รีเซต

พบสัญญาณสิ่งมีชีวิตบนดาวศุกร์ ลุ้นกลางเมฆหมอกร้อนระอุ

พบสัญญาณสิ่งมีชีวิตบนดาวศุกร์ ลุ้นกลางเมฆหมอกร้อนระอุ
ข่าวสด
15 กันยายน 2563 ( 02:54 )
261

 

พบสัญญาณสิ่งมีชีวิตบนดาวศุกร์ ลุ้นกลางเมฆหมอกร้อนระอุ

พบสัญญาณสิ่งมีชีวิตบนดาวศุกร์ - เมื่อ 14 ก.ย. เอพี และ ซีเอ็นเอ็น รายงานว่า คณะนักดาราศาสตร์พบสัญญาณที่เป็นไปได้ว่ามีสิ่งมีชีวิตอยู่ในชั้นบรรยากาศของดาวศุกร์ หรือ ดาววีนัส ดาวเพื่อนบ้านของโลก อาจเป็นจุลินทรีย์สุดแปลกพิลึกที่อาศัยอยู่ในเมฆหมอกที่เต็มไปด้วยกรดซัลฟูริกได้

 

https://www.youtube.com/watch?v=kTSKV_6ET78

 

วารสาร ดาราศาสตร์ธรรมชาติ หรือ Nature Astronomy เผยแพร่การค้นพบดังกล่าว พร้อมข้อมูลประกอบว่า กล้องโทรทรรศน์ 2 แห่ง ที่อยู่รัฐฮาวาย สหรัฐอเมริกา และอยู่ประเทศชิลี จับภาพเมฆหมอกหนา ประกอบด้วยแก๊สฟอสฟีน ซึ่งปกติเป็นแก๊สที่บ่งบอกถึงสิ่งมีชีวิต

 

เมื่ออยู่บนโลก ฟอสฟีนเป็นแก๊สแอันตราย ปนเปื้อน และติดไฟ เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ไม่ต้องอาศัยออกซิเจน เหมือนกับแบคทีเรียที่อยู่ตามหนองน้ำ พื้นที่ชุ่มน้ำ โคลนตม หรือแม้แต่เครื่องในสัตว์ กลิ่นของแก๊สนี้เหมือนปลาเน่า หรือกระเทียม

 

A handout photo made available on September 14, 2020 by the European Southern Observatory shows an artistic impression depicting our Solar System neighbour Venus, where scientists have confirmed the detection of phosphine molecules, a representation of which is shown in the inset. / AFP)

 

ส่วนปัจจัยอีกด้านที่ทำให้เกิดแก๊สฟอสฟีนได้ คือ กระบวนการทางอุตสาหกรรม และเคยเป็นส่วนประกอบของอาวุธเคมี สมัยสงครามโลกครั้งที่ 1

ผู้เชี่ยวชาญหลายคนที่ไม่ได้ร่วมในงานศึกษานี้ ต่างเห็นด้วยว่าฟอสฟีนที่พบเป็นสัญญาณว่าอาจมีสิ่งมีชีวิตอยู่ แต่ขณะนี้ยังห่างไกลจากข้อพิสูจน์แรกว่ามีสิ่งมีชีวิตอยู่บนดาวดวงอื่น

เนื่องจากดาวศุกร์ เป็นดาวที่มีอุณหภูมิสูงมาก หากนับเฉพาะพื้นผิวดาว อุณหภูมิสูงถึง 425 องศาเซลเซียส จึงนึกภาพไม่ออกว่าจะมีสิ่งมีชีวิตปรากฏอยู้ได้อย่างไร

 

 

"ดาวศุกร์เป็นเหมือนนรก เป็นดาวแฝดส่วนร้ายของโลก น่าจะมีอะไรผิดปกติ ผิดมากๆ เกี่ยวกับดาวดวงนี้ ทำให้มันตกเป็นเหยื่อของปฏิกริยาที่เป็นผลกระทบจากภาวะเรือนกระจก" เดวิด เคลเมนต์ ผู้นำเสนอผลการศึกษานี้ และนักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ มหาวิทยาลัยอิมพีเรียล คอลเลจ ออฟ ลอนดอน กล่าว

 

เทียบดาวศุกร์กับโลก

 

ด้าน ซารา ซีเกอร์ นักวิทยาศาสตร์ประจำสถาบันเอ็มไอที สหรัฐ ผู้ร่วมวิจัย กล่าวว่า คณะศึกษาอย่างเหน็ดเหนื่อยถึงความเป็นไปได้ที่ทำให้เกิดแก๊สฟอสฟีน ไม่ว่า ภูเขาไฟ ฟ้าฟาด หรืออุกกาบาตตกลงไปในชั้นบรรยากาศ แต่ทั้งหมดล้วนไม่ใช่สาเหตุ ตอนนี้คิดว่าไม่น่าจะใช่กระบวนการใดกระบวนการเดียวที่ทำให้เกิดฟอสฟีนได้ในปริมาณระดับนั้น

 

report released on Monday, Sept. 14, 2020 says astronomers have found a potential signal of life high in the atmosphere of our nearest neighboring planet. (J. Greaves/Cardiff University/JAXA via AP)

 

ซีเกอร์กล่าวว่า ทางที่พอจะเป็รไปได้คือ ปฏิกิริยาที่ทำให้เกิดแก๊สฟอสฟีน อาจเกิดขึ้นเหนือชั้นคาร์บอนไดออกไซด์ชั้นบนที่หนาหนัก แต่ไปเกิดตรงพื้นที่ที่อุณหภูมิเบาบางกว่า มีหยดน้ำกลั่นตัวอยู่เล็กน้อย แต่กรดซัลฟูริกที่ว่านั้นต้องมีสภาพเป็นกรดเหนือกรดที่พบบนโลก พันล้านเท่า

 

//////

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง :

ดาวอังคาร: Mars 2020 กับภารกิจค้นหาร่องรอยสิ่งมีชีวิตโบราณบนดาวเคราะห์สีแดง

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง