ศบค.เผยผลศึกษาฉีดวัคซีนไขว้ภูมิคุ้มกันขึ้น-ได้ผลดี
วันนี้ ( 20 ส.ค. 64 )พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์ โควิด-19 (ศบค.) แถลงว่า จำนวนผู้ป่วยผู้ติดเชื้อในชุมชนหลายวันในกรุงเทพฯและปริมณฑลคิดเป็น 41 เปอร์เซ็นต์ ส่วนต่างจังหวัด 59 เปอร์เซ็นต์ แต่ดูทิศทางแล้วเป็นไปได้ว่าแนวทางคงที่และไม่ได้สูงขึ้นเหมือนแต่ก่อนและแม้จะฉีดวัคซีนครบสองเข็มแล้ว แต่ก็ประมาทไม่ได้มีโอกาสที่จะเป็นผู้ติดเชื้อได้ และเริ่มมีการรายงานผู้ป่วยเสียชีวิตในพื้นที่ต่างจังหวัดนอกเหนือจากกรุงเทพฯ และปริมณฑล
ทั้งนี้ มีรายงานการศึกษาวัคซีนเข็มสามวัคซีนไขว้ โดยเป็นการศึกษาของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และศิริราชพยาบาลต่อการติดเชื้อสายพันธุ์เดลต้า โดยมีผู้เข้าร่วมการศึกษา 125 รายแบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับวัคซีนกลุ่มที่ 1 ซิโนแวค+ชิโนแวค 2 เข็ม พบค่าภูมิคุ้มกันที่ได้ 24.31 กลุ่ม 2 แอสตร้าเซนเนก้า ทั้ง 2 เข็ม พบค่าภูมิคุ้มกันที่ได้ 76.52 กลุ่มที่ 3 ซิโนแวค เข็มที่ 1 แอสตร้าเซนเนก้า เข็ม 2 พบค่าภูมิคุ้มกันที่ได้ 78.65 และกลุ่มที่ 4 ของบุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับการกระตุ้นหลังจากฉีดชิโนแวค 2 เข็มและตามด้วยแอสตราเซเนกาเข็ม 3 ค่าภูมิคุ้มกันที่ได้ขึ้นไปที่ 271.7 ซึ่ง
ในที่ประชุมศูนย์ปฏิบัติการศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศปก.ศบค.) กรุงเทพฯรับนโยบายการฉีดวัคซีนไขว้ไปปฏิบัติ และการศึกษาพบว่าการกระตุ้นภูมิคุ้มกันด้วยการใช้วัคซีนไขว้ด้วยการใช้วัคซีนชิโนแวคตามด้วย แอสตร้าเซนเนก้า พบว่าได้ผลดี รวมถึงใช้ระยะเวลาระหว่างเข็ม 1 เข็ม 2 เพียง 3 สัปดาห์ทำให้มีความเหมาะสมกับบริบทการติดเชื้อในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อเดลต้าที่ขยายวงกว้าง
ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยคลินิกคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลได้ทำการวิจัยวัคซีนต่างชนิดทั้งในส่วนเข็ม 1 และเข็ม 2 ที่มียี่ห้อต่างกันและมีการกระตุ้นด้วยเข็ม 3 โดยยังคงมีการศึกษาในหลายงานวิจัย