เช็กการทำงานของเรา! ข้อดีและข้อเสียของการทำงานหนัก
จากผลสำรวจชี้ "กรุงเทพฯ" ติดอันดับ 3 เมืองที่ผู้คนเมืองทำงานหนัก และขาดสมดุลในการใช้ชีวิตมากที่สุดในโลก ขณะที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ชี้การทำงานล่วงเวลานำไปสู่การเสียชีวิตก่อนวัยอันควร โดยมีตัวเลขผู้เสียชีวิต 7 หมื่นรายต่อปี วันนี้ treuID จะชี้ให้เห็นของข้อดี และข้อเสียของการทำงานหนักให้ทุกท่านได้รับทราบกัน
เมื่อไม่นานมานี้ มีผลสำรวจของ Kisi บริษัทเทคโนโลยีให้คำปรึกษาด้านการทำงาน ที่ได้ทำผลสำรวจทั่วโลกในหัวข้อ “Cities with the Best Work-Life Balance 2021” เพื่อค้นหาว่าเมืองไหนในโลกที่มีการทำงานที่สมดุลที่สุดแห่งปี 2021 และอีกหัวข้อคือ " Cities with the Overworked 2021” หรือเมืองที่มีประชากรที่มีชั่วโมงการ "ทำงาน" ที่ยาวนาน และชีวิตไลฟ์สไตล์ขาดความสมดุลมากที่สุด โดยผลสำรวจเมืองที่มีชั่วโมงการทำงานที่ยาวนาน และชีวิตคนในเมืองขาดความสมดุลมากที่สุดในโลก พบว่า กรุงเทพฯ เมืองหลวงของไทยติดอันดับ 3 ของผลสำรวจชุดนี้ด้วย ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่น่าวิตกของวัยทำงานชาวกรุง
สำหรับ 5 อันดับเมืองที่เมืองที่มีชั่วโมงการทำงานที่ยาวนานและชีวิตคนในเมือง ขาดความสมดุลมากที่สุดในโลก มีดังนี้
- อันดับ1 ฮ่องกง : ประเทศจีน
- อันดับ2 สิงคโปร์ : ประเทศสิงโปร์
- อันดับ3 กรุงเทพ : ประเทศไทย
- อันดับ4 บัวโนสไอเรส :ประเทศอาร์เจนตินา
- อันดับ5 โซล : ประเทศเกาหลีใต้
การทำงานหนักหมายถึงอะไร?
พูดถึงการทำงานหนักในที่นี้ไม่ได้หมายความว่า การทำงานแบกหาม หรือใช้แรงงาน แต่หมายถึงการทำงานออฟฟิศของมนุษย์เงินเดือนแบบเรา ๆ
คุณทำงานหนักไปหรือเปล่า และจะเกิดผลเสียอะไรตามมาบ้าง ตามหลักแล้ว คนเราไม่ควรทำงานเกิน 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ แต่หลายคน ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าตนเองยังคงต้องทำงานทั้ง ๆ ที่อยู่นอกเวลางาน วันหยุดเสาร์-อาทิตย์ วันหยุดนักขัตฤกษ์ รวมถึงวันหยุดพักผ่อนประจำปีด้วย เอ..แล้วใครกันนะ ที่ทำงานหนักขนาดนั้น ใช่คุณหรือเปล่าที่มีพฤติกรรมแบบนี้
- เอางานกลับมาทำที่บ้าน
- อยู่บ้านก็ต้องเช็กอีเมลเรื่องงานเป็นประจำ
- คิดว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะปิดโทรศัพท์ ต้องสแตนด์บายตลอดเวลา หากมีงานด่วนเข้ามา
- ต้องพกโทรศัพท์มือถือของบริษัท เพื่อสะดวกในการติดต่อเรื่องงาน ได้ตลอดเวลา
- ต้องเกาะติด เพื่อเป็นคนแรกที่รู้ข่าวสารเกี่ยวข้องกับงานก่อนคนอื่นเสมอ
- คิดว่าเพราะมีสมาร์ทโฟนทำให้เข้าถึงข้อมูลการทำงานได้ง่าย สามารถ ทำงาน ที่ไหน เมื่อไรก็ได้
พฤติกรรมเหล่านี้เองที่บ่งบอกว่าคุณทำงานหนักเกินไป ซึ่งการไม่ปล่อย วางเรื่องงานอาจทำให้คุณเหนื่อยเกินไป หมดพลัง ขาดแรงจูงใจ และส่งผล ให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง โดยพบว่า ผู้ที่ทำงานล่วงเวลามักมีอาการ ปวดหัว เหนื่อย หงุดหงิดง่าย นอนไม่หลับ และอาจเกิดโรคต่าง ๆ จากการ ทำงานได้ด้วย นอกจากส่งผลต่อร่างกายและจิตใจแล้ว ยังอาจเกิดปัญหา ครอบครัวตามมาอีกด้วย ปัจจุบันพบว่า อัตราการหย่าร้างจากการที่ฝ่ายหนึ่ง ให้ความสำคัญกับงานมากจนไม่สนใจที่จะพักผ่อนหรือใช้เวลาร่วมกับ ครอบครัว มีเพิ่มขึ้น
หากทำงาน นอกเวลางานหรือในวันหยุดเป็นประจำจะทำให้คุณเสพติดการทำงาน และยิ่งคุณได้รับคำชมหรือการยกย่องเชิดชูจากการอุทิศตนทำงานหนักเช่นนั้น ยิ่งทำให้คุณเกิดทัศนคติว่า หากคุณหยุดทำงานนอกเวลาเมื่อไร คุณก็จะไม่มีคุณค่า ดังนั้นสมองคุณก็จะสั่งให้คุณทำงาน ทำงาน และทำงานตลอดเวลา
เมื่อทำงาน มากเกินไป สมองก็ล้า คนทำงานจึงมักหาสิ่งกระตุ้น เช่น กาแฟ เครื่องดื่มบำรุงกำลัง ของหวานต่าง ๆ ในขณะที่ไม่ได้รับประทานอาหารมีประโยชน์ที่ร่างกายต้องการอย่างแท้จริง หากปล่อยไปนานเข้า กลไกภายในร่างกายก็จะค่อย ๆ เสื่อมประสิทธิภาพ ทำให้อ่อนแอ เจ็บป่วยได้ง่าย และเกิดโรคต่าง ๆ ตามมา
ทางออกของ ปัญหานี้อยู่ที่การบริหารจัดการเวลาให้ดี จัดลำดับความสำคัญงานที่ต้องทำให้เสร็จภายในเวลางานแต่ละวัน เมื่อเลิกงานควรกลับบ้านและพักผ่อนจนถึงเช้า โดยไม่ต้องคิดกังวลเรื่องงานอีก ในวันหยุดพักผ่อน ควรเป็นเวลาของการพักผ่อนอย่างแท้จริงเพื่อเติมพลังให้ชีวิตของคุณ สามารถกลับมาทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และมีแรงจูงใจในการทำงานต่อไป
ข้อดีของการทำงานหนัก
1. มีโอกาสก้าวหน้าในสายงานนั้นๆ
ด้วยความสามารถที่คุณมีอยู่และแสดงออกมาทางชิ้นงานของคุณ คุณก็สามารถไปเติบโตในบริษัทอื่นได้อีกมากมายนับไม่ถ้วน
2. มีความอดทนขึ้นอีกหลายร้อยเท่า
การทำงานกับคนหมู่มาก เป็นไปไม่ได้เลยที่คุณจะไม่ถูกนินทาว่าร้าย โดนใส่สีตีไข่ซะเกินจริง แต่เรื่องแย่ๆแบบนี้ที่ทำให้คุณแกร่งขึ้นโดยไม่รู้ตัว และสามารถผ่านประสบการณ์แย่ๆ ทุกรูปแบบที่เกิดขึ้นไปได้
3. มีส่วนในการพัฒนาชาติ
รายได้ของมนุษย์เงินเดือนนั้นไม่สามารถปกปิดหรือหลบซ่อนที่มาของรายได้ในแต่ละเดือนได้ ดังนั้นกรมสรรพากรจึงไม่จำเป็นที่ต้องใช้ความพยายามใดๆ ที่จะตรวจสอบและสามารถจัดเก็บภาษีจากเราได้ทุกบาททุกสตางค์ ซึ่งถ้าพูดมนุษย์เงินเดือนแบบเราๆ ล้วนแต่เป็นส่วนสำคัญในการโอบอุ้มโครงการทั้งหลายของรัฐบาล
4. ได้พบปะและสนิทชิดเชื้อกับผู้คนหลากหลาย
ในการทำงานเรามีโอกาสได้พบปะกับเพื่อนๆต่างแผนก ซึ่งต่างมีความรู้ความสามารถที่แตกต่างกันไป ซึ่งคนเหล่านี้ที่จะเป็นเครือข่ายที่จะช่วยผลักดันเราได้ในวันข้างหน้า เป็นที่ปรึกษาหรือทีมงานที่ดีให้กับคุณได้
ข้อเสียของการทำงานหนัก
1. ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพ
การทำงานเป็นการใช้งานร่างกาย ไม่ว่าจากการใช้งานสมองหรือกล้ามเนื้อต่าง ๆ ซึ่งยิ่งทำมาก ร่างกายก็จะมีภูมิต้านทานต่ำลงตามทิศทางเดียวกัน ทำให้ป่วยง่ายและสุขภาพเสีย ตัวอย่างง่าย ๆ เช่น Office Syndrome ทั้งหลาย ที่ส่งผลกับข้อมือ หลัง คอ และจะส่งผลมากขึ้นเรื่อย ๆ ในระยะยาว
2. ทำให้อ้วนได้ง่าย
การศึกษาในออสเตรเลียพบว่า การนั่งเป็นเวลานานติดต่อกันวันละหลายชั่วโมง และเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้อ้วนง่าย แถมยิ่งทำงานหนักก็ยิ่งทำให้หิวมาก พอหิวมากก็ยิ่งอยากกินเยอะ ปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ก็จะตามมา เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด
3. มีผลต่อสุขภาพจิต
การทำงานย่อมมีปัญหาและอุปสรรค ไม่มากก็น้อย เพราะเป็นการแบกรับความรับผิดชอบในภาระงาน ซึ่งสามารถส่งผลกระทบให้เกิดความเครียด อารมณ์แปรปรวน อาการปวดหัว อ่อนล้า ดังนั้นการทำงานมากเกินไปรังแต่ให้ประสิทธิภาพงานลดลงเสียมากกว่า
4. ส่งผลต่อความสัมพันธ์
มีการศึกษาค้นพบว่าผู้หญิงกว่า 61% ที่ทำงานภายใต้ความเครียดและความกดดัน จะส่งผลลบต่อความสัมพันธ์นอกออฟฟิศ เช่นเดียวกับฝ่ายชายที่มีอัตราความเครียดจะทำลายความสัมพันธ์นอกออฟฟิศสูงถึง 79%
5. ทำให้ลืมเป้าหมายสำคัญของชีวิต
งานวิจัยของมหาวิทยาลัย Illinois พบว่า คนที่ทำงานหักโหมเป็นเวลานาน จะสูญเสียทักษะการมองเห็นภาพรวม และมีประสิทธิภาพการทำงานแย่ลง เพราะถูกดูดกลืนไปกับเนื้องานจนมองข้ามปัจจัยที่สนับสนุนความสำเร็จอื่นๆ นำไปสู่การตัดสินใจที่ผิดพลาด และลืมเป้าหมายที่แท้จริงของตัวเองไป
ข้อมูล: jobsdb , jobbkk , salaryinvestor
รูปภาพโดย ฟอร์ม PxHere