รีเซต

ยุบสภา 2566 จะเกิดอะไรขึ้นต่อไปเมื่อ ประยุทธ์ จันทร์โอชา ประกาศยุบสภา

ยุบสภา 2566 จะเกิดอะไรขึ้นต่อไปเมื่อ ประยุทธ์ จันทร์โอชา ประกาศยุบสภา
TrueID
20 มีนาคม 2566 ( 15:40 )
200

ยุบสภาวันไหน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม เปิดเผยเวลายุบสภา 2566 ได้ทูลเกล้าฯพระราชกฤษฎีกา ยุบสภาไปแล้วในวันที่ 20 มีนาคม 2566

 

ยุบสภาวันไหน

ข่าวยุบสภา ล่าสุด พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ได้ทูลเกล้าฯพระราชกฤษฎีกา ยุบสภาไปแล้วในวันที่ 20 มีนาคม 2566 โดยนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า เมื่อนายกฯ ประกาศยุบสภาไปแล้ว จะประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาในวันนี้ ( 20 มีนาคม 2566 ) และจะมีผลเมื่อราชกิจจานุเบกษา ลงในวันดังกล่าว และเมื่อลงมาแล้ว ก็จะไม่ทราบวันเลือกตั้งเพราะผู้กำหนดวันเลือกตั้งคือ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) คาดว่าวันเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันที่ 7 หรือ 14 พฤษภาคม 2566 โดยล่าสุด 

 

โดยล่าสุดเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2566 กำหนดให้ยุบสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่ เป็นการเลือกตั้งทั่วไป โดยให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปในวันที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศกาหนดซึ่งต้องไม่น้อยกว่า 45 วัน แต่ไม่เกิน 60 วันนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ

 

 

ยุบสภา คือ

การยุบสภา เป็นเครื่องมือของฝ่ายบริหารหรือรัฐบาลที่ใช้ตอบโต้ถ่วงดุลอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติ เพราะฝ่ายนิติบัญญัติหรือรัฐสภานั้นมีอำนาจควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินของฝ่ายบริหารหรือรัฐบาล ดังนั้น การที่หัวหน้ารัฐบาลได้ตัดสินใจในทางการเมืองด้วยการถวายคำแนะนำต่อประมุขของรัฐให้ประกาศยุบสภาซึ่งมีผลในทางกฎหมายทำให้สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงพร้อมกันทั้งสภา จึงเป็นเครื่องมือหรืออาวุธที่มีประสิทธิภาพที่ทางฝ่ายรัฐบาลจะใช้ถ่วงดุลหรือคานอำนาจของสภา เพื่อให้
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่สนับสนุนรัฐบาลต้องไตร่ตรองให้รอบคอบและเป็นการอุทธรณ์ข้อขัดแย้งต่อประชาชน เพื่อให้ประชาชนตัดสินปัญหาสำคัญ โดยการแสดงออกผ่านทางการใช้สิทธิเลือกตั้ง

 

ถือเป็นการสร้างความชอบธรรมในระบอบประชาธิปไตยในฐานะที่ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศและเป็นทางเลือกในการแก้ไขปัญหาทางการเมืองให้เปิดกว้างมากขึ้น แทนที่จะเป็นการตอบโต้กันในทางการเมืองทระหว่างรัฐสภากับรัฐบาลการเลือกใช้กลไกของการยุบสภาเป็นวิถีทางในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งไม่ว่าจะเกิดจากฝ่ายนิติบัญญัติด้วยกันเอง หรือฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหาร การยุบสภานั้นมีผลให้ต้องมีการเลือกตั้งใหม่ ซึ่งเป็นการให้ประชาชนตัดสินใจว่า ข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้นนั้น ฝ่ายใดถูกฝ่ายใดผิด และควรมีแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไร

 

ทำไมต้องยุบสภา

เหตุการณ์ที่จะนำไปสู่การยุบสภาเป็นไปได้หลากหลายตามธรรมเนียมปฏิบัติทางรัฐธรรมนูญของแต่ละประเทศ ซึ่งพอจะสรุปได้รวม 9 กรณี ดังนี้

  1. มีความขัดแย้งเกิดขึ้นระหว่างฝ่ายบริหารคือรัฐบาลกับฝ่ายนิติบัญญัติคือรัฐสภา
  2. มีความขัดแย้งระหว่างวุฒิสภากับสภาผู้แทนราษฎรในการพิจารณากฎหมายสำคัญ
  3. มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญใหม่
  4. ต้องการเร่งการเลือกตั้งให้เร็วขึ้น
  5. ต้องการให้มีการเลือกตั้งในขณะที่ฝ่ายบริหารหรือพรรคที่เป็นรัฐบาลกำลังได้รับความนิยมจากประชาชน
  6. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกำลังจะเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี
  7. เกิดปัญหาไม่อาจตั้งรัฐบาลได้ หรือรัฐบาลที่จัดตั้งมีลักษณะเป็นรัฐบาลผสม นายกรัฐมนตรีไม่อาจควบคุมการทำงานของ
  8. พรรคร่วมรัฐบาลได้
  9. ประชาชนส่วนใหญ่เรียกร้องให้มีการยุบสภา

 

 

ยุบสภา ต้องเลือกตั้งภายในกี่วัน

การกำหนดวันเลือกตั้งในกรณีนายกรัฐมนตรียุบสภาผู้แทนฯ รัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 103 กำหนดว่า เมื่อมีพระราชกฤษฎีกาให้ยุบสภาฯ ให้ กกต. ประกาศกำหนดวันเลือกตั้งทั่วไปในราชกิจจานุเบกษาภายในห้าวันนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกายุบสภาฯ โดยกรอบระยะเวลาในการกำหนดวันเลือกตั้งต้องไม่น้อยกว่า 45 วันแต่ไม่เกิน 60 วัน นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวใช้บังคับ 


ดังนั้นหากมีการยุบสภา การเลือกตั้งของ กกต.จะขยายจากกรณีครบวาระที่กำหนดภายใน 45 วัน เป็นไม่น้อยกว่า 45 วัน แต่ไม่เกิน 60 วัน

 

ข้อมูลจาก การ ยุบสภา ผู้แทนราษฎร : ดุลยภาพแห่งอำนาจระหว่าง ฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติ , ilaw.or.th

รูปภาพจาก www.thaigov.go.th

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

กดเลย >> community แห่งความบันเทิง

ทั้งข่าว หนัง ซีรีส์ ละคร ดนตรี และศิลปินไอดอล ที่คุณชื่นชอบ บนแอปทรูไอดี

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง