รีเซต

ตลึงพบฝูงกระทิงป่า ลงกินข้าวโพดชาวบ้านเสียหาย 30 ไร่

ตลึงพบฝูงกระทิงป่า ลงกินข้าวโพดชาวบ้านเสียหาย 30 ไร่
มติชน
28 เมษายน 2565 ( 13:42 )
80
ตลึงพบฝูงกระทิงป่า ลงกินข้าวโพดชาวบ้านเสียหาย 30 ไร่

วันที่ 28 เมษายน มานายชัยยา ห้วยหงษ์ทอง หัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ หลังได้รับแจ้งจาก นายวันชัย แค่มจันทึก หัวหน้าหน่วยพิทักษ์อุทยานคลองปลากั้ง (ขญ4.) ต.วังหมี อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา ว่าที่ไร่ของ นางดวงใจ อู๋สูงเนิน ชาวบ้าน หมู่บ้านยุบอีปูน หมู่ 4 ต.วังหมี อ.วังน้ำเขียว เขตรอยต่อกับ อ.ปากช่อง มีกระทิงฝูงใหญ่ มีทั้งขนาดเล็กและใหญ่ประมาณ 30 ตัว เข้าไปกัดกินข้าวโพดที่ปลูกไว้ในพื้นที่ได้รับความเสียหายทั้งแปลง กว่า 30 ไร่

 

จึงได้ประสานไปยังนายสำเริง รักษา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวังหมี (อบต.) แล้วออกไปตรวจสอบ พร้อมด้วยนายกิตติชัย รุ่งไพบูลย์วงศ์ ผู้ช่วยหัวหน้าอุทยานฯเขาใหญ่ นายสมหมาย จำปา รองนายก องค์การบริหารส่วนตำบลวังหมี (อบต). นางอุสนา พูลกลง ที่ปรึกษานายก อบต.,นางดวงใจ อู๋สูงเนิน ชาวบ้านเจ้าของไร่ปลูกข้าวโพด นางอรุณ บึ้งกลาง ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 4 บ้านยุบอีปูน และเจ้าหน้าที่ร่วมออกตรวจสอบ พบว่ามีรอยกระทิงเข้ามากัดกินต้นข้าวโพดเสียหายทั้งแปลง ซุ่งอยู่ติดกับแนวป่า

 

นางดวงใจ อู๋สูงเนิน เจ้าของไร่ เล่าว่า เมื่อ3-4 วันก่อน ตนออกมาดูไร่ข้าวโพดเพื่อจะนำปุ๋ยมาไส่ข้าวโพด คาดว่าจะมีความสูประมาณ 12 นิ้ว แต่พอมาดูพบมีรอยเท้าคล้ายวัว-ควาย กัดกินข้าวโพดจนเหี้ยนติดดิน ตกใจตนจึงแอบเฝ้าดูตอนค่ำจนพบว่ามีฝูงกระทิงจำนวนมากลงมากันกินตนจึงนำมือถือมาถ่ายภาพเอาไว้ และแจ้งไปยัง อบต.วังหมี ทราบ เพราะลงทุนค่าเมล็ดพันธุ์ ค่ารถไถ รถหยอดเมล็ดปลูก หากไม่มีอะไรกัดกินเสียหายก้จะเก็บขายได้กว่าแสนบาท

 

โดยในช่วงกลางวันแดดร้อน ฝูงกระทิง จะหลบเข้านอนในป่า และจะออกมาหากินในช่วงเย็นตั้งแต่ 17.00 น.เป็นต้นไป หรือช่วงเย็นถ้าฝนตกอากาศเย็นฝูงกระทิงก็จะออกมาหากินให้เห็นและไม่ค่อยกลัวคน โดยไม่ทราบว่าฝูงกระทิงมาจกป่าที่ไหน ในแต่ละคืนย้ายไปกินในหลายจุดใกล้เคียงกัน ซึ่งพบเห็นมานานกว่า 6-8 เดือนแล้ว แต่ยังไม่มีหน่วยงานไหนยื่นมือมาช่วยเหลือ ซึ่งจุดที่กระทิงออกหากินพืชไร่ชาวบ้าน อยู่ห่างอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ประมาณ 30 กิโลเมตร ผ่านพื้นที่หลายหมู่บ้าน

 

ด้านนายชัยยา กล่าวว่า กระทิงในประเทศไทย เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตาม พ.ร.บ.ประเภทที่ 2 และเป็น 1 ใน 51 สัตว์ป่า ตามบัญชีหมายเลข 1 ( Appendix l ) มีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ ส่วนสัตว์ป่าที่ออกนอกพื้นที่ป่าอนุรักษ์ อยู่ในความรับผิดชอบของ ส่วนอนุรักษ์สัตว์ สำนักบริหารพื้นที่ป่าอนุรักษ์ที่ 7 (นครราชสีมา) แต่อย่างไรก็ตาม  ขอให้ประชาชนอย่าทำร้ายสัตว์ป่า และก็พร้อมที่จะให้คำปรึกษาและแนะนำกับชาวบ้านในการปฏิบัติเพื่อให้คนและสัตว์ป่าอยู่ร่วมกันได้ต่อไปได้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง