เลือกตั้ง 2566 ผลคะแนนไม่เป็นทางการเชียงใหม่ “ก้าวไกล” ตีสีแดงแตก ปักธงส้ม 7 เขต

วันนี้ ( 15 พ.ค. 66 )ผลคะแนนการเลือกตั้งส.ส. อย่างไม่เป็นทางการของจังหวัดเชียงใหม่ หลังจาก กกต.เชียงใหม่ สรุปคะแนนอย่างไม่เป็นทางการเสร็จเมื่อเวลา 05.00 น.ที่ผ่านมา ปรากฏว่าพรรคก้าวไกลกระแสแรงเกินต้าน ชนะเลือกตั้งถึง 7 ใน 10 เขต ส่วนพรรคเพื่อไทยแชมป์เก่าจากที่เคยแลนด์สไลด์ทุกเขตทั้งจังหวัดในการเลือกตั้งครั้งก่อน ได้เพียง 2 เขตเท่านั้น คือ นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ เขต 5 และ นางสาวศรีโสภา โกฏคำลือ จากเขต 10 ขณะที่พรรคพลังประชารัฐเหนือความคาดหมายคว้าได้ 1 เขต
ผลเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการ “เชียงใหม่”
เขต 1
อันดับ 1 นางสาวเพชรรัตน์ ใหม่ชมภู พรรคก้าวไกล 48,823 คะแนน
อันดับ 2 นายจักรพล ตั้งสุทธิธรรม พรรคเพื่อไทย 30,086 คะแนน
อันดับ 3 นายชินภัสร์ กิจเลิศสิริวัฒนา พรรครวมไทยสร้างชาติ 9,772 คะแนน
เขต 2
อันดับ 1 นางสาวการณิก จันทดา พรรคก้าวไกล 51,181 คะแนน
อันดับ 2 นายโกวิทย์ พิริยะอานันท์ พรรคเพื่อไทย 39,091 คะแนน
อันดับ 3 นายยุทธนา สุวรรณ พรรครวมไทยสร้างชาติ 7,371 คะแนน
เขต 3
อันดับ 1 นายณัฐพล โตวิจักษณ์ชัยกุล พรรคก้าวไกล 47,469 คะแนน
อันดับ 2 นางสาวทัศนีย์ บูรณุปกรณ์ พรรคเพื่อไทย 43,244 คะแนน
อันดับ 3 พล.ต.พนม ศรีเผือด พรรครวมไทยสร้างชาติ 5,197 คะแนน
เขต 4
อันดับ 1 นางสาวพุฒิตา ชัยอนันต์ พรรคก้าวไกล 62,009 คะแนน
อันดับ 2 นายวิทยา ทรงคำ พรรคเพื่อไทย 21,942 คะแนน
อันดับ 3 นางกิ่งกาญจน์ ณ เชียงใหม่ พรรครวมไทยสร้างชาติ 15,211 คะแนน
เขต 5
อันดับ 1 นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ พรรคเพื่อไทย 38,015 คะแนน
อันดับ 2 นายสมชิด กันธะยา พรรคก้าวไกล 37,738 คะแนน
อันดับ 3 ร้อยเอกหญิง เดือนเต็มดวง ณ เชียงใหม่ 8,239 คะแนน
เขต 6
อันดับ 1 ว่าที่ร้อยตรีหญิง อรพรรณ จันตาเรือง พรรคก้าวไกล 25,828 คะแนน
อันดับ 2 นางวันเพ็ญ ปัญญาทิพย์ พรรครวมแผ่นดิน 21,937 คะแนน
อันดับ 3 นายแพทย์ไกร ดาบธรรม พรรคเพื่อไทย 21,374 คะแนน
เขต 7
อันดับ 1 นายสมดุลย์ อุตเจริญ พรรคก้าวไกล 32,990 คะแนน
อันดับ 2 นายนิธิกร วุฒินันชัย พรรคเพื่อไทย 29,387 คะแนน
อันดับ 3 นายสันติ ตันสุหัช พรรครวมไทยสร้างชาติ 8,830 คะแนน
เขต 8
อันดับ 1 นายภัทรพงษ์ ลีลาภัทร์ พรรคก้าวไกล 50,878 คะแนน
อันดับ 2 นายณัฏฐ์พัฒน์ รัฐไผท พรรคเพื่อไทย 35,237 คะแนน
อันดับ 3 นางสาวกุสุมา บัวพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ 15,257 คะแนน
เขต 9
อันดับ 1 นายนเรศ ธำรงทิพยคุณ พรรคพลังประชารัฐ 31,107 คะแนน
อันดับ 2 นายสุรพล เกียรติไชยากร พรรคเพื่อไทย 27,032 คะแนน
อันดับ 3 นายสมชาย มีธรรม พรรคก้าวไกล 26,415 คะแนน
เขต 10
อันดับ 1 นางสาวศรีโสภา โกฏคำลือ พรรคเพื่อไทย 32,638 คะแนน
อันดับ 2 นายนรพล ตันติมนตรี พรรคพลังประชารัฐ 29,138 คะแนน
อันดับ 3 นายณรงค์ชัย เตโม พรรคก้าวไกล 20,680 คะแนน
ผลเลือกตั้งที่ออกมาในครั้งนี้ถือเป็นปรากฏการณ์ทางการเมืองครั้งใหม่ เมื่อจังหวัดเชียงใหม่ที่พรรคเพื่อไทยครองพื้นที่มานานนับตั้งแต่ยุคพรรคไทยรักไทยและพลังประชาชนจนถูกยกให้เป็นเมืองหลวงของพรรคเพื่อไทย ถูกตีแตกแบบถล่มทลาย แม้กระทั่งในเขต 3 ที่มีอำเภอสันกำแพง บ้านเกิดนายทักษิณ ชินวัตร เป็นพื้นที่ไข่แดงก็ยังต้องพ่ายแพ้ โดยนายณัฐพล โตวิจักษ์ชัยกุล ผู้สมัครจากพรรคก้าวไกล ได้คะแนนถึง 47,469 คะแนน เอาชนะนางสาวทัศนีย์ บูรณุปกรณ์ จากพรรคเพื่อไทยที่ได้ 43,244 คะแนน ขณะที่นางสาวทัศนีย์ได้โพสต์ยอมรับผลการเลือกตั้งและแสดงความยินดีกับว่าที่ ส.ส.คนใหม่ โดยบอกว่า “ สายลมแห่งการเปลี่ยนแปลงมาถึงแล้ว ขอให้เปลี่ยนประเทศ
ให้เป็นประชาธิปไตยตามอุดมการณ์ที่หวังไว้ ขอให้กำลังใจนะคะ”
หากมองภาพรวมคะแนนในทั้ง 7 เขตเลือกตั้งที่พรรคก้าวไกลชนะเลือกตั้ง พบว่ามี 6 เขต ที่ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทยตามมาเป็นอันดับสอง เป็นเหตุการณ์ที่สลับข้างจากการเลือกตั้ง ส.ส.ในปี 2562 ซึ่งครั้งนั้นพรรคอนาคตใหม่มีคะแนนเป็นอันดับสองรองจากพรรคเพื่อไทย 6 เขตเช่นกัน
โดยในวันนี้ กกต.เชียงใหม่ รายงานมีผู้มาใช้สิทธิ 1,088,305 คน หรือ ร้อยละ 81.77 จากผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง 1,331,007 คน ต่ำกว่าเป้าที่ตั้งไว้มากกว่าร้อยละ 83 โดยสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากสภาพอากาศที่เป็นอุปสรรค โดยช่วงบ่ายวันเลือกตั้งมีพายุฝนฟ้าคะนองหลายพื้นที่ ขณะที่ในวันนี้ กกต.เชียงใหม่
ทั้งนี้จะมีการติดผลคะแนนอย่างไม่เป็นทางการบนบอร์ดขนาดใหญ่ที่ด้านหน้าสำนักงาน กกต.เชียงใหม่ ให้ประชาชนและผู้ที่สนใจแวะมาชม ขณะที่ช่วงบ่ายวันนี้ นางสาวเพชรรัตน์ ใหม่ชมภู ว่าที่ ส.ส.เขต 1 จากพรรคก้าวไกลจะขึ้นรถแห่ขอบคุณประชาชนที่ให้ความไว้วางใจลงคะแนนเสียงจนชนะเลือกตั้ง
ข้อมูลจาก : ผู้สื่อข่าวภูมิภาคจังหวัดเชียงใหม่
ภาพจาก : ผู้สื่อข่าวภูมิภาคจังหวัดเชียงใหม่
ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก TNN: https://www.tnnthailand.com/home
เกาะติด เลือกตั้ง
บทความเกี่ยวกับการ เลือกตั้ง 2566
- ปฏิทิน เลือกตั้ง 2566 หาก สภาฯ ครบเทอม-ยุบสภา เช็กได้เลยที่นี่!
- เลือกตั้ง 66 : เช็คจำนวน ส.ส.-แบ่งเขต ก่อน กกต.ชงลงราชกิจจาฯ ได้ที่นี่!
- เลือกตั้ง 2566 : กกต.เคาะ ส.ส. 400 เขต จังหวัดไหนเพิ่มเท่าไหร่? เช็ก!
- เลือกตั้ง 2566: 180 วันก่อนเลือกตั้ง เปิดวิธีการหาเสียงเลือกตั้ง ส.ส. มีอะไรบ้าง
- เลือกตั้ง 2566 : พรรคการเมืองไหนส่งผู้สมัคร ส.ส.ได้ครบ 77 จังหวัด เช็ก!
- เลือกตั้ง 2566 : ยุบสภาแล้ว เราต้องรออะไรตามมาบ้าง?
- ยุบสภา 2566 จะเกิดอะไรขึ้นต่อไปเมื่อ ประยุทธ์ จันทร์โอชา ประกาศยุบสภา
- เลือกตั้ง 2566 : รู้หรือไม่? ประเทศไทยมีการยุบสภามาแล้ว 14 ครั้ง