รีเซต

ผลศึกษาชี้ "โควิดสายพันธุ์เดลตา" แพร่เชื้อง่ายแม้ฉีดวัคซีนแล้ว

ผลศึกษาชี้ "โควิดสายพันธุ์เดลตา" แพร่เชื้อง่ายแม้ฉีดวัคซีนแล้ว
TNN ช่อง16
3 สิงหาคม 2564 ( 11:48 )
62

วันนี้( 3 ส.ค.64) สำนักข่าวรอยเตอรส์รายงานผลสรุปของการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ล่าสุดหลายฉบับ เกี่ยวกับไวรัสโครโรนาสายพันธุ์ใหม่และความพยายามในการหาวิธัรักษาและวัคซีน พบว่า

ฉีดวัคซีนแล้วหรือไม่ฉีด สามารถแพร่เชื้อได้มากเหมือนกัน

ผลการศึกษาชี้ โควิดกลายพันธุ์เดลตานั้นแพร่ระบาดได้ง่าย โดยในกลุ่มคนที่ติดโควิดเดลตานั้นพบว่า คนที่ได้รับวัคซีนต้านโควิด-19 ครบเข็มแล้ว อาจสามารถแพร่เชื้อสู่คนอื่นได้มากเท่ากับคนที่ติดเชื้อที่ยังไม่ได้รับวัคซีนสักเข็ม ยิ่งมีเชื้อไวรัสโคโรนาในจมูกและลำคอมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีโอกาสแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นมากขึ้นไปด้วย

ยกตัวอย่าง ที่เขตๆหนึ่งในรัฐวิสคอนซิน ซึ่งโควิดเดลตาเป็นสายพันธุ์หลักของการระบาด นักวิจับวิเคราะห์ประมาณไวรัสจากการทำ SWAB TEST ที่จมูกและลำคอของคนไข้ พบว่า คนไข้ที่ฉีดวัคซีน และคนที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน มีปริมาณของเชื้อพอๆกันซึ่งมีมากพอที่จะทำให้เกิดการแพร่กระจายได้

คาทารีนา กรานเด ผู้เขียนวิจัยร่วมจากหน่ยสาธารณสุขของเขตเมดิสัน แอนด์ เดน ในเมืองเมดิสัน รัฐวิสคอนซิน กล่าวว่า “ข้อสันนิษฐานหลักนี้ส่งผลต่อกฎที่ใช้ในปัจจุบันที่ตั้งเป้าชะลอการแพร่ระบาด ซึ่งระบุว่าคนที่ฉีดวัคซีนแล้วมีความเสี่ยงต่ำในการแพร่เชื้อต่อให้ผู้อื่น” การค้นพบนี้ยังชี้ว่า คนที่ฉีดวัคซีนแล้วยังควรต้องปฏิบัติตามมาตรการเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น

อย่างไรก็ตาม การศึกษาอีกฉบับจากสิงคโปร์พบว่า แม้จะพบปริมาณไวรัสเดลตาในผู้ที่ฉีดวัคซีนและไม่ฉีดในปริมาณเท่าๆกัน แต่ประมาณไวรัสนั้นลดลงเร็วกว่า ในกลุ่มผู้ที่ฉีดวัคซีนแล้ว  

ทั้งนี้ ผลการศึกษาของสหรัฐฯและสิงคโปร์เผยแพร่เมื่อวันสาร์ที่ผ่านมาในวารสาร medRxiv ก่อนที่จะมีการประเมินบทความวิชาการโดยผู้ประเมิน หรือ peer review

สายพันธุ์แลมบ์ดาแสดงการต่อต้านวัคซีน

นักวิจัยของญี่ปุ่นพบว่า สายพันธ์แลมบ์ดา ที่พบครั้งแรกในเปรูและตอนนี้ได้แพร่กระจายทั่วอเมริกาใต้นั้น มีอัตราการแพร่เชื้อสูงมาก และต่อต้านวัคซีนต่างๆมากกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิมที่พบในนครอู่ฮั่นของจีน

ในการทดลองทางห้องปฏิบัติการ พวกเขาพบว่า มีการกลายพันธุ์สามครั้งในหนามโปรตีนของโควิดแลมบ์ดา คือ RSYLTPGD246-253N, 260 L452Q และ F490S ซึ่งช่วยให้มันสามารถต่อต้านแอนติบอดีืที่สามารถลบล้างฤทธิ์ของเชื้อได้

นอกจากนี้ ยังพบการกลายพันธุ์อีกสองชนิดที่ชื่อว่า T76I และ L452Q ซึ่งช่วยให้โควิดแลมบ์สามารถแพร่เชื้อได้มากขึ้น

การศึกษาดังกล่าวเผยแพร่ในวารสาร bioRxiv ก่อนที่จะมีการประเมินบทความวิชาการโดยผู้ประเมิน โดยนักวิจัยเตือนว่า การที่องค์การอนามัยโลกจัดให้โควิดกลายพันธุ์แลมบ์ดาเป็นเพียง 

สายพันธุ์ที่น่าสนใจ มากกว่าจัดให้เป็น สายพันธุ์ที่น่ากังวล จะทำให้ผู้คนไม่ได้ตระหนักถึงภัยคุกคามร้ายแรงที่กำลังเกิดขึ้น แม้ว่าขณะนี้ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่าโควิดแลมบ์ดานั้นเป็นอันตรายมากกว่าโควิดเดลตาที่กำลังระบาดในหลายประเทศหรือไม่ แต่ เคอิ ซาโตะ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโตเกียวระบุว่า โควิดแลมบ์ดานั้นอาจเป็นภัยคุกคามต่อสังคมมนุษย์ได้เช่นกัน

วัคซีน mRNA เข็มที่สามอาจเพิ่มแค่ปริมาณ แต่ไม่ได้เพิ่มคุณภาพ

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยรอกกี้เฟลเลอร์ ระบุว่าใน bioRxiv ว่า ผู้ที่ได้รับวัคซีนครบสองเข็มแล้ว และได้รับวัคซีน mRNA ของ Pfizer/BioNTech หรือ Moderna กระตุ้นภูมิเป็นเข็มที่สาม นั้นอาจช่วยให้มีการกระตุ้นปริมาณของแอนติบอดี้ได้ แต่ไม่ได้เป็นแอนติบอดี้ที่ดีขึ้นในการลบล้างฤทธิ์ของเชื้อกลายพันธุ์ใหม่ๆ

มิเชล นุสเซ็นไวค์ ผู้เขียนวิจัยร่วมกล่าวว่า การศึกษาในกลุ่มอาสาสมัคร 32 คนที่ไม่เคยติดเชือ้โควิด-19 พบว่า แอนติบอดี้ที่ได้จากวัคซีนชนิด mRNA นั้นค่อยๆพัฒนาระหว่างเข็มที่หนึ่งและเข็มที่สอง แต่หลังจากไดรับเข็มที่สองไปห้าเดือน พวกเขาพบว่า แอนติบอดี้ที่ได้จากวัคซีนยังคงอยู่ในระดับเดียวกับที่เห็นในวัคซีนเข็มที่สอง โดยแอนติบอดี้นั้นมีศักยภาพในการลบล้างไวรัสสายพันธุ์ใหม่ๆได้ดีขึ้นเพียงเล็กน้อย ดังนั้นพวกเขาจึงมองว่า การให้วัคซีนชนิดเดียวกันเป็นเข็มที่สามนั้น จะทำให้ระดับของแอนติบอดี้เพิ่มสู่งขึ้นก็จริง แต่ศักยภาพในการต่อต้านสายพันธุ์ใหม่ๆยังคงลดลง 

อย่างไรก็ตาม นุสเซ็นไวค์พบว่า ในขณะนี้ วัคซีนยังคงสามารถช่วยปกป้องจากการติดเชื้อรุนแรงได้ แต่ "เราก็ควรเรียนรู้ว่า ประสิทธิภาพวัคซีนนั้นในที่สุดจะเจือจางลงในการป้องกันการติดเชื้อรุนแรง 

เพราะฉะนั้นการได้รับวัคซีนกระตุ้นภูมิชนิดใดก็ได้นั้นเหมาะสมดีแล้ว แต่การมีวัคซีนที่พัฒนาทันสถานการณ์เพื่อป้องกันไวรัสกลายพันธุ์ต่างๆแบบเฉพาะเจาะจงจะเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด"

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง