รีเซต

นักวิจัยเสนอใช้ AI คุยเอเลี่ยน วิธีสื่อสารสุดล้ำ ที่ทำ AI เป็นทูตแทนมนุษย์ในอวกาศ

นักวิจัยเสนอใช้ AI คุยเอเลี่ยน วิธีสื่อสารสุดล้ำ ที่ทำ AI เป็นทูตแทนมนุษย์ในอวกาศ
TNN ช่อง16
5 สิงหาคม 2567 ( 09:30 )
25

การสื่อสารกับสิ่งมีชีวิตทรงภูมิปัญญานอกโลกเป็นหนึ่งในสาขาวิจัยที่มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง และล่าสุด นักวิจัยจากสถาบันเพื่อการค้นหาสิ่งมีชีวิตทรงภูมิปัญญาจากต่างดาว (SETI) เสนอวิธีในการสื่อสารกับเอเลี่ยนด้วยการใช้ AI เพื่อให้การสื่อสารระหว่างมนุษยชาติกับมนุษย์ต่างดาวมีประสิทธิภาพมากที่สุด


แนวคิดการใช้ AI สื่อสารกับมนุษย์ต่างดาว

การเสนอการใช้ AI สื่อสารกับมนุษย์ต่างดาว เป็นส่วนหนึ่งโครงการดังกล่าวเรียกว่า เมติ (METI: messaging extraterrestrial intelligence) ซึ่งเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ยุคปี 1960 เช่น การแปลงเพลงและหลักการทางวิทยาศาสตร์เป็นรหัสมอร์ส (Morse code) ก่อนส่งสัญญาณออกไปนอกโลก ภายใต้สมมติฐานว่า "มีสิ่งมีชีวิตทรงภูมิปัญญาที่สามารถรับสัญญาณและเข้าใจได้"


ด้วยเหตุนี้ ฟรานช์ มาร์คิส (Franch Marchis) นักดาราศาสตร์ของ SETI และ อิกนาซิโอ จี. โลเปซ-ฟรองซัวส์ (Ignacio G. Lopez-Francois) นักวิจัยของ NASA จึงร่วมกันเสนอให้ใช้ AI ที่เป็นโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (Large Language Model: LLM) เพื่อยกระดับการสื่อสารไปอีกขั้น 


โดยนักวิจัยทั้ง 2 คน เชื่อว่า มนุษย์ต่างดาวที่ได้สื่อสารกับ AI ที่ส่งออกไปยังอวกาศ จะสามารถเรียนภาษาของมนุษย์ได้ และเริ่มถามคำถามต่าง ๆ เกี่ยวกับมนุษยชาติ ซึ่ง AI ที่ได้รับการพัฒนาดีพอ จะสามารถโต้ตอบกับเหล่ามนุษย์ต่างดาวได้ 


ความเป็นไปได้ที่จะใช้ AI สื่อสารกับมนุษย์ต่างดาว

จากการศึกษาในปัจจุบันพบว่า มีดาวเคราะห์ (Exoplanet) ที่อาจสามารถดำรงชีวิตและตั้งถิ่นฐานได้นับร้อย ๆ ดวง ในขอบเขตของกาแล็กซีทางช้างเผือก (Milky Way galaxy) ซึ่งหากมองในด้านที่ดีตามวิสัยทัศน์ของ SETI ก็มีความเป็นไปได้ว่าจะมีดาวบางดวงจากทั้งหมดที่อาจมีสิ่งมีชีวิตทรงภูมิปัญญาที่พัฒนาเทคโนโลยีมากพอจะเรียนรู้และสื่อสารกับมนุษยชาติได้


แม้ว่า AI ในปัจจุบันจะยังมีขีดจำกัดในด้านการสื่อสาร เช่น ความต่อเนื่องในการสร้างคำพูด หรือระยะเวลาในการประมวลผลที่ยังนานกว่ามนุษย์ ซึ่งยังสามารถพบได้ในโมเดลภาษาในปัจจุบัน แต่ทางนักวิจัยได้ยกตัวอย่างลามะ ทรี (Llama-3) ของเมตา (Meta) ว่าเป็นหนึ่งในโมเดล AI ที่มีศักยภาพเพียงพอในปัจจุบันสำหรับโครงการ METI เนื่องจากเป็นหนึ่งในโมเดลแบบ LLM ที่มีฐานข้อมูลสำหรับการฝึกฝนความสามารถใหญ่ที่สุดในโลก


โดยขั้นตอนต่อไปคือการพัฒนาเทคโนโลยีการบีบอัดข้อมูล เพื่อลดขนาดของโมเดล Llama-3 จากขนาดประมาณ 130 กิกะไบต์ (GB) ให้เหลือประมาณ 2-3 กิกะไบต์ ก่อนส่งไปยังอวกาศ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีควอนตัมที่เรียกว่าควอนไทเซชัน (Quantization) เพื่อทำให้ชุดข้อมูลที่ส่งผ่านสัญญาณวิทยุ หรือแสงเลเซอร์มีขนาดเล็กลงในอนาคต


ข้อมูลจาก Futurism, Scientific American

ภาพจาก Freepik


ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง