รีเซต

กรมการแพทย์เตรียมกระจาย "ยาโมลนูพิราเวียร์" พร้อมเผยผลข้างเคียง?

กรมการแพทย์เตรียมกระจาย "ยาโมลนูพิราเวียร์" พร้อมเผยผลข้างเคียง?
TNN ช่อง16
16 มีนาคม 2565 ( 11:32 )
90
กรมการแพทย์เตรียมกระจาย "ยาโมลนูพิราเวียร์" พร้อมเผยผลข้างเคียง?

วันนี้( 16 มี.ค.65) ที่กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ ระบุถึงความคืบหน้ายาโมลนูพิราเวียร์ ว่า ยาถึงไทยเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว 50,000 คอร์ส หรือ รักษาผู้ติดเชื้อได้ประมาณ 50,000 คน คนละ 40 เม็ด กินยาวันละ 8 เม็ดแบ่งเป็น เช้า 4 เม็ด เย็น 4 เม็ด เป็นเวลา 5 วัน 

โดยวันนี้ จะมีการหารือเรื่องการกระจายยาและแนวทางการใช้ยาอย่างละเอียด เบื้องต้นกระจายยาไปยังโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลประจำจังหวัด และโรงพยาบาลขนาดใหญ่ ส่วนในพื้นที่กทม.หน่วยงานหลัก คือ โรงพยาบาลหลักสังกัดกรมการแพทย์ โรงพยาบาลสังกัด สำนักการแพทย์ กทม.และโรงเรียนแพทย์ 

เบื้องต้น จะมีการพิจารณาจะมีการใช้ยาโมลนูพิราเวียร์ในกลุ่ม 608 แต่วันนี้อาจจะมีการปรับการให้ยาโมลนูพิราเวียร์ให้กับประชาชนในกลุ่มอายุ 18 ปีขึ้นไป ซึ่งผลข้างเคียงเบื้องต้นพบมีอาการคลื่นไส้  อาเจียน แต่ไม่แนะนำให้ใช้ยาในกลุ่มอายุต่ำกว่า 18 ปีและหญิงตั้งครรภ์ 

อย่างไรก็ตามจะมีการศึกษาวิจัยประสิทธิภาพแบบ คู่ขนาน ระหว่างยาโมลนูพิราเวียร์  และยาฟาวิพิราเวียร์ เพื่อที่อนาคตจะได้ม่ข้อมูลในการใช้ยาที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพกับผู้ป่วยโควิดว่าควรใช้ยาตัวใด 

ทั้งนี้ การจ่ายยาโมลูพิราเวียร์และฟาวิพิราเวียร์จะขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์และอาการของผู้ป่วย ซึ่งผู้ป่วยหากไม่มีอาการไม่จำเป็นต้องรับยาทั้ง 2 ชนิด  ขณะเดียวกันองค์การเภสัชกรรมอยู่ระหว่างการพูดคุยกับบริษัทผลิตยาในประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตสิทธิ์การผลิตยาจากบริษัทเมอร์ค ซึ่งจะมีราคาถูกกว่า แต่เน้นย้ำให้องค์การเภสัชกรรมตรวจสอบคุณภาพยาก่อนทำการจัดซื้อเพิ่มเติมในอนาคต

ส่วนความคืบหน้ายาแพกซ์โลวิด นพ.สมศักดิ์ ระบุว่า ครม.ได้ให้อำนาจกรมการแพทย์เป็นผู้ลงนามจัดซื้อยาแพกซ์โลวิดกับบริษัทไฟเซอร์ จำนวน 50,000 คอร์ส ซึ่งยาแพกซ์โลวิด ต้องใช้ควบคู่กับยาริโทนาเวียร์ โดยใช้ยาแพล็กโลวิด 30 เม็ดต่อคน แบ่งเป็นวันละ 6 เม็ด เช้า 3 เม็ด , เย็น 3 เม็ด เป็นเวลา 5 วัน คาดว่ายาแพกซ์โลวิดจะมาถึงไทยในเดือนเมษายน 

ส่วนการดำเนินงานเจอ แจก จบ หรือผู้ป่วยนอก OPD มีจำนวนผู้ป่วยมาใช้บริการในโรงพยาบาล กรมการแพทย์เพิ่มขึ้น คือ โรงพยาบาลเลิดสิน โรงพยาบาล นพรัตน์ และ โรงพยาบาลราชวิถี เฉลี่ย 1 พันคนต่อวัน แต่หากรวมโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์กทม. และศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่งจะรองรับได้ 5,000 คนต่อวัน




ภาพจาก ผู้สื่อข่าว TNN ช่อง 16 / AFP


ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง