EXIM BANKคาดส่งออกไทยขยายตัวได้ 3% ท่ามกลางนโยบายทรัมป์ 2.0
![EXIM BANKคาดส่งออกไทยขยายตัวได้ 3% ท่ามกลางนโยบายทรัมป์ 2.0](https://cms.dmpcdn.com/contentowner/2020/08/18/15980f10-e133-11ea-8e82-0b494f6be91c_original.jpg)
EXIM BANKคาดส่งออกไทยขยายตัวได้ 3% ท่ามกลางนโยบายทรัมป์ ชี้การนำเข้าทั่วโลกจะเร่งตัวในไตรมาสแรก แนะผู้ส่งออกเร่งปรับตัว โดยเฉพาะกรณีสินค้าไทยถูกดั๊มราคาจากสินค้านำเข้าจากจีน ระบุ ค่าเงินบาทที่เหมาะสมควรอยู่ที่ 34.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
#ทันหุ้น นายรักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย(EXIM BANK)ประเมิน การส่งออกของไทยจะสามารถขยายตัวได้ถึง 3% ท่ามกลางนโยบายของทรัมป์ และคาดว่า การเร่งนำเข้าสินค้าของประเทศต่างๆทั่วโลกจะเกิดขึ้นในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ ซึ่งจะส่งผลดีต่อการส่งออกสินค้าของไทย จากนั้น จะเริ่มทยอยลดลง จึงแนะนำให้ผู้ส่งออกเร่งปรับตัว
เขากล่าวว่า สถานการณ์เศรษฐกิจโลกปัจจุบันเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน ภายหลังการเข้ารับตำแหน่งของของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ หรือที่เรียกว่า ยุคทรัมปี 2.0 ทั้งในมิติการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมระหว่างประเทศ ตลอดจนผลกระทบต่อการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมโลก
อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มจะยังไปต่อได้ปัจจัยเกื้อหนุน ประกอบด้วย การท่องเที่ยว การใช้จ่ายของภาครัฐ การบริโภค การลงทุน และการส่งออกที่ขยายตัว
ต่อเนื่อง ขณะที่ ปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ สงครามการค้ารอบใหม่ระหว่างสหรัฐฯ กับประเทศคู่ค้าตามนโยบายทรัมป์ 2.0 หนี้ครัวเรือนยังสูงถึง 89% และภาคการผลิตยังฟื้นตัวไม่ทันในปีที่ผ่านมา
กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK กล่าวว่า ปัจจัยส่งเสริมให้การส่งออกไทยปี 2568 ยังขยายตัวต่อได้ภายใต้สภาวะเศรษฐกิจโลกและนโยบายพรัมปี 2.0 ได้แก่ การเร่งนำเข้าของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกโอกาสส่งออกของไทยทดแทนสินค้าจีน คาทิ คอมพิวเตอร์ ชิ้นส่วนยานยนต์ ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องปรับอากาศ เฟอร์นิเจอร์แผงโซลาร์
โอกาสส่งออกสินค้าไทยที่ได้รับความนิยมในตลาดโลก เช่น สินค้าเกษตรและอาหาร สินค้าไลฟ์สไตล์ การย้ายฐานการผลิตจากต่างชาติเข้ามาในไทย เช่น ธุรกิจดิจิทัล อิเล็กทรอนิกส์ และยานยนต์ไฟฟ้า การขยายตัวของตลาดเกิดใหม่ เช่น อินเดีย อาเซียน และตะวันออกกลาง และการบังคับใช้ข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างไทยกับสมาคม
การค้าเสรีแห่งยุโรป (European Free Trade Association : EFTA) เป็นข้อตกลง FTA ฉบับแรกว่างไทยกับประเทศในยุโรป (สวิตเซอร์แลนด์ นอร์เวย์ ไอซ์แลนด์ และลิกเตนสไตน์)
ขณะเดียวกัน ปัจจัยเสี่ยงที่ต้องจับตา ได้แก่ สินค้าไทยอาจโดนมาตรการจากสหรัฐฯ โดยเฉพาะการถูกเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าที่เกินดุลกับคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ โทรศัพท์ เครื่องจักร หรือถูกบังคับให้นำเข้าเพิ่ม อาทิ สินค้าเกษตร น้ำมันก๊าซ
ธรรมชาติ สินค้าไทยที่อยู่ใน Supply Chain จีนได้รับผลกระทบ อาทิ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ เคมีภัณฑ์ ยางพารา สินค้าไทยอาจต้องเผชิญการแข่งขันด้านราคากับสินค้าจีนที่ไหลทะลักเข้าสู่ไทยและตลาดโลก อาทิ สินค้าอุปโภคบริโภค เครื่องใช้ไฟฟ้า เหล็ก อะลูมิเนียม เคมีภัณฑ์ ความผันผวนด้านต้นทุนจากปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolics) และค่าเงินที่ยังผันผวนสูงอย่างต่อเนื่อง โดยค่าเงินที่เหมาะสมของผู้นำเข้าและส่งออกควรอยู่ที่ 34.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
นายรักษ์ กล่าวต่อไปว่า นอกจากปัญหาความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยปัญหาสิ่งแวดล้อมโลกยังทวีความรุนแรงและส่งส่งผลกระทบต่อมนุษย์ รวมถึงภาคธุรกิจ อุณหภูมิโลกที่เพิ่มสูงขึ้นและภัยพิบัติที่รุนแรงขึ้น รวมถึงคำฝุ่น PM 2.5 ทำให้มาตรการด้านสิ่งแวดล้อมยังเพิ่มจำนวนขึ้นถึงกว่า 18,000 ฉบับ ปัจจุบัน โดยโลกและไทยยังต้องการเม็ดเงินสีเขียว (Climate Finance) อีกจำนวนมาn Climate Policy Initiative ประเมินว่า Climate Finance โลกปี 2566 อยู่ที่ราว 1.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี แม้ว่าเม็ดเงินดังกล่าวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอด 6 ปีที่ผ่านมา แต่ยังต่ำกว่าความต้องการที่ประเมินว่าสูงถึงราว 7.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี
ในช่วงปี 2567-2573 เท่ากับว่าโลกยังต้องการ Chmate Finance เพิ่มขึ้นราว 5 เท่า