รีเซต

แพทย์ยกเคส “บีม ปภังกร” ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน เกิดกะทันหัน ไร้สัญญาณเตือน

แพทย์ยกเคส “บีม ปภังกร” ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน เกิดกะทันหัน ไร้สัญญาณเตือน
TNN ช่อง16
25 มีนาคม 2565 ( 14:32 )
81
แพทย์ยกเคส “บีม ปภังกร” ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน เกิดกะทันหัน ไร้สัญญาณเตือน

วันนี้ ( 25 มี.ค. 65 )นายแพทย์เอนก กนกศิลป์ ผู้อำนวยการสถาบันโรคทรวงอก ระบุว่า สาเหตุการเสียชีวิตที่แน่ชัดของนักแสดงหนุ่มอาจ ต้องรอผลชันสูตรและการตรวจคัดกรองอย่างละเอียด พร้อมอธิบายว่า ตามหลักทางการแพทย์ กรณีที่นอนหลับแล้วเสียชีวิต น่าจะมาจาก ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน ทำให้เสียชีวิตกะทันหัน โดยปราศจากสัญญาณเตือน ซึ่งถือเป็นภาวะอาการ กลุ่มใหญ่ของหลายๆโรคมารวมกั ซึ่งในอดีตหากจำกันได้ ที่เรียกกันว่าโรคใหลตาย พบในกรณีที่ แรงงานไทยไปทำงานที่สิงคโปร์ซึ่งทุกคนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงดี ไม่มีประวัติโรคหัวใจมาก่อน แล้วนอนหลับเสียชีวิต  

โดยอุบัติการณ์ของโรค จากทั่วโลก พบได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย เจอได้ไม่บ่อยซึ่งการวินิจฉัยและป้องกันค่อนข้างยาก รวมถึงการคัดกรอง ที่ผ่านมา กรณีที่เจอภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน ไม่เสียชีวิตก็มี  ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้จะต้องเข้ารับการรักษาทันที หรือมีประวัติจากญาติสายตรงที่เคยเสียชีวิตจากโรคดังกล่าวหรือกรณีที่มาตรวจร่างกายแล้วพบเจอกราฟหัวใจผิดปกติ  ในกรณีของนักแสดงหนุ่ม วัย 25 ปี รายนี้ ถือว่าอายุยังน้อย อาจจะต้องหาว่ามีโรคหัวใจชนิดแฝง อยู่หรือไม่ 

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันพบได้ในทุกช่วงอายุ แต่พบบ่อยในผู้ใหญ่วัยทำงานที่มีอายุระหว่าง 25-55 ปี โดยพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง 2 เท่า ถึงแม้ว่าจะมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงก็อาจพบภาวะดังกล่าวได้และสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกสถานที่ และทุกเวลาส่วนใหญ่มักจะพบได้บ่อย ขณะออกกำลังกาย โดยไม่มีสัญญาณเตือน 

 แตกต่างจากภาวะหัวใจกำเริบเฉียบพลัน หรือ Heart attack  ที่จะมีสัญญาณเตือนนำมาก่อน เช่น เจ็บแน่นหน้าอก เหงื่อแตก ใจสั่นหายใจไม่อิ่ม แต่อย่างไรก็ดี การเกิดภาวะหัวใจกำเริบเฉียบพลันอาจนำไปสู่การเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันได้ อย่างไรก็ตามมีผู้เสียชีวิตบางส่วน ไม่รู้ว่าตัวเองเป็นโรคหัวใจ จึงแนะนำประชาชนเมื่อตรวจสุขภาพ อาจจะเพิ่มการตรวจคัดกรองเกี่ยวกับภาวะหัวใจด้วย 

ภาพจาก :  AFP

ข่าวที่เกี่ยวข้อง