3 อาทิตย์ แท็กซี่ติดโควิด 11 ราย! แนะแนวทางป้องกันโควิด-19 เมื่อนั่งแท็กซี่
รถแท็กซี่ เป็นรถโดยสารไม่ประจำทางอีกประเภทหนึ่งที่คนทั่วไปนิยมใช้ โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 เนื่องจากเป็นรถส่วนบุคคล ไม่ต้องนั่งปะปน หรือแออัดร่วมกับใคร แต่รู้หรือไม่ รถแท็กซี่อาจเป็นอีกจุดเสี่ยงหนึ่งที่วางใจไม่ได้
นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า ในช่วงการเฝ้าระวังสถานการณ์ โควิด-19 ส่งผลให้มีผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในแต่ละวัน กลุ่มผู้ขับรถแท็กซี่ถือเป็นอีกกลุ่ม ที่ต้องเฝ้าระวังเนื่องจากมีการให้บริการผู้โดยสารในทุก ๆ วัน หากไม่ป้องกันอาจเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะแพร่เชื้อไปยังผู้โดยสาร หรือเป็นผู้ที่เสี่ยงรับเชื้อได้ง่าย ซึ่งข้อมูลในช่วง 3 สัปดาห์ที่ผ่านมาพบว่า มีผู้ขับรถแท็กซี่เสียชีวิตด้วย โรคโควิด-19 จำนวน 11 ราย จึงจำเป็นต้องมีการป้องกันและสร้างสุขอนามัยที่ดีอย่างเข้มข้น หากพบว่ามีไข้ ไอ จาม มีน้ำมูก เหนื่อยหอบ หรือมีอุณหภูมิร่างกายเท่ากับหรือมากกว่า 37.5 องศาเซลเซียส ให้แจ้งงดเช่ารถ และไปพบแพทย์ทันที
วันนี้ TrueID ไม่รอช้า รีบรวบรวมมาตรการเตรียมความพร้อมสำหรับคนขับแท็กซี่และผู้โดยสารที่นิยมใช้บริการ มาเป็นแนวทางปฏิบัติในการป้องกันโรคโควิด-19 ที่อาจเกิดขึ้นกับคนขับหรือผู้โดยสารได้ ดังนั้นรู้ไว้ ป้องกันได้ก่อน
5 จุดเสี่ยงบนรถแท็กซี่
1. ที่จับบริเวณประตู
2.ที่จับเหนือหัวผู้โดยสาร
3.เบาะนั่ง
4.ที่เท้าแขน
5.กระจกภายในรถ
วิธีการทำความสะอาดจุดเสี่ยงโควิด
ทำความสะอาดด้วยน้ำผงซักฟอกหรือน้ำยาทำความสะอาด และแอลกอฮอล์ 70% ทุกครั้งที่ผู้โดยสารลงจากรถเพื่อทำลายเชื้อโรค รวมทั้งจัดเตรียมหน้ากากอนามัยและ เจลแอลกอฮอล์ไว้ให้บริการในกรณีที่พบผู้โดยสารมีอาการไข้ ไอ จาม และไม่สวมหน้ากากอนามัย
มาตรฐานในการให้บริการสำหรับคนขับแท็กซี่
1.หากผู้ขับขี่มีอาการไข้หวัด ไม่สบาย มีไข้ ไอ จาม มีน้ำมูก เจ็บคอ หายใจเหนื่อยหอบ ห้ามขับ ให้กักตัวที่บ้าน 14 วัน
2.จัดให้มีเจลแอลกอฮอล์ หรือเจลล้างมือ หรือทิชชูประจำรถ
3.เปิดระบบแอร์ให้หมุนเวียนอากาศภายนอกเข้ามา และเปิดหน้าต่าง
4.ทำความสะอาดรถอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง หรือทุกกะ
5.แนะนำให้ผู้โดยสารนั่งเบาะหลัง
6.ให้คนขับและผู้โดยสารควรสวมหน้ากากอนามัย
7.หากพบเห็นผู้โดยสารมีอาการไอ จาม หรือไม่สบาย ให้ทำความสะอาดทุกครั้ง หลังจากผู้โดยสารลงจากรถไปแล้ว
8.รับผู้โดยสารไม่เกิน 3 คน ต่อรถ 1 คัน
9.ทำฉากกั้นระหว่างคนขับกับผู้โดยสาร
10.งดการสนทนาที่ไม่จำเป็น
11.ให้ผู้โดยสารจ่ายเงินโดยใช้ Internet Banking หากต้องจ่ายเงินสด ควรมีตะกร้าสำหรับทอนเงิน
มาตรฐานในการใช้บริการสำหรับสำหรับผู้โดยสาร
1.สวมใส่หน้ากากอนามัย
2.พกเจลแอลกอฮอล์หรือถุงมือเพื่อป้องกันการสัมผัส
3.งดการสนทนาที่ไม่จำเป็น
4.จ่ายเงินโดยใช้ Internet Banking
5.ล้างมือหลังลงจากรถ และเช็ดแอลกอฮอล์บริเวณจุดที่สัมผัส
ข้อมูลจาก สสส. , กรมอนามัย , สำนักงานประชาสัมพันธ์กรุงเทพมหานคร
--------------------
เกาะติดสถานการณ์โควิด-19 ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- ใช้รถโดยสารสาธารณะอย่างไร ให้ปลอดภัยโควิด-19
- รวม 5 จุดเสี่ยงติดโควิด-19 ที่ต้องระวังเมื่อไปเดินห้าง!
- มั่นใจได้! ซิโนแวค & แอสตราเซเนกา ประสิทธิภาพพร้อมฉีด กระตุ้นภูมิคุ้มกัน
- กทม.ผวา 28 คลัสเตอร์กระจายเชื้อโควิด 19 เขต แคมป์คนงานหลักสี่น่าห่วงสุด