รีเซต

จีนปล่อยดาวเทียมดวงสุดท้าย ระบบนำร่อง "เป่ยโต่ว" คู่แข่ง GPS อเมริกา

จีนปล่อยดาวเทียมดวงสุดท้าย ระบบนำร่อง "เป่ยโต่ว" คู่แข่ง GPS อเมริกา
ข่าวสด
23 มิถุนายน 2563 ( 23:15 )
372
จีนปล่อยดาวเทียมดวงสุดท้าย ระบบนำร่อง "เป่ยโต่ว" คู่แข่ง GPS อเมริกา

 

จีนปล่อยดาวเทียมดวงสุดท้าย - วันที่ 23 มิ.ย. รอยเตอร์ รายงานว่า จีนประสบความสำเร็จในการปล่อยดาวเทียมดวงสุดท้ายของโครงการ เป่ยโต่ว เครือข่ายดาวเทียมนำร่องที่จีนพัฒนาขึ้นเอง อันเป็นการแข่งขันระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก หรือจีพีเอส ของสหรัฐอเมริกา

 

A Long March-3B carrier rocket carrying the Beidou-3 satellite, the last satellite of China's Beidou Navigation Satellite System, takes off from Xichang Satellite Launch Center in Sichuan province, China June 23, 2020. China Daily via REUTERS ATTENTION EDITORS - THIS IMAGE WAS PROVIDED BY A THIRD PARTY. CHINA OUT.

ดาวเทียมดังกล่าวติดตั้งกับจรวดลองมาร์ช-ทรีบีของสำนักงานอวกาศแห่งชาติจีน ซึ่งทะยานจากฐานปล่อยที่ศูนย์อวกาศซีชาง มณฑลเสฉวน ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ดาวเทียมแยกออกจากจรวดและเข้าสู่วงโคจรเมื่อผ่านไปครึ่งชั่วโมง ก่อนขับเคลื่อนตัวเองด้วยพลังงานแสงอาทิตย์

 

The launch pad of the Xichang Satellite Launch Center is seen the day before the Beidou-3 satellite, the last satellite of China's Beidou Navigation Satellite System, is set to launch in Sichuan province, China June 15, 2020. REUTERS/Carlos Garcia Rawlins

ความคิดเกี่ยวกับระบบดาวเทียมนำร่องเป่ยโต่วเป็นรูปเป็นร่างตั้งแต่ทศวรรษที่ 1990 เนื่องด้วยกองทัพจีนต้องการลดการพึ่งพาจีพีเอสของกองทัพสหรัฐอเมริกา ประกอบด้วยดาวเทียม 3 รุ่น รุ่นแรก ดาวเทียมเป่ยโต่ว-1 ใช้งานตั้งแต่ปี 2543 ครอบคลุมเฉพาะจีน ส่วนดาวเทียมเป่ยโต่ว-2 ใช้งานเมื่อปี 2555 ครอบคลุมภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และดาวเทียมเป่ยโต่ว-3 ใช้งานเมื่อปี 2558 ครอบคลุมทั่วโลก

 

Staff members walk at Xichang Satellite Launch Center, the day before the Beidou-3 satellite, the last satellite of China's Beidou Navigation Satellite System, is set to launch in Sichuan province, China June 15, 2020. REUTERS/Carlos Garcia Rawlins

ดาวเทียมที่ปล่อยครั้งล่าสุดวันนี้เป็นดาวเทียมเป่ยโต่ว-3 ดวงที่ 35 ซึ่งอเล็กซานดรา สติกกิงส์ นักวิเคราะห์วิจัย สถาบันกลาโหมและความมั่นคงศึกษา องค์กรคลังสมองที่ตั้งอยู่ในสหราชอาณาจักร มองความน่าเชื่อถือของระบบและการใช้งานว่า สัญญานจากดาวเทียมดังกล่าวไม่ดีไปกว่าจีพีเอสของสหรัฐ หรือกาลิเลโอของยุโรป

 

https://twitter.com/Reuters/status/1275375546667462658

 

"เมื่อมองจากบริบทการป้องกันประเทศ ยากที่จะบอกว่า เป่ยโต่วดีกว่าหรือไม่ อุปสรรคหนึ่งที่จะต้องเผชิญคือการอัพเกรคเครื่องรับสัญญาณทั่วฐานทัพซึ่งจะต้องใช้เวลา” อเล็กซานดรา สติกกิงส์ กล่าว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง