รีเซต

ปฎิเสธ แจงยุบสภา หลังแก้รัฐธรรมนูญแล้ว

ปฎิเสธ แจงยุบสภา หลังแก้รัฐธรรมนูญแล้ว
TNN ช่อง16
18 กันยายน 2566 ( 10:45 )
134
ปฎิเสธ แจงยุบสภา หลังแก้รัฐธรรมนูญแล้ว

โดยล่าสุดประเด็นดังกล่าว  นายเศรษฐา ทวีสิน  นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง  ปฎิเสธ ยังไม่ขอตอบคำถาม ความคืบหน้า  การแก้ไขรัฐธรรมนูญ  รวมถึง การยุบสภาฯหรือไม่  เมื่อจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขแล้วเสร็จ  



ด้านนายภูมิธรรม เวชชยชัย  รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่ากากรระทรวงพาณิชย์    ระบุว่าการตั้งคณะกรรมการศึกษาแนวทางการทำประชามติ จะเริ่มต้นจากการนำทีมที่ปรึกษาของแต่ละพรรคการเมืองมาหารือแล้วขยายตัวไปสู่กลุ่มวิชาชีพ ระดมความคิดให้กระบวนการเดินหน้าหาจุดที่พอดี  เพื่อผ่อนคลายความกังวลไปทีละเปลาะ  แล้วนำไปสู่การแก้ไขที่ทุกฝ่ายยอมรับได้ แต่ไม่ได้มีการตีกรอบระยะเวลาดำเนินงานที่ชัดเจน


ทั้งนี้แนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ศาลรัฐธรรมนูญขีดเส้นไว้ ตามคำวินิฉัย เมื่อ 11 มี.ค. 2564 คือ ต้องให้ประชาชนผู้มีอำนาจ ได้ลงประชามติก่อนว่าประสงค์จะให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ และเมื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เสร็จแล้ว ต้องให้ประชาชนลงประชามติเห็นชอบหรือไม่อีกครั้ง ส่วนประเด็นหมวดหนึ่งหมวดสองที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์จะไม่มีการแก้ไข นั่นหมายความว่า ต้องทำประชามติ2ครั้ง 




ขณะที่ นายชูศักดิ์ ศิรินิล  รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย   มองถึงแนวทางแก้ไขรัฐธรรมนูญ หลังจากที่คณะรัฐมนตรี(ครม.) มีมติ ให้ตั้งคณะกรรมการศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ย้ำต้องรอให้นาย"ภูมิธรรม”  นัดหมายหารือก่อน ส่วนตัว โครงสร้างของคณะกรรมการศึกษาการแก้ไข รัฐธรรมนูญ ควรประกอบด้วย ตัวแทนจากทุกพรรคการเมือง รวมถึงตัวแทนของพรรคฝ่ายค้านด้วยก็ยินดี และมีตัวแทนภาคประชาชน และภาคส่วนต่างๆ เข้าร่วมคณะกรรมการศึกษาฯ


โดยกระบวนการทำงานคณะกรรมการศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญ คาดว่าใช้เวลาไม่มาก เพียงแต่ร่วมหารือให้ตกผลึก เกี่ยวกับการแก้ไขรธน. ซึ่งในชั้นนี้ จุดมุ่งหมายของพรรคเพื่อไทย ตั้งแต่ ก่อนหาเสียง ยังยึดในหลักการเดิม คือ การแก้ไขรธน.ทั้งฉบับ โดยให้มีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ในการจัดทำ รธน.



ดังนั้น คำถามในการทำประชามติ จึงต้องเขียนให้รอบคอบ เพื่อป้องกันปัญหาที่จะตามมาภายหลัง เช่น การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ สมควรแก้ไข รธน.ทั้งฉบับ โดยมี สสร.ที่ผ่านการเลือกตั้งจากประชาชน มายกร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่   ซึ่งทันทีที่ครม.รับหลักการ เท่ากับเป็นการออกสตาร์ทกระบวนการแก้ไขรธน. โดยครม.จะได้มอบหมาย ให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จัดทำประชามติ ซึ่งจะใช้เวลาตามกฎหมายประชามติ ภายในเวลา 90 วันแต่ไม่เกิน 120 วัน




ทั้งนี้หากมองไทม์ไลน์แก้รธน.   ในกรณีประชามติเห็นชอบให้มีการแก้ไขรธน. ถัดจากนั้นเป็นหน้าที่ของ ครม. ดำเนินการยกร่างแก้ไขเพิ่มเติมรธน.มาตรา 256 ถึงกระบวนการแก้ไขรธน.โดยให้มีสมาชิกสภาร่างรธน.จำนวนคนอะไรก็ว่าไป จัดทำร่างรธน. เพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมรัฐสภาพิจารณา ตามกระบวนการปกติ เมื่อผ่านวาระ 1,2,3 จึงนำไปประชามติอีกรอบ หากประชาชนเห็นชอบจะได้นำร่างแก้ไขเพิ่มเติมรธน.มาตรา 256 นำขึ้นทูลเกล้าฯ ประกาศใช้ เพื่อให้มีการเลือกตั้ง สสร.ไปทำหน้าที่แก้ไขรธน.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง