าซบนพื้นผิวดวงจันทร์ และวัดรังสีในบริเวณขั้วโลกใต้ ซึ่งอาจช่วยการสำรวจขั้วใต้ของดวงจันทร์ และช่วยให้การสำรวจดาวอังคารในอนาคต"


คริส คัลเบิร์ต ผู้จัดการโครงการ Commercial Lunar Payload Services (CLPS) ที่ศูนย์อวกาศจอห์นสันของ NASA ในเมืองฮูสตันกล่าวเพิ่มเติมในแถลงการณ์


ก่อนหน้านี้บริษัท อินทูอิทีฟ แมชีนส์ (Intuitive Machines) ได้นำยานอวกาศโอดีสเซียส (Odysseus) ในภารกิจ IM-1 ลงจอดใกล้ขั้วใต้ของดวงจันทร์ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2024 ที่ผ่านมา โดยยานโอดีสเซียสใช้เวลาสำรวจดวงจันทร์นานประมาณ 7 วัน ก่อนสัญญาณจะขาดหายไป


ปัจจุบันบริษัท อินทูอิทีฟ แมชีนส์ (Intuitive Machines) กำลังเตรียมความพร้อมสำหรับภารกิจ IM-2 ส่งยานไปยังบริเวณขั้วใต้ของดวงจันทร์อีกครั้ง โดยใช้จรวด SpaceX Falcon 9 และมีกำหนดการเดินทางขึ้นสู่อวกาศภายในไตรมาส 4 ของปี 2024 ซึ่งในภารกิจนี้ยานจะบรรทุกอุปกรณ์ขุดน้ำแข็งเรียกว่า PRIME-1 ขึ้นไปพร้อมกับยาน เพื่อช่วยในการค้นหาน้ำแข็งบนพื้นผิวดวงจันทร์ซึ่งคาดว่าบริเวณขั้วใต้ของดวงจันทร์มีน้ำแข็งอยู่ในปริมาณมหาศาล รวมไปถึงภารกิจ IM-3 ที่จะเกิดขึ้นในปี 2025


สำหรับอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ของนาซาจำนวน 6 ชิ้น ไปยังขั้วโลกใต้ของดวงจันทร์ในปี 2027 น้ำหนักรวม 79 กิโลกรัม ซึ่งประกอบด้วย


1. เครื่องมือ Lunar Explorer สำหรับการประยุกต์ใช้กับชีววิทยาอวกาศ

2. อุปกรณ์สำหรับการสังเกตการณ์ทรัพยากร และการสำรวจพื้นผิวดวงจันทร์ ชุดเครื่องมือขุดเจาะพื้นผิวดวงจันทร์ลึก 1 เมตร พร้อมวิเคราะห์ตัวอย่าง อุปกรณ์นี้พัฒนาโดยองค์การอวกาศยุโรป (ESA)

3. อุปกรณ์ Laser Retroreflector Array หรือชุดอุปกรณ์สะท้อนแสงเลเซอร์จำนวน 8 ชิ้น เพื่อวัดระยะห่างระหว่างยานอวกาศกับตัวสะท้อนแสงบนยานลงจอดได้อย่างแม่นยำมากขึ้น

4. อุปกรณ์ตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงพื้นผิวชั้นบรรยากาศ โดยยานสำรวจจะตรวจสอบการตอบสนองทางเคมีของดินบนดวงจันทร์ต่อความผิดปกติทางความร้อน ทางกายภาพ และทางเคมีที่เกิดขึ้นระหว่างการลงจอดของยานอวกาศ

5. เครื่องวัดสนามแม่เหล็ก Fluxgate จะช่วยกำหนดลักษณะของสนามแม่เหล็กบนดวงจันทร์

6. ระบบถ่ายภาพอินฟราเรดสำหรับถ่ายภาพบนดวงจันทร์ติดตั้งเรดิโอมิเตอร์ หรืออุปกรณ์วัดความยาวคลื่นอินฟราเรดของแสง เพื่อสำรวจองค์ประกอบพื้นผิวดวงจันทร์


ที่มาของข้อมูล Space.com, nasa.gov


ข่าวที่เกี่ยวข้อง