รีเซต

เบลเยียมสร้างโซลาร์เซลล์ลอยน้ำทนคลื่นทนพายุแบบเสาลอยเป็นครั้งแรกของโลก

เบลเยียมสร้างโซลาร์เซลล์ลอยน้ำทนคลื่นทนพายุแบบเสาลอยเป็นครั้งแรกของโลก
TNN ช่อง16
19 มีนาคม 2566 ( 14:25 )
66
เบลเยียมสร้างโซลาร์เซลล์ลอยน้ำทนคลื่นทนพายุแบบเสาลอยเป็นครั้งแรกของโลก


บริษัท แทรกทาเบล (Tractabel) ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมพลังงาน บริษัท ดีอีเอ็มอี (DEME) ผู้เชี่ยวชาญระบบทุ่นลอยน้ำ และบริษัท ยาน เดอ นัล (Jan De Nul) ผู้เชี่ยวชาญด้านการก่อสร้างทางทะเล ผนึกกำลัง 3 บริษัทร่วมชาติจากเบลเยียม สร้างซีโวลต์ (Seavolt) แผงโซลาร์เซลล์แบบลอยน้ำ (Floating Solar Cell) ที่ทนพายุและสภาพอากาศแปรปรวนได้เป็นครั้งแรกของโลก


โดยพื้นฐานแล้วซีโวลต์ (Seavolt) เป็นการรวมการออกแบบและการใช้งานของแผงโซลาร์เซลล์กับระบบทุ่นลอยน้ำ โดยเสริมความสามารถในการทนต่อสภาพอากาศกลางทะเล ไม่ว่าจะคลื่นลมแรงหรือพายุที่พัดผ่านกลางทะเล ด้วยการออกแบบให้เป็นลักษณะของทุ่นลอยยึดกับแผงโซลาร์เซลล์ 4 มุม คล้ายเสา เพื่อให้ตัวทุ่นทั้ง 4 ด้านรับกับความปรวนแปรของสภาพพื้นผิวทะเลและป้องกันไม่ให้แผงโซลาร์เซลล์ได้รับความเสียหายจากคลื่นที่มีความรุนแรง


ข้อดีเพิ่มเติมของซีโวลต์คือความสะดวกในการติดตั้ง โดยสามารถปรับแต่งขนาดได้ หรือเป็นลักษณะของโมดูล (Modular Platform) เพื่อติดตั้งร่วมกับฟาร์มกังหันลมนอกชายฝั่ง (Offshore Wind Turbine) โดยการสร้างระบบทุ่นลอยน้ำบนบก ก่อนลากด้วยเรือลากจูงทั่วไปเพื่อพาไปยังสถานที่ติดตั้ง และเนื่องจากซีโวลต์เป็นระบบลอยน้ำที่ไม่ได้เป็นระบบติดตั้งกับพื้นทะเล แต่เป็นการถ่วงน้ำหนักและยึดกับฟาร์มกังหันลม จึงส่งผลต่อระบบนิเวศน้อยมากอีกด้วย


ฟิลิปป์ ฟาน ทรอยเย (Philippe Van Troeye) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) ของบริษัท แทรกทาเบล (Tractabel) กล่าวว่า “แม้ว่าเทคโนโลยีนี้จะยังคงอยู่ในระยะตั้งไข่ แต่เราขอให้มั่นใจว่าด้วยพันธมิตรที่แข็งแกร่ง (หมายถึงบริษัท  ดีอีเอ็มอี และบริษัท ยาน เดอ นัล) เราจะสร้างซีโวลต์ให้เกิดขึ้นจริงด้วยทุกวิถีทางให้ได้”


แม้ว่าทั้ง 3 บริษัท จะไม่ได้ระบุกำลังการผลิตเอาไว้เพราะว่าในปัจจุบันยังคงเป็นตัวทดสอบ แต่ซีโวลต์ (Seavolt) นั้นสามารถมีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นได้ตามขนาดพื้นที่ติดตั้งที่เป็นพื้นที่ระหว่างกังหันลมแต่ละต้นกลางทะเล และตอนนี้กำลังอยู่ระหว่างการเตรียมนำไปติดตั้งทดสอบในอ่าวเบลเยียมภายในช่วงฤดูร้อนของเบลเยียมที่ตรงกับช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายนของปีนี้ ก่อนจะวางแผนจะขยายขนาดและดำเนินการผลิตจริงต่อไป 


อ่าวเบลเยียมเป็นส่วนหนึ่งของทะเลเหนือ (North Sea) พื้นที่ซึ่งมีโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนมากรูปแบบใหม่มากที่สุดในทวีปยุโรปทั้งจากนอร์เวย์สกอตแลนด์อังกฤษ และประเทศอื่น ๆ




ที่มาข้อมูล Interesting Engineering

ที่มารูปภาพ Tractabel

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง