รีเซต

รู้จัก “โรคใหลตาย” ที่ทำให้คนนอนหลับแล้วเสียชีวิตโยยไม่รู้ตัว

รู้จัก “โรคใหลตาย” ที่ทำให้คนนอนหลับแล้วเสียชีวิตโยยไม่รู้ตัว
TNN Health
24 มีนาคม 2565 ( 15:02 )
256
รู้จัก “โรคใหลตาย” ที่ทำให้คนนอนหลับแล้วเสียชีวิตโยยไม่รู้ตัว
โรคใหลตาย ในทางการแพทย์เรียกภาวะนี้ว่า “หัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน” เป็นอีกหนึ่งโรคที่พบบ่อยในผู้ชายเอเชียที่อายุยังน้อย ที่ไทยพบบ่อยในแถบภาคอีสาน ความน่ากลัวของโรคนี้คือการเสียชีวิตแบบเฉียบพลัน ที่ผู้ตายไม่มีโอกาสรู้ตัวมาก่อน
 
 
โรคใหลตาย มีสาเหตุที่สำคัญคือ ภาวะร่างกายขาดแร่ธาตุโพแทสเซียม ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง ส่งผลให้หัวใจเต้นไม่ปกติและเสียชีวิตในที่สุด
 
 
สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคใหลตายมี 2 ข้อหลัก คือ การบริโภคอาหารที่มีสารพิษ จนเกิดการสะสมและเป็นพิษต่อกล้ามเนื้อหัวใจ และการขาดสารอาหารที่เป็นวิตามินบี 1 อย่างรุนแรงเฉียบพลัน ทำให้คนที่แข็งแรงอยู่ดีๆ รู้สึกอ่อนเพลียและอยากนอน เมื่อหลับแล้วก็หัวใจวายตายเกือบจะทันที
 
 
กล่าวได้ว่า โรคนี้สัมพันธ์ใกล้ชิดกับภาวะทุพโภชนาการ และสุขนิสัยการกินที่ผิด ซึ่งปกติแล้วการเต้นของหัวใจคนเรานั้นเกิดขึ้นจากไฟฟ้า ซึ่งไฟฟ้าเกิดจากเกลือแร่ที่วิ่งเข้าออกระหว่างเซลล์ตลอดเวลา โดยเกลือแร่ที่ทำให้เกิดไฟฟ้ามีหลายชนิด เช่น โซเดียม โพแทสเซียม แคลเซียม เป็นต้น แต่ในคนที่เกิดภาวะใหลตายนั้นมีโซเดียมเข้าออกเซลล์นั้นมีน้อยกว่าคนปกติ
 
 
การทำงานที่ผิดปกติดังกล่าว จะนำไปสู่การเสียชีวิตได้ เมื่หัวใจห้องล่าง ซึ่งปกติจะปั๊มเลือดไปเลี้ยงร่างกาย เมื่อหัวใจห้องล่างเกิดไฟฟ้าลัดวงจรทำให้หัวใจห้องล่างเต้นไม่สม่ำเสมอ ปั๊มเลือดไปเลี้ยงร่างกายและสมองไม่เพียงพอ และเสียชีวิตในที่สุด
 
 
การรักษาโรคใหลตายในทางการแพทย์ ทำได้โดยการใช้ยาและการฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจ ส่วนการปฐมพยาบาลผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะใหลตาย ให้จับผู้ป่วยนอนราบ ระหว่างรอรถพยาบาลหรือรอคนมาช่วยให้ประเมินผู้ป่วย หากพบว่าไม่หายใจหรือชีพจรที่คอไม่เต้น ให้ทำ CPR จนกว่าจะถึงมือหมอ
 
 
อ้างอิงข้อมูล: โรงพยาบาลรามาธิบดี, สสส.

ติดตาม TNN Health ได้ที่นี่ FB https://www.facebook.com/TNNHealth

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.

คลิกเลย >>> TrueID Community <<<

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง