รีเซต

หลบภัยเศรษฐกิจยักษ์ใหญ่! ส่องตลาดไหนน่าลงทุน-เพิ่มแต้มต่อให้พอร์ตเติบโต

หลบภัยเศรษฐกิจยักษ์ใหญ่! ส่องตลาดไหนน่าลงทุน-เพิ่มแต้มต่อให้พอร์ตเติบโต
TNN ช่อง16
3 พฤศจิกายน 2565 ( 10:59 )
126
หลบภัยเศรษฐกิจยักษ์ใหญ่! ส่องตลาดไหนน่าลงทุน-เพิ่มแต้มต่อให้พอร์ตเติบโต

ในระหว่างที่โลกกำลังสู้กับเงินเฟ้อสูง ธนาคารกลางของหลายๆประเทศต่าง เร่งขึ้นดอกเบี้ยกันต่อเนื่อง ส่งผลให้เศรษฐกิจและตลาดหุ้นโดยเฉพาะสหรัฐอเมริ กาและประเทศ สำคัญทั้งหลายเข้าสู่ภาวะถดถอยและดัชนีตลาดหุ้นลดต่ำลง อัตราแลกเปลี่ยนผันผวนจากเงิน สกุลหลักๆ ของโลก

 

ท่ามกลางปัญหาสงครามความขัดแย้งของรัสเซีย-ยูเครนที่ยืดเยื้อ ลากราคาน้ำมันโลกปรับตัวพุ่ง สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ปัญหายุโรปเผชิญวิกฤตขาดแคลนพลังงาน กลายเป็นว่า เวลานี้โลกอยู่ในช่วง ประสบปัญหาสารพัด และยังคงวนเวียนกับความไม่แน่นอนของสถานการณ์ต่างๆ เหล่านี้ข้ามไปถึงปีหน้าด้วย โดยเฉพาะคลื่นเศรษฐกิจใหญ่อย่างสหรัฐฯ และแถบยุโรป

 

พวกเรานักลงทุนจะหลบภัยจากคลื่นเศรษฐกิจยักษ์ใหญ่กันอย่างไรดี เพราะเวลาเกิดภาวะ เงินเฟ้อสูง เงินสดที่เราเก็บไว้ก็ด้อยค่าลงเรื่อยๆ แถมตลาดหุ้นก็ร่วงอีก เข้าทำนองที่ว่า ‘ขึ้นบันได 3 วัน ลงลิฟต์ 1 ที สุดท้ายกลับมาอยู่ที่เดิม’ ถ้าคุณไม่รู้จะหนีไปทางไหนเลยใช่ไหมครับ ผมมีคำตอบเป็นทางเลือกให้ครับ

 

@ 2 คลื่นยักษ์ใหญ่ ‘เศรษฐกิจตะวันตก’ เข้าสู่ภาวะถดถอย

 

ก่อนอื่นขออัปเดตสถานการณ์เศรษฐกิจยักษ์ใหญ่ฝั่งตะวันตกก่อนนะครับ เศรษฐกิจสหรัฐ อเมริกาที่มีขนาดใหญ่สุดของโลก ตลอดปีนี้จนถึงในช่วงโค้งท้ายปียังคงเผชิญกับแนวโน้ม เงินเฟ้อทรงตัวระดับสูงและยาวไปถึงปีหน้า แม้ว่าจะเริ่มเห็นเงินเฟ้อปรับลดลง 3 เดือนต่อเนื่องก็ ตามทีครับ 

 

โดยล่าสุด เดือนกันยายน 2565 อัตราเงินเฟ้อพุ่งสูง 8.2% สูงกว่าที่คาดการณ์ที่ 8.1% และ 0.4% mom สูงกว่าที่คาดการณ์ที่ 0.2% โดยความน่าจะเป็นในการปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.75% ในเดือนพฤศจิกายนนี้ของธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) มีสูงถึง 99.4% และอัตราดอกเบี้ยสูงสุด อาจขึ้นไปแตะ 5.00 – 5.25% ในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ปีหน้า หลังจากช่วงปีนี้ ได้ปรับขึ้นติดต่อกันมาแล้ว 5 ครั้ง ปัจจุบัน อัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ระดับ 2.25%-2.50%

 

ส่วนตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานในสัปดาห์ล่าสุดอยู่ที่ 228,000 คน ซึ่งสูงกว่าที่ ตลาดคาดการณ์ และสูงกว่าคาดเป็นสัปดาห์ที่ 2 ติดต่อกัน ส่งสัญญาณว่าตลาดแรงงานสหรัฐฯ เริ่มชะลอตัว อย่างไรก็ตาม ดัชนีชี้วัดอื่นๆ ในภาคแรงงานสหรัฐฯ ยังแข็งแกร่ง เช่น อัตราว่างงานและการจ้างงานนอกภาคการเกษตร ทำให้ตลาดยังคาดว่า Fed จะปรับขึ้นดอกเบี้ย ในอัตราสูงต่อไป อย่างที่บอกช่วงต้นๆ ว่า ปีหน้า ดอกเบี้ยเฟดขึ้นไปยืนเหนือระดับ 5%

 

ฝั่งเศรษฐกิจโซนยุโรป สถานการณ์ล่าสุด เงินเฟ้อพุ่งขึ้นสูงแซงสหรัฐ โดยในเดือนสิงหาคม อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นแตะระดับ 9% กดดันให้การประชุมคณะกรรมนโยบายการเงิน ของธนาคารกลางยุโรป (ECB) เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2565 มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.75% จากระดับ 0% ขึ้นสู่ระดับ 0.75% รวมถึงการปรับอัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์สู่ระดับ 1.25% และปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยกู้สู่ระดับ 1.50% ด้วย และ ECB ยังส่งสัญญาณว่าจะปรับขึ้น ดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อให้กลับมาอยู่ในระดับเป้าหมายที่ 2% เช่นเดียวกับเป้าหมายของสหรัฐด้วย

 

ทั้งนี้ ECB คาดการณ์ว่า อัตราเงินเฟ้อของยูโรโซนในปีนี้อยู่ที่ระดับ 8.1% และคาดปี 2566 อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 5.5% ส่วนปี 2567 คาดเงินเฟ้ออยู่ที่ระดับ 2.3%

 

นักวิเคราะห์ในทวีปยุโรปต่างคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจยูโรโซน จะเข้าสู่ภาวะถดถอยในอีก ไม่กี่เดือนข้างหน้า เนื่องจากผู้บริโภคต้องเผชิญกับแรงกดดันของราคาสินค้าที่สูงขึ้น ภาคธุรกิจเจอต้นทุนการผลิตที่สูงจากราคาพลังงาน หลังรัฐบาลรัสเซียตรียมระงับการ ส่งก๊าซธรรมชาติและน้ำมันให้กับกลุ่มประเทศสมาชิกยูโรโซน

 

ล่าสุด (11 ต.ค. ) กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดการณ์เศรษฐกิจโลกเติบโต 3.2%ในปี 2565 และเติบโต 2.7% ในปี 2566 GDP สหรัฐฯ โต 2.3 % หลังจากที่ 2 ไตรมาสแรก สหรัฐฯ เข้าสู่ภาวะถดถอยทางเทคนิคแล้ว และปี 2566 เศรษฐกิจขยายตัว 1% ส่วนเยุโรป คาด GDP 2.6% ในปี 2565

 

@เศรษฐกิจโซนเอเซีย เติบโตได้ดี ฝ่ามรสุมข่าวร้าย

แนวโน้มเศรษฐกิจเอเชีย ถือเป็นโซนที่เป็นความหวังของนักลงทุนทั่วโลกในเวลานี้ แม้ได้รับผลกระทบจากคลื่นเศรษฐกิจยักษ์ใหญ่ฝั่งตะวันตก แต่ยังมีประเทศใหญ่ๆ อย่างจีนและญี่ปุ่น ที่กำลังกลับมาพลิกฟื้นอีกครั้ง

 

แม้ในปีนี้จีนยังเผชิญกับมรสุมข่าวร้ายหลายเรื่องก็ตาม แต่จีนก็ยังสามารถผลักดันเศรษฐกิจ ให้เติบโตกลับมาในไตรมาส 2 ที่ผ่านมา ตอนนี้ทางการจีนก็เริ่มผ่อนคลายนโยบาย ล็อกดาวน์บ้างแล้ว ทำให้สถานการณ์เศรษฐกิจภายในประเทศจีนเดินหน้าต่อไปได้ แม้ว่าระหว่างทางจะเผชิญกับความผันผวนเศรษฐกิจโลกและอัตราแลกเปลี่ยน รวมถึงการตรวจสอบบัญชีหุ้นจีนในสหรัฐฯ ก็ตาม

 

อีกทั้งประเด็นใหญ่ที่ทั่วโลกจับตา คือ การเลือกตั้งประธานาธิบดีคนใหม่ ซึ่งผลประชุมพรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 20 เริ่มวันที่ 16 – 22 ตุลาคมที่ผ่านมา เป็นไปตามคาด คือ ‘สี จิ้นผิง’ ได้รับเลือกดำรงตำแหน่ง ‘ประธานาธิบดี สมัยที่ 3’ ถือเป็นประวัติศาสตร์ของจีน ยุคใหม่ ที่อยู่ยาวนานกว่าอดีตผู้นำจีนคนอื่นๆ และพร้อมกล่าวสุนทรพจน์ประกาศ นำจีนก้าวสู่ความเป็นเจ้าโลก ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจจีนเป็นอันดับแรก มุ่งเน้นการเติบโตอย่างมีคุณภาพสูง และชูพัฒนากลยุทธ์เศรษฐกิจแบบ Dual-circulation พร้อมเน้นความสำคัญให้จีนพึ่งพาตนเองทางเทคโนโลยีให้ได้มากที่สุด

 

นับเป็นสัญญาณบวกของการเติบโตทางเศรษฐกิจจีนหลังจากนี้ และมีความเป็นไปได้ว่า นโยบายที่เข้มงวดของจีนจะเริ่มผ่อนคลายมากขึ้น อาจจะมีการผ่อนคลายมาตรการ Zero Covid การเร่งแก้ปัญหาภาคอสังหาริมทรัพย์ และเน้นการเติบโตของเศรษฐกิจมากขึ้น ซึ่งน่าจะส่งผลต่อตลาดหุ้นจีนปรับเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

 

หากมองปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ จะเห็นความมุ่งมั่นของทางการจีนที่อัดฉีดเงินกระตุ้น เศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องและไปให้ถึงเป้าหมาย GDP ที่ระดับ 5.5% โดยไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ ทั้งธนาคารกลางและรัฐบาลจีน เดินหน้าอัดฉีดเงินก้อนมหาศาลใส่ระบบเศรษฐกิจในช่วงวัน หยุดยาววันชาติจีนเมื่อต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา เพื่อเป็นแรงส่งให้เศรษฐกิจขยายตัวต่อเนื่องจาก ไตรมาส 3 ที่พลิกคืนชีพหลังคลายล็อกดาวน์เมื่อกลางปีนี้

 

เม็ดเงินจากฝั่งรัฐบาลจีนกว่า 868,000 ล้านหยวน หรือกว่า 122,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ที่ดำเนินการผ่านระบบ Reverse Repo อายุ 7 วันและ 14 วันที่อัตราดอกเบี้ย 2.00% และ 2.15% ตามลำดับ ถือว่าเป็นจำนวนเงินอัดฉีดเข้าระบบที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนมกราคม 2562 ทางการจีนคาดว่าในช่วงวันหยุดยาว ประชาชนจะออกมาจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น

 

และธนาคารกลางจีนอัดฉีดเงินเพิ่มสภาพคล่องอีก 21,000 ล้านหยวน เพื่อสร้างเสถียร ภาพระบบการเงินจีน และมีวงเงินซื้อคืนพันธบัตร (Reverse Repo) ที่ครบกำหนดอยู่อีก 357,000 ล้านหยวนที่สามารถอัดฉีดสภาพคล่องเพิ่มเติมได้ ซึ่งทาง Choice Data มองว่าธนาคารกลางจีน มีเครื่องมือที่ช่วยสร้างเสถียรภาพทางการเงินมากมาย และคาดว่าจะ คงสภาพคล่องระดับสูง ส่งผลดีต่อราคาสินทรัพย์บางประเภท

 

ผมมองว่าจีนกำลังพยายามรักษาสมดุลของเศรษฐกิจภายในประเทศทั้งเรื่องการเติบโตและ ความเสี่ยง ขณะที่การอัดฉีดสภาพคล่องของธนาคารกลางจีน ก็มีนโยบายควบคุมที่มีประสิทธิ ภาพ หากมีการอัดฉีดมากเกินไปก็มีการดึงกลับอย่างเป็นระบบ เพื่อไม่ให้เกิดภาวะเงินเฟ้อสูง

 

ตอนนี้จีนยังไม่ยอมแพ้ มุ่งเดินหน้าพิชิตเป้า GDP +5.5% ในปี 2565 นี้ และจีนยังเตรียมที่จะเปิด ประเทศราวเดือนมีนาคม 2566 ปีหน้าด้วย จีนเตรียมทดลองเปิดประเทศในพื้นที่ชายแดนกับ 14 ประเทศ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว หากมีแนวโน้มที่ดีก็จะนำไปสู่การเปิดประเทศอย่างสมบูรณ์ ช่วยให้เศรษฐกิจจีนกลับมาเติบโตได้อย่างสมดุลและมีเสถียรภาพมากขึ้นในปีต่อๆ ไป

 

ขณะที่ตลาดหุ้นจีนกับเศรษฐกิจก็ไม่ได้ไปทางเดียวกัน เพราะเศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มเป็นบวกต่อเนื่อง โดยดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจของ Bloomberg จัดให้อยู่ที่อันดับ 5 ในโซนสีเขียว ซึ่งมีความหมายว่า เศรษฐกิจจีนกำลังขยายตัว

 

ผมมองว่า จีนเป็นอีกประเทศที่น่าลงทุนเพราะเศรษฐกิจมีศักยภาพการเติบโตสูง ขณะที่หุ้นดีมีคุณภาพหลายๆ ตัว มีราคาถูกลงโดยเฉพาะหุ้นใหญ่ๆ ถึงแม้จีนจะได้รับผลกระทบ จากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว แต่หากทุกอย่างเป็นปกติมีโอกาสที่จีนจะกลับมาเติบโต อย่างแข็งแกร่งอีกครั้ง ผมเชื่อว่าหุ้นจีนเป็นอีกทางเลือกในการกระจายการลงทุน ให้กับพอร์ตของคุณ

 

อีกประเทศที่เนื้อหอม นั่นคือ ‘ญี่ปุ่น’ ที่เศรษฐกิจใหญ่ติดอันดับ 3 ของโลก ญี่ปุ่นอยู่ในกลุ่ม ประเทศที่พัฒนาแล้ว ที่เศรษฐกิจมีพลังการเติบโตเนิบๆ แต่มั่นคง ภายใต้โครงสร้าง GDP ที่มาจากในประเทศและต่างประเทศ

 

ปีนี้เศรษฐกิจในประเทศ เราได้เห็นรัฐบาลญี่ปุ่นและธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ใช้นโยบายผ่อน คลายอย่างต่อเนื่อง และมีโอกาสที่รัฐบาลจะเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐในระยะสั้น รวมทั้งสนับสนุนมาตรการช่วยเหลือเฉพาะกลุ่มสำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยต่างๆ เช่น ราคาพลังงานด้วย เพื่อผลักดันให้เศรษฐกิจเติบโตต่อเนื่อง ภายใต้เป้าหมาย GDP ปีนี้ ขยายตัว 3.3% หลังจากไตรมาส 2 ที่ผ่านมาเติบโตราว 2.4%

 

มุมมองของเจ้าหน้าที่ IMF มีความเห็นว่า ญี่ปุ่นเดินมาถูกทาง และสนับสนุนให้ธนาคาร กลางญี่ปุ่น(BOJ) ดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อไป เพื่อบรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อ 2% ได้อย่างยั่งยืน และมองว่าตอนนี้ เงินเฟ้อกำลังเพิ่มขึ้นมาจากปัจจัยชั่วคราว เช่น ราคาพลังงาน แต่สิ่งที่จะช่วยให้เงินเฟ้อญี่ปุ่นสูงขึ้นอย่างยั่งยืน คือ ค่าแรงที่เพิ่มขึ้นมากแค่ไหนและ ส่งต่อไปยังเงินเฟ้อเท่าไร ดังนั้น เพื่อให้เงินเฟ้อสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและมั่นคง BOJ ควรผ่อนคลายนโยบายการเงินต่อไป ซึ่ง IMF ก็สนับสนุนจุดยืนในปัจจุบัน

 

ส่วนค่าเงินเยน ซึ่งเป็นหนึ่งในสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูงที่สุดในโลก การอ่อนค่าของเงินเยน เป็นเรื่องธรรมชาติ การแทรกแซงค่าเงินที่ผ่านมาถือว่าเป็นเรื่องค่อนข้างเล็ก และจะไม่ส่งผลกระทบระยะยาวต่อเงินเยนมากนัก แต่ IMF ก็เตือนว่า ให้ระวังการแทรกแซง ค่าเงิน ไม่น่าจะช่วยพยุงค่าเงินเยนได้อย่างยั่งยืน

 

ผมขอบอกว่า ช่วงนี้เงินเยนอ่อนค่ามากกว่าเงินบาท ซึ่งในรอบปีนี้ เงินเยนอ่อนค่าลงมากกว่า 18% เมื่อเทียบกับเงินบาท น่าจะทำให้คุณเห็นโอกาสการลงทุนในตลาดหุ้นญี่ปุ่น

 

@ในวิกฤตเป็นโอกาสการลงทุนหุ้นเวียดนาม กับเศรษฐกิจโตติดจรวด


อีกประเทศที่เศรษฐกิจมีศักยภาพการเติบโตแรง นั่นคือ ‘เวียดนาม’ ด้วยปัจจัยพื้นฐานดีสวนทาง กับตลาดหุ้นเวียดนามที่ปรับตัวลงแรงตลอดปีนี้ โดยเฉพาะในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา ล่าสุด ดัชนีตลาดหุ้นเวียดนามลดลงมาอยู่ที่บริเวณ 1,000 จุด หลังมีการกวาดล้างการปั่นหุ้นครั้งใหญ่ เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา

 

ทั้งๆ ที่เวียดนามไม่ได้มีปัญหาอะไรใหญ่โต สะท้อนจากเศรษฐกิจเวียดนามเองไม่ได้ถดถอย ในทางกลับกันเศรษฐกิจกำลังเติบโต ‘แบบติดจรวด’ จริงๆ โดยไตรมาส 3 ที่ผ่านมา GDP เวียดนามโตกระฉูด 13.7% เมื่อรวม 3 ไตรมาสปีนี้ เติบโตถึง 8.8% สูงที่สุดรอบ 11 ปีนับตั้งแต่ปี 2554 โดยเศรษฐกิจทุกภาคส่วนขยายตัวสูงไม่ว่าจะเป็นภาคการผลิต ขยายตัว 10.7% ภาคการค้าปลีกและบริการ เติบโต 21.0%

 

ขณะที่ IMF ได้ปรับเพิ่มประมาณการเศรษฐกิจเวียดนามเติบโตขึ้นจาก 6% เป็น 7% ในปี 2565 ด้านสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือตราสารหนี้อย่าง Moody’s ก็เพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือให้ กับพันธบัตรรัฐบาลเวียดนามเช่นกัน

 

ปัจจุบันมีเม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากนักลงทุนต่างชาติ หรือ FDI หลั่งไหลเข้ามาสร้างโรงงาน อุตสาหกรรมต่างๆ ไม่ขาดสาย ในปี 2564 เป็นปีที่เวียดนามมีมูลค่าเงินลงทุนโดยตรงสูงสุด ในภูมิภาคอาเซียน คิดเป็นสัดส่วนถึง 5.1%ของ GDP ประเทศทีเดียว ปีนี้ FDI ยังเพิ่มขึ้นมาถึง 16.3% มูลค่ารวมมากกว่า 15,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

 

เมื่อมองไปข้างหน้า ศักยภาพการเติบโตของเวียดนามในระยะยาว เวียดนามกำลังจะไต่ขึ้นมา เป็นโรงงานแห่งใหม่ของโลก และยังสามารถยกระดับการผลิตในห่วงโซ่อุปทานที่มีการใช้ เทคโนโลยีใหม่ๆ ในการผลิตสินค้าด้วย 


ปัจจุบันมีบริษัทข้ามชาติกว่า 100 แห่ง พาเหรดเข้ามา ลงทุน ล้วนเป็นยักษ์ใหญ่สัญชาติอเมริกันอย่าง Apple ที่ปีนี้ย้ายฐานการผลิตจากจีนมาอยู่ใน เวียดนามแล้ว ไม่ว่าจะเป็นซัพพลายเออร์รายใหญ่อย่าง Luxshare Precision Industry และ Foxconn เริ่มเดินสายการผลิต Apple Watch ,Macbook , iPad ก่อนหน้านี้ก็มีธุรกิจสัญชาติ เกาหลีและญี่ปุ่น เข้ามาก่อนหน้าแล้ว อาทิ LG Eletronics , Panasonic , Samsung เป็นต้น

 

แล้วทำไมตลาดหุ้นเวียดนามจึงร่วงแรง ทั้งๆ ที่เศรษฐกิจมีศักยภาพการเติบโตในระยะยาว

 

คำตอบคือ ตลาดหุ้นเวียดนามดิ่งลงแรงในช่วงกลางเดือนเมษายนที่ผ่านมา เนื่องจาก ก.ล.ต.ของ เวียดนาม คือ State Securities omission of Vietnam (SSC) ได้ดำเนินคดีการปั่นหุ้นของผู้บริหาร ในบริษัท FLC Group ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นในการปราบปรามทุจริตครั้งใหญ่


ตามด้วยคดีขายหุ้นกู้ผิดกฎหมายของบริษัทอสังหาฯใหญ่อย่าง Tan Hoang Minh Group นอกจากนี้ยังมีอีกหลายๆ คดีที่เกิดขึ้นในบริษัทจดทะเบียนและรัฐวิสาหกิจ หลายแห่งที่กระทำผิดทางกฎหมาย กระทบความเชื่อมั่นของนักลงทุนในตลาดหุ้น ต่างเทขายหุ้นออกเพื่อลดความเสี่ยงหันมาถือเงินสดฝากในธนาคารแทน

 

คงจำกันได้ว่า ตลาดหุ้นเวียดนาม เคยเป็น ‘ดารา’ และให้ผลตอบแทนสูงแทบจะที่สุดในโลก ถึงสิ้นปีที่แล้วที่ทำนิวไฮตลอดทั้งปี ภาพต่างกับปีนี้ ดัชนีฯ จะตกลงมาแบบ ‘ถล่มทลาย’ นับตั้งแต่ดัชนี VNI ทะยานแตะระดับสูงสุดที่ 1,524.70 จุด และร่วงอย่างรวดเร็วกว่า 350 จุด หรือ 23% ในช่วงเวลา 43 วันจากการกวาดล้างทุจริตครั้งใหญ่ในตลาดหุ้น จนถึงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา

 

ตลาดหุ้นเวียดนามถูกเทขายอีกระลอกเมื่อไม่นานนี้ เนื่องจากธนาคารกลางเวียดนามได้ปรับ ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 1% เมื่อวันที่ 23 กันยายน ที่ผ่านมา เพื่อควบคุมเงินเฟ้อไม่ให้ลุกลาม (แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นมาที่ 3.94%) และรักษาเสถียรภาพของค่าเงินด่อง ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์เวียดนามพร้อมใจกันปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากราว 0.3 – 0.5% ตามระยะเวลาในการฝาก


 ซึ่งอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือนอยู่ที่ 6.1 – 6.3% ต่อปี ดึงดูดให้นักลงทุนเทขายหุ้นและนำเงินไปฝากธนาคารมากขึ้นซึ่งมีความเสี่ยงที่น้อยกว่าหุ้น จึงเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้ตลาดหุ้นเวียดนามร่วงต่อเนื่องในวันนี้  ถึงแม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นมาที่ 3.94% แต่คณะกรรมการด้านนโยบายการเงิน ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 1% เพื่อป้องกันเงินเฟ้อลุกลามแล้ว

 

ส่วนตัวผมยังมองว่า ภาคธุรกิจและเศรษฐกิจเวียดนามยังเติบโตสูง หากวัดมูลค่าของกิจการต่างๆ ในตลาดหุ้นเวียดนาม ก็ยังมีราคาที่เหมาะสมกับมูลค่าพื้นฐาน ขณะเดียวกันการเทขายหุ้นก็ช่วย ทำให้หุ้นของธุรกิจที่แข็งแกร่งมีราคาต่ำลง เหมาะแก่การเข้าลงทุนระยะยาว เกาะกระแส การเติบโตทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ธนาคารโลกมองว่าเศรษฐกิจเวียดนามปี 2565 จะขยายตัวสูงสุด ในภูมิภาค

 

สิ่งที่น่าสนใจยิ่งกว่านั้น การเติบโตของกำไรโดยรวมของบริษัทจดทะเบียนใน ตลาดหุ้นเวียดนาม เมื่อเทียบกับราคาหุ้นเวลานี้ คือ มีอัตรา P/E (Price-to-Earnings Ratio) อยู่ที่ระดับ 14 เท่า ถือว่ามี ‘ราคาเหมาะสม’ ไม่ถูกหรือแพงจนเกินไป เป็นโอกาสทอง สำหรับนักลงทุน VI ในช่วงเวลานี้

 

@ขุมทรัพย์ ‘หุ้นดี ราคาถูก’ แต้มต่อเพิ่มผลตอบแทนระยะยาว

หากคุณจะมองว่า เป็นวิกฤตก็ใช่ แต่ก็เป็นโอกาสแห่งการลงทุน ‘หุ้นดี ราคาถูก’ เหมือนกัน ซึ่งก็มีหลายตลาดหุ้นที่เป็นทางเลือกในการเพิ่มโอกาส ให้คุณได้กระจายความเสี่ยงในการ ลงทุนและสร้างผลตอบแทนแก่พอร์ตในระยะยาว

 

แต่ไม่ว่าคุณจะเลือกลงทุนประเทศไหน พยายามคิดให้รอบคอบก่อนลงทุน และไม่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา เพราะการเปลี่ยนแผนจะไม่ดีต่อพอร์ตในระยะยาว

 

เพราะเศรษฐกิจในแต่ละประเทศ ก็จะมีวงจรของตัวเอง ดังนั้นคุณต้องตัดสินใจให้ดี ศึกษาข้อมูลต่างๆ ทำการบ้านอย่างเต็มที่ เพราะเมื่อตัดสินใจลงทุนในประเทศไหนแล้ว ก็ควรจะลงทุนให้ยาวๆ และเมื่อได้ผลตอบแทนที่ดีค่อยเปลี่ยนพอร์ตย้ายประเทศก็ได้ หรือถ้าจะเปลี่ยนก็ควรรอให้ตลาดหุ้นประเทศนั้นขึ้นมาเยอะๆ ก่อนจะดีกว่าครับ

 

เพราะจุดที่หลายๆ คนพลาดไป ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนหุ้นหรือกองทุนคือ พอเห็นขาดทุนก็มักจะ ชอบขาย แต่พอขายก็ไปซื้อหุ้นหรือกองทุนที่ราคาเพิ่งวิ่งขึ้น แล้วสุดท้ายก็จะกลายเป็น ขาดทุนซ้ำอีก

 

ปกติแล้วดัชนีตลาดหุ้นจะขึ้นปีละ 8% แต่ถ้าปีไหนขึ้นเยอะๆ 20%-50% ปีต่อไปก็มักจะไม่ขึ้น มากแล้ว คุณสามารถสังเกตจากตรงนี้ได้ หรือในมิติด้านเศรษฐกิจ ก็สังเกตจากการเติบโตของ GDP ในแต่ละประเทศ ผลตอบแทนระยะยาว หรือค่า PE ของตลาดหุ้นเป็นหลัก

 

หรือหากใครที่อยากได้ข้อมูลการลงทุนในตลาดหุ้นทั้งไทยและต่างประเทศก็สามารถเข้าไปดูใน jittawealth.com ได้ เพราะผมเลือกมาให้แล้วระดับหนึ่งว่าเป็นประเทศที่ดีน่าลงทุน ในแผน Jitta Ranking เวียดนาม ญี่ปุ่น จีน ก็เป็นประเทศที่มีเงินลงทุนไหลเข้าไปเรื่อยๆ หากลงทุนในประเทศ เหล่านี้ ก็จะมีแต้มต่อระดับหนึ่งตรงที่เราสามารถหาหุ้นดีราคาถูก และปรับพอร์ตลงทุนทุก 3 เดือนครับ

 


ที่มา   นายตราวุทธิ์ เหลืองสมบูรณ์ ประธานบริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง  บลจ.จิตตะ เวลธ์  

ภาพประกอบ    บลจ.จิตตะ เวลธ์  

 


หุ้น,หุ้นไทย,ตลาดหุ้นไทย,หุ้นสหรัฐฯ,หุ้นยุโรป,กองทุน,กองทุนต่างประเทศ

 

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง