รีเซต

แหล่งปลูก 'กาแฟ' พิเศษในยูนนาน เพิ่มรายได้ชาวบ้านนับหมื่นครัวเรือน

แหล่งปลูก 'กาแฟ' พิเศษในยูนนาน เพิ่มรายได้ชาวบ้านนับหมื่นครัวเรือน
Xinhua
28 มีนาคม 2567 ( 21:01 )
25

(แฟ้มภาพซินหัว : จ้าวเหมย ผู้บริหารงานบ้านไร่ชาและกาแฟที่หมู่บ้านซิ่นกั่ง ตำบลฟู่เหยียน อำเภอปกครองตนเองเมิ่งเหลียน กลุ่มชาติพันธุ์ไต่ ลาฮู่ และหว่า เมืองผู่เอ่อร์ มณฑลอวิ๋นหนานทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ดูแลผลิตภัณฑ์กาแฟบนชั้นวาง วันที่ 19 มี.ค. 2024)

คุนหมิง, 28 มี.ค. (ซินหัว) -- "ชีวิตฉันตอนนี้ขาดกาแฟไม่ได้แล้วค่ะ" จ้าวเหมย หญิงสาวกลุ่มชาติพันธุ์หว่าเอ่ยพร้อมรอยยิ้ม โดยแม้เห็นพ่อแม่เพาะปลูกกาแฟมาตั้งแต่เด็ก แต่จ้าวเพิ่งลองลิ้มชิมรสชาติกาแฟครั้งแรกตอนอายุ 27 ปี และปัจจุบันเธอกลายเป็นเจ้าของโรงงานแปรรูปกาแฟชนิดพิเศษที่สร้างงานสร้างรายได้แก่ชาวบ้านท้องถิ่นบ้านเกิดของจ้าวอยู่ที่อำเภอปกครองตนเองเมิ่งเหลียน กลุ่มชาติพันธุ์ไต่ ลาฮู่ และหว่า ในเมืองผู่เอ่อร์ มณฑลอวิ๋นหนาน (ยูนนาน) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ซึ่งเป็นเมืองชายแดนขนาดเล็กที่มีสภาพภูมิอากาศเฉพาะตัวอันเหมาะสมกับการเป็นแหล่งผลิตกาแฟคุณภาพสูง ทว่าการพัฒนาผลิตภัณฑ์กาแฟชนิดพิเศษของที่นี่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา"แต่ก่อนกาแฟเป็นแค่พืชผลชนิดหนึ่งที่ชาวบ้านปลูกกันทั่วไป แต่ตอนนี้เมล็ดกาแฟกลายเป็นดังเม็ดทองคำที่เพิ่มรายได้ของชาวบ้าน" จ้าวกล่าว โดยจ้าวบริหารงาน "บ้านไร่ชาและกาแฟ" ที่หมู่บ้านซิ่นกั่งของตำบลฟู่เหยียน ซึ่งได้รับที่ดินเพาะปลูกในรูปแบบสหกรณ์วิชาชีพ ขนาด 2,000 หมู่ (ราว 833 ไร่) ครอบคลุมชาวบ้านกว่า 1,100 ครัวเรือนจ้าวยังจัดตั้งโรงงานแปรรูปกาแฟ ซึ่งสร้างผลผลิตในปี 2023 คิดเป็นมูลค่ามากกว่า 8 ล้านหยวน (ราว 40 ล้านบาท) ช่วยให้ชาวบ้านจำนวนหนึ่งมีงานทำมั่นคงด้วยรายได้เฉลี่ยราว 3,000 หยวน (ราว 15,000 บาท) ต่อเดือน รวมถึงเปิดร้านกาแฟที่มีเอกลักษณ์ในปีก่อนจนดึงดูดผู้คนมากมายมา "เช็กอิน" เพื่อพักผ่อนหย่อนใจทั้งนี้ อำเภอเมิ่งเหลียนคว้าโอกาสจากการเปลี่ยนผ่านและพัฒนาของอุตสาหกรรมกาแฟ อาศัยข้อได้เปรียบของการเป็นแหล่งผลิตกาแฟ และปรับตัวเชิงรุกตามความต้องการของตลาดใหม่และการบริโภครูปแบบใหม่ เพื่อส่งเสริมการเร่งพัฒนาอุตสาหกรรมกาแฟ และสร้างระบบการผลิตและแปรรูปกาแฟแบบครบวงจรในขั้นพื้นฐานในช่วงหลายปีมานี้เฉินตานฉี วัย 32 ปี จากมณฑลเจียงซูทางตะวันออกของจีน ได้เข้าร่วมอุตสาหกรรมกาแฟของอำเภอเมิ่งเหลียน โดยเขาสร้างศูนย์สาธิตและประสบการณ์ธุรกิจกาแฟที่หมู่บ้านหมางหมาง ซึ่งบูรณาการอุตสาหกรรม การศึกษา และการวิจัย ที่มุ่งคัดเลือกและเพาะปลูกกาแฟสายพันธุ์ที่เหมาะสมกับอำเภอเมิ่งเหลียนจนนำสู่การปลูกกาแฟพันธุ์ดีมากกว่า 20 สายพันธุ์ปัจจุบันอำเภอเมิ่งเหลียนมีพื้นที่เพาะปลูกกาแฟสูงถึง 110,600 หมู่ (ราว 4.6 หมื่นไร่) ครอบคลุม 6 ตำบลท้องถิ่น ช่วยเพิ่มรายได้ของชาวบ้านมากกว่า 16,000 ครัวเรือน หรือราว 61,000 คน โดยแต่ละครัวเรือนมีรายได้เฉลี่ยต่อปีมากกว่า 20,000 หยวน (ราว 1 แสนบาท) รวมถึงสร้างงานแก่ชาวบ้านท้องถิ่นและพื้นที่ใกล้เคียงมากกว่า 3,000 อัตราต่อปี

(แฟ้มภาพซินหัว : เฉินตานฉี (คนแรกจากซ้าย) ผู้ดูแลบ้านไร่กาแฟที่หมู่บ้านหมางหมาง อำเภอเมิ่งเหลียน มณฑลอวิ๋นหนานทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน พูดคุยกับนักท่องเที่ยว วันที่ 19 มี.ค. 2024) (แฟ้มภาพซินหัว : ผลกาแฟสดของบ้านไร่กาแฟที่อำเภอเมิ่งเหลียน มณฑลอวิ๋นหนานทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน วันที่ 20 มี.ค. 2024)

ข่าวที่เกี่ยวข้อง