แมวดำฟลอริดา ค้นพบ “ไวรัส” ใหม่ 2 ชนิด แพร่สู่มนุษย์ได้ !?

แมวดำตัวหนึ่งในรัฐฟลอริดา, สหรัฐอเมริกา สามารถจับหนูที่เป็นพาหะซึ่งมีเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคชนิดใหม่ที่สามารถแพร่เชื้อสู่มนุษย์ได้ 2 ชนิด
เปปเปอร์ (Pepper) เป็นแมวดำของ จอห์น เลดนิกกี้ (John Lednicky) นักไวรัสวิทยาจากวิทยาลัยสาธารณสุขและวิชาชีพสุขภาพ มหาวิทยาลัยฟลอริดา (University of Florida College of Public Health and Health Professions) ได้จับเอาหนูตุ่นจมูกสั้นเพนนินซูลา (Blarina peninsulae) หรือหนูยักษ์เกนส์วิลล์ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีพิษขนาดเล็กที่มีถิ่นกำเนิดในรัฐฟลอริดา ซึ่งแมวดำของเขาล่าได้ ไปเข้าห้องทดสอบ
ไวรัสที่แมวดำเปปเปอร์พบ จากหนูที่มันจับมาได้ นั้นก็คือ Gainesville rodent jeilongvirus 1 ซึ่งเป็นไวรัสพารามิกโซที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อทางเดินหายใจ ในสหรัฐอเมริกา
ส่วนไวรัสอีกตัวที่เปปเปอร์ค้นพบก็คือ Gainesville shrew mammalian orthoreovirus type 3 strain UF-1 หรือ ไวรัสออร์โธรีโอไวรัสชนิดที่ 3 สายพันธุ์ UF-1 ของหนูยักษ์เกนส์วิลล์
เลดนิกกี้ ได้ศึกษาการแพร่กระจายของไวรัสโรคฝีดาษมูลมาระยะหนึ่งแล้ว และหนูยักษ์เกนส์วิลล์ที่เจ้าเปปเปอร์จับได้ ก็ทำให้เกิดโอกาสในการวิจัยของเขามากขึ้น
สิ่งที่นักวิจัยพบคือ หนูยักษ์เกนส์วิลล์ เป็นพาหะของเชื้อก่อโรคในสกุลออร์โธรีโอไวรัส ที่ยังไม่ปรากฏชื่อหรือถูกค้นพบมาก่อน โดยไวรัสกลุ่มนี้สามารถแพร่เชื้อไปยังสัตว์ได้หลากหลายชนิด รวมถึงมนุษย์ด้วย
แม้ว่าการติดเชื้อส่วนใหญ่ มักจะส่งผลให้เกิดปัญหากับทางเดินหายใจส่วนบน หรือลำไส้เพียงเล็กน้อย แต่ในกรณีที่รุนแรง อาจส่งผลให้เกิดโรคระบบประสาทส่วนกลาง (CNS) หรือโรคปอดบวม และอื่น ๆ ได้
ผลกระทบทั้งหมดของไวรัสที่มีต่อมนุษย์ยังไม่ถูกค้นพบทั้งหมด แต่ที่รู้แน่ ๆ คือ ไวรัสเหล่านี้เชื่อมโยงกับโรคสมองอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ กระเพาะและลำไส้อักเสบในเด็ก
ไวรัสออร์โธรีโอไวรัสสองชนิดที่แตกต่างกัน ยังสามารถติดเชื้อในเซลล์ของผู้ป่วย ซึ่งอาจนำไปสู่การผสมผสานทางพันธุกรรม และทำให้เกิดเชื้อโรคชนิดใหม่ขึ้นมาในที่สุด
ข่าวดีคือเจ้าเปปเปอไม่ได้ติดเชื้อใด ๆ จากหนูที่มันจับมาได้ เพราะแมวเป็นสัตว์ที่ได้รับการวิวัฒนาการมาเพื่อกินหนู และจะไม่ป่วยด้วยไวรัสที่หนูเป็นพาหะ
งานวิจัยนี้ตีพิมพ์ในวารสาร Microbiology : https://journals.asm.org/doi/10.1128/mra.00219-25
Tag
ยอดนิยมในตอนนี้
