รีเซต

คำศัพท์ประกันภัย สำหรับคนทำประกันวินาศภัย ต้องรู้

คำศัพท์ประกันภัย สำหรับคนทำประกันวินาศภัย ต้องรู้
Ingonn
26 กันยายน 2565 ( 11:46 )
511
คำศัพท์ประกันภัย สำหรับคนทำประกันวินาศภัย ต้องรู้

ข่าววันนี้ การทำประกัน ไม่ว่าจะเป็น "ประกันสุขภาพ" "ประกันอัคคีภัย" "ประกันน้ำท่วม" หรือ "ประกันภัยรถยนต์" ทุกประกันเหล่านี้เรียกว่า "ประกันวินาศภัย" ซึ่งขั้นตอนการทำประกันต่างๆ จะมีคำศัพท์เฉพาะที่ใช้เรียก 

 

คำศัพท์ประกันภัย สำหรับคนทำประกันวินาศภัย ต้องรู้

โดยเราจะต้องอ่านก่อนเซํนสัญญาทุกครั้ง หากใครที่กำลังจะทำประกัน หรือไม่เข้าใจคำศัพท์ประกันตัวไหน วันนี้ TrueID มีคำตอบมาให้

ประกันวินาศภัย คืออะไร

ประกันวินาศภัย ​​​​​​​​​​​​​​​คือ การที่ผู้รับประกันภัยตกลงจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนหากเกิดความสูญเสียหรือเสียหายต่อทรัพย์สินที่ได้เอาประกันภัยไว้ ซึ่งความเสียหายนั้นสามารถประเมินมูลค่าหรือกำหนดเป็นวงเงินได้ เช่น บ้าน รถยนต์ โดยผู้เอาประกันภัยต้องชำระเบี้ยประกันภัย


ประเภทของการประกันวินาศภัย ได้แก่ การประกันอัคคีภัย (Fire Insurance) , การประกันภัยรถยนต์ (Motor Insurance) , การประกันภัยทางทะเล (Marine Insurance) รวมถึง การประกันภัยเบ็ดเตล็ด (Miscellaneous Insurance)

 

คำศัพท์เกี่ยวกับ "ประกันวินาศภัย"

 

การบาดเจ็บโดยอุบัติเหตุ
(ACCIDENT BODILY INJURY)
การบาดเจ็บทางร่างกายที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุ​
​การประกันภัยอุบัติเหตุ
​(ACCIDENT INSURANCE)

​(1) การประกันภัยบุคคล ทรัพย์สิน หรือความรับผิดต่อบุคคลภายนอกต่อการบาดเจ็บ สูญเสีย หรือเสียหายที่เกิดขึ้น นอกเหนือจากการประกันชีวิต การประกันอัคคีภัย หรือการประกันทางทะเล


(2) การประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล (personal accident insurance)

​การประกันอัคคีภัย
(FIRE INSURANCE)
การประกันภัยที่คุ้มครองความเสียหายจากไฟ และยังอาจให้ความคุ้มครองถึงความเสียหายจากภัยอื่น ๆ ด้วยก็ได้ เช่น ความเสียหายจากพายุ การระเบิด
การประกันภัยธุรกิจหยุดชะงักเนื่องจากอัคคีภัย
​(FIRE INTERRUPTION INSURANCE)
​การประกันภัยที่คุ้มครองถึงความเสียหายทางการเงินอันเป็นผลต่อเนื่องจากความเสียหายจากไฟ หรือภัยอื่น ๆ ที่ได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันอัคคีภัย
​การประกันภัยน้ำท่วม
​(FLOOD INSURANCE)
การประกันภัยที่คุ้มครองความเสียหายที่เกิดจากน้ำท่วมหรืออุทกภัย
การประกันภัยค่าระวาง
​(FREIGHT INSURANCE)
​การประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองเสียหายที่เกิดจากการไม่ได้รับเงินค่าขนส่งสินค้าเนื่องจากเกิดความเสียหายกับยานพาหนะที่ใช้ขนส่งสินค้านั้น
กรมธรรม์เบ็ดเสร็จ
(BLOCK POLICY)
กรมธรรม์ประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองทรัพย์สินต่าง ๆ ของผู้เอาประกันภัย และอาจให้ความคุ้มครองถึงทรัพย์สินของบุคคลอื่นที่ผู้เอาประกันภัยครอบครอง เช่น สินค้าฝากขายหรือเพื่อการซ่อมแซม โดยทั่วไปจะให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทั้งที่อยู่ในและนอกสถานที่ของผู้เอาประกันภัย กรมธรรม์ประเภทนี้ให้ความคุ้มครองความเสียหายจากภัยเกือบทุกประเภทรวมทั้งภัยจากการขนส่งด้วย
การค้ำประกัน​กรมธรรม์ค้ำประกัน
(BOND)

(1) การสัญญาว่าจะจ่ายค่าทดแทนหรือค่าปรับ ในกรณีที่บุคคลที่ได้ค้ำประกันไว้ตามกรมธรรม์ค้ำประกันไม่สามารถปฏิบัติตามข้อผูกพันได้


(2) หนังสือสัญญาที่บริษัทประกันภัยออกให้เพื่อค้ำประกันบุคคล

การยกเลิกกรมธรรม์
(CANCELLATION)
การสิ้นสุดของกรมธรรม์โดยการบอกเลิก
​การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน,
ค่าสินไหมทดแทน (CLAIM)

​(1) การเรียกร้องของผู้เอาประกันภัยที่จะให้มีการชดใช้ค่าเสียหายตามสัญญาประกันภัย ​หรือสัญญาค้ำประกัน


(2) จำนวนเงินค่าเสียหายที่แท้จริงหรือโดยประมาณ

การชน
(COLLISION)
การปะทะของวัตถุ 2 สิ่ง ในกรมธรรม์ประกันภัยตัวเรือที่มีความคุ้มครองความรับผิด​ต่อบุคคลภายนอก การชนหมายถึงการที่เรือ 2 ลำชนกันหรือโดนกันเท่านั้น ส่วนการที่เรือชนกับวัตถุที่อยู่คงที่ เช่น สะพานที่ยื่นลงไปในทะเล ท่าเรือ ทุ่นลอยที่ผูกไว้ ข้อกำหนดการชนจะไม่คุ้มครอง
​การเกยตื้นที่แหล่งประจำ
​(CUSTOMARY STRANDINGS)
ในกรมธรรม์ประกันภัยตัวเรือ ผู้รับประกันภัยจะเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบท้องเรือในกรณีที่เรือเกยตื้นหรือติดตื้น ถึงแม้ว่าการเกยตื้นหรือติดตื้นนั้นจะไม่ทำให้เกิดความเสียหายใด ๆ ก็ตาม ยกเว้นกรณีที่เกยตื้นหรือติดตื้นในบางเขตที่ มักจะมีการเกยตื้นหรือติดตื้นอยู่เป็นประจำ
​การประกันภัยรถจักรยาน
​(CYCLE INSURANCE)
​การประกันภัยรถจักรยานที่ให้ความคุ้มครองภัยต่าง ๆ ได้แก่ ความเสียหายจากอุบัติเหตุอัคคีภัย โจรกรรม และความรับผิดต่อบุคคลภายนอก
การประกันภัยแผ่นดินไหว
(EARTHQUAKE INSURANCE)
​การประกันภัยความเสียหายที่เกิดจากแผ่นดินไหว โดยทั่วไปเป็นข้อยกเว้นไม่คุ้มครองในกรมธรรม์ประกันอัคคีภัย แต่อาจจะซื้อความคุ้มครองเพิ่มเติม หรือซื้อกรมธรรม์ประกันภัยแผ่นดินไหวโดยเฉพาะก็ได้
การประกันภัยสินค้าระหว่างขนส่ง
(GOODS-IN-TRANSIT INSURANCE)
​การประกันภัยสินค้าที่อยู่ระหว่างการขนส่งทั้งในประเทศและระหว่างประเทศที่นอกเหนือจากการขนส่งโดยทางทะเลเพียงอย่างเดียว การประกันภัยนี้อาจจะให้ความคุ้มครองตัวสินค้าหรือความรับผิดชอบของผู้รับขนส่งสินค้า
​การประกันภัยสำหรับผู้อยู่อาศัย
(HOUSEHOLDERS' INSURANCE)
การประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองผู้อยู่อาศัยสำหรับภัยหลายชนิดรวมกัน ได้แก่ อัคคีภัย ภัยจากโจรกรรม และภัยอื่น ๆ ที่จะเกิดแก่ทรัพย์สิน ตลอดจนความรับผิดชอบของผู้อยู่อาศัยในฐานะผู้เช่า
การประกันภัยสำหรับเจ้าของบ้าน
(HOUSEOWNERS' INSURACNE)
การประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองเจ้าของบ้านสำหรับภัยหลายชนิดรวมกัน ได้แก่ อัคคีภัยและภัยอื่น ๆ ที่จะเกิดแก่อาคารตลอดจนความรับผิดของเจ้าของบ้านที่มีต่อบุคคลภายนอก
​การประกันชีวิตเพื่อซื้อบ้าน
​(HOUSE PURCHASE ASSURANCE)
การประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์แบบหนึ่ง ซึ่งมีเงื่อนไขจะจ่ายเงินไถ่ถอนการจำนองครบกำหนด หรือเมื่อผู้เอาประกันภัยถึงแก่กรรมระหว่างนั้น
การประกันภัยตัวเรือ
​(HULL INSURANCE)
​การประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองความเสียหายต่อตัวเรือ ไม่ว่าจะเป็นเรือเดินทะเลหรือเรือที่เดินในน่านน้ำ โฮเวอร์คราฟต์ เครื่องบิน รวมทั้งเครื่องจักร และเครื่องใช้ในเรือ โดยทั่วไปการประกันภัยตัวเรือทางทะเลนั้น ผู้รับประกันภัยจะชดใช้ค่าเสียหายให้สำหรับความรับผิดจากการชนกันด้วย โดยชดใช้ให้ 3 ใน 4 ของความรับผิดที่เกิดขึ้น
​การโยนทิ้งทะเล
(JITTISON)
​การโยนสินค้าหรือสิ่งของใด ๆ บนเรือทิ้งลงไปในทะเล โดยเจตนาเพื่อให้การเดินเรือปลอดภัย ผู้ที่มีส่วนได้เสียในการเดินทางครั้งนี้จะต้องร่วมกันเฉลี่ยความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระทำดังกล่าว
การสำรวจตัวเรือร่วมกัน
​(JOINT HULL SURVEY)
การสำรวจตัวเรือที่ผู้สำรวจความเสียหายของผู้เอาประกันภัยและของผู้รับประกันภัยทำร่วมกัน
​การเสียรายได้จากการรับจ้าง
​(LOSS OF ENGAGEMENT)
ในกรณีที่เรือเสียหายเนื่องจากภัยที่เอาประกันภัย เช่น การชน แล้วมีผลทำให้เจ้าของเรือต้องสูญเสียรายได้ไป ความสูญเสียนี้อาจจะเอาประกันภัยได้
​การประกันภัยความเสียประโยชน์การใช้
(LOSS OF USE INSURANCE)
การประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองถึงความสูญเสียการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินที่เอาประกันภัยไว้ เช่น รถยนต์ ถ้าเกิดเสียหายขึ้นก็จะขาดการใช้ประโยชน์ไป หรือต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเช่ารถมาใช้ประโยชน์ ดังนั้น ผู้รับประกันภัยจะต้องชดใช้ค่าเสียหายหรือเงินค่าเช่ารถที่ต้องเสียไป
การรับประกันภัยตัวเรือ
​(MARINE HULL INSURANCE)
​การประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองความเสียหายที่เกิดจากตัวเรือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ของเรือ และอาจให้ความคุ้มครองถึงความรับผิดบางกรณี
การประกันภัยทางทะเล
​(MARINE INSURANCE)
การประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองความเสียหายต่อตัวเรือ สินค้า รวมทั้งแท่นขุดเจาะน้ำมันกลางทะเล
​การประกันภัยจักรยานยนต์
​(MOTOR CYCLE INSURANCE)
การประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองความสูญเสียหรือเสียหายที่เกิดจากอุบัติเหตุแก่รถจักรยานยนต์ โดยทั่วไปจะให้ความคุ้มครองความเสียหายต่อตัวรถ ผู้โดยสาร ชีวิต ร่างกายและทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
การประกันภัยรถยนต์
​(MOTOR INSURANCE) 
การประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองความสูญเสียหรือเสียหายที่เกิดจากอุบัติเหตุรถยนต์ โดยทั่วไปจะให้ความคุ้มครองความเสียหายต่อตัวรถผู้โดยสาร ชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของบุคคลภายนอก​
การก่อวินาศกรรม
(SABOTAGE)
การกระทำที่มุ่งประสงค์ร้ายเพื่อที่จะขัดขวางการดำเนินการทางการค้าและการบริการตามปรกติวิสัยหรือหน่วงเหนี่ยวการติดต่อสื่อสาร การกระทำดังกล่าวจะต้องมิใช่การกระทำของผู้เอาประกันภัย
​การประกันภัยต่ำกว่ามูลค่า
​(UNDER-INSURANCE)
การประกันภัยซึ่งมีเงินเอาประกันภัยน้อยกว่ามูลค่าที่แท้จริงของทรัพย์สินนั้น ผลของการประกันภัยต่ำกว่ามูลค่าจะทำให้ผู้เอาประกันภัยได้รับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนต่ำกว่าวินาศภัยที่เกิดขึ้นจริง​
ข้อกำหนดการเบี่ยงเส้นทางเนื่องจากน้ำแข็ง
​(ICE DEVIATION CLAUSE)
​ข้อกำหนดในกรมธรรม์ประกันภัยสินค้าทางทะเลที่ยินยอมให้เรือเปลี่ยนเส้นทางไปจากเดิมได้ เพื่อขนส่งสินค้าลงท่าเรือที่ใกล้ที่สุด ถ้าไม่สามารถไปท่าเรือปลายทางได้เนื่องจากมีน้ำแข็ง
ข้อกำหนดการเปลี่ยนแปลงเส้นทาง
(CHANGE OF VOYAGE CLAUSE)
​ข้อกำหนดในกรมธรรม์ประกันภัยสินค้าทางทะเลซึ่งระบุว่า หากมีการเปลี่ยนแปลงเส้นทางเดินเรือหรือมีข้อผิดพลาดในรายละเอียดในการแจ้งส่วนได้เสีย หรือรายละเอียดเกี่ยวกับเรือหรือเส้นทางการเดินเรือแล้ว ถือว่ากรมธรรม์นั้นยังให้ความคุ้มครอง โดยจะมีการปรับจำนวนเบี้ยประกันภัยภายหลังให้ตรงตามสภาพที่เปลี่ยนแปลงไป
ข้อกำหนดการชน
(COLLISION CLAUSE)
ข้อกำหนดในกรมธรรม์ประกันภัยตัวเรือที่ให้ความคุ้มครองความรับผิดของเจ้าของเรือที่มีต่อบุคคลภายนอกในกรณีที่เรือชนกัน ส่วนมากผู้รับประกันภัยจะให้ความคุ้มครองเพียง 3 ใน 4 ส่วนของความรับผิด และเจ้าของเรือผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดส่วนที่เหลือ
ข้อกำหนดการยกเลิกกรมธรรม์
(CANCELLATION CLAUSE)
ข้อกำหนดในกรมธรรม์ว่าด้วยการบอกเลิกสัญญา
​ข้อกำหนดความรับผิดสองฝ่าย
(BOTH TO BLAME COLLISION CLAUSE)
​ในสัญญาการขนส่งสินค้าทางทะเล ข้อกำหนดความรับผิดสองฝ่ายระบุว่า ในกรณีที่เรือชนกันและเป็นความผิดของทั้ง 2 ฝ่าย เจ้าของเรือมีสิทธิ์ที่จะเรียกร้องให้เจ้าของสินค้าร่วมชดใช้ในความรับผิดของเจ้าของเรือด้วย ฉะนั้นในกรมธรรม์ประกันภัยสินค้าทางทะเลที่มีข้อกำหนดความรับผิดสองฝ่าย ผู้รับประกันภัยก็จะจ่ายค่าสินไหมทดแทนในกรณีนี้ให้แก่เจ้าของสินค้า
เขตแผ่นดินไหว
​(EARTHQUAKE ZONE)

(1) พื้นที่ที่มักเกิดแผ่นดินไหว


(2) เขตต่าง ๆ ภายในประเทศที่มักเกิดแผ่นดินไหวเป็นประจำ ซึ่งแบ่งโดยผู้รับประกันภัยเพื่อวัตถุประสงค์ในการพิจารณากำหนดอัตราเบี้ยประกันภัย และเพื่อกำหนดขอบเขตและเงื่อนไขในการรับเสี่ยงมหันตภัย

ข้อกำหนดว่าด้วยไฟฟ้า
​(ELECTRICAL CLAUSE)
ข้อกำหนดในกรมธรรม์ประกันอัคคีภัย ให้ยกเว้นความคุ้มครองสำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นกับเครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้า พร้อมทั้งเครื่องมือเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ เนื่องจากกระแสไฟฟ้าผิดปรกติ และรวมทั้งการเกิดความร้อนในตัวเครื่องไฟฟ้าเอง
​ความเสียหาย,การเฉลี่ยค่าเสียหาย
(AVERAGE)

(1) ความเสียหายในการประกันภัยทางทะเล หมายถึง ความสูญเสียหรือความเสียหาย


(2) การเฉลี่ยค่าเสียหายในการประกันภัยทรัพย์สินที่มิใช่การประกันภัยทางทะเล หมายถึง การเฉลี่ยความรับผิดระหว่างผู้รับประกันภัยกับผู้เอาประกันภัยกล่าวคือ ในกรณีที่มีการเอาประกันภัยต่ำกว่ามูลค่า จำนวนเงินที่ชดใช้ค่าเสียหายจะลดลงตามส่วน เช่น ถ้าจำนวนเงินเอาประกันภัยต่ำกว่ามูลค่าทรัพย์สินร้อยละ 30 จำนวนเงินที่ชดใช้ค่าเสียหายก็จะน้อยลงจากค่าเสียหายจริงร้อยละ 30​​

ค่าเสียหาย
(DAMAGES)
จำนวนเงินที่ศาลตัดสินให้เป็นค่าทดแทนสำหรับความเสียหาย การสูญเสีย หรือการบาดเจ็บ
​ความเสียหายจากการกระแทก
(CONTRACT DAMAGE)
ในการประกันภัยทางทะเล หมายถึงความเสียหายที่เกิดจากเรือหรือพาหนะขนส่งทางน้ำกระแทกกับวัตถุภายนอก ที่นอกเหนือจากน้ำและเรือลำอื่น ความเสียหายที่เกิดจากการกระแทกกับเรือลำอื่น เรียกว่า การชน
ความเสียหายจากไฟเพราะแผ่นดินไหว
(EARTHQUAKE FIRE DAMAGE)
​ความเสียหายจากไฟอันเป็นผลจากหรือสืบเนื่องจากแผ่นดินไหว
ความเสียหายจากการสั่นสะเทือนเพราะแผ่นดินไหว
​(EARTHQUAKE SHOCK DAMAGE)
ความเสียหายที่เกิดจากการสั่นสะเทือนเนื่องจากแผ่นดินไหว ซึ่งต่างจากความเสียหายจากไฟเพราะแผ่นดินไหว
ความสิ้นสภาพ
(LOSS OF SPECIE)
ทรัพย์สินที่เอาประกันภัยซึ่งได้เกิดความเสียหายจนไม่อยู่ในสภาพที่จะใช้งานได้อีกต่อไป เช่น รถจักรยายยนต์ที่ถูกชนอย่างหนัก หรือเสื้อผ้าที่ถูกเผาเป็นขี้เถ้า
จำนวนเงินเอาประกัน
(FACE AMOUNT)
จำนวนเงินที่ระบุในกรมธรรม์ ซึ่งผู้รับประกันภัยสัญญาจะชดใช้ให้ผู้เอาประกันภัย หรือผู้รับประโยชน์ตามเงื่อนไขในกรมธรรม์​
ตัวแทนจัดการความเสียหาย
​(AVERAGE AGENT)
​บุคคลผู้ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ประเมินค่าเสียหายของสินค้า สำรวจและดูแลจัดการสินค้าที่ได้รับความเสียหาย
ทรัพย์สินสละทิ้ง
(MADE GOOD)​
ในกรณีที่เกิดเหตุอันตรายต่อการเดินเรือซึ่งจำเป็นที่จะต้องสละสินค้าบางส่วนที่บรรทุกอยู่ในเรือหรือชิ้นส่วนของเรือบางชิ้น เช่น การโยนสินค้าลงทะเล เพื่อให้เรือเดินทางต่อไปได้โดยปลอดภัย ซึ่งผู้เป็นเจ้าของเรือหรือเจ้าของสินค้าจะได้รับการชดใช้ค่าเสียหายสำหรับสินค้าหรือชิ้นส่วนของเรือที่ได้สละไป
น้ำค้างแข็ง
(FROST)
ในการประกันภัยทางทะเล ความเสียหายที่เกิดจากน้ำค้างแข็งไม่ถือว่าเป็นภัยทางทะเล
เบี้ยประกันภัยขั้นต่ำ
​(MINIMUM PREMIUM)
จำนวนเบี้ยประกันภัยต่ำสุดต่อกรมธรรม์ที่ผู้รับประกันภัยกำหนดไว้สำหรับการประกันภัยบางประเภท เพื่อให้พอเพียงกับค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
​ผู้รับประกันภัย
(INSURER)
​คู่สัญญาฝ่ายที่จะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือจำนวนเงินเอาประกันให้แก่ผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์เมื่อมีเหตุการณ์ตามที่ระบุไว้ในสัญญาเกิดขึ้น
​ผู้เจรจาตกลงวินาศภัยทางทะเล
(AVERAGE ADJUSTER)
บุคคลผู้ซึ่งประเมินและจัดสัดส่วนความเสียหายในการประกันภัยทางทะเลโดยเฉพาะในกรณีที่เป็นความเสียหายร่วม​
​ผลประโยชน์ในการประกันภัย
(BENEFIT OF INSURANCE)
ผลประโยชน์ที่ได้จากการประกันภัย
ผลประโยชน์ซากทรัพย์
(BENEFIT OF SALVAGE)
ตามสัญญาการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ผู้รับประกันภัยที่เป็นผู้จ่ายค่าทรัพย์สินที่เสียหายหรือทรัพย์สินที่ถูกทำลายเต็มตามมูลค่าของทรัพย์สินจะเป็นผู้มีสิทธิ์ในซากทรัพย์ที่เหลือ​
​ผู้รับประโยชน์
(BENEFICIARY)
​ผู้มีสิทธิ์ได้รับผลประโยชน์ตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย
ผลประโยชน์ตามสัดส่วน
(PROPORTIONATE BENEFITS)​
ในการประกันสุขภาพแบบถาวรจะมีข้อกำหนดว่า ในกรณีผู้เอาประกันภัยเกิดทุพพลภาพสิ้นเชิงแต่สามารถประกอบอาชีพอื่นที่มีรายได้ ถ้ารายได้จากอาชีพใหม่น้อยกว่าอาชีพเดิมที่เคยได้รับ ผู้รับประกันภัยจะชดเชยให้ตามสัดส่วนของรายได้ที่ขาดไป เมื่อเปรียบเทียบกับรายได้เฉลี่ยก่อนเกิดทุพพลภาพ
ภัยขณะลำเลียง
(CRAFT RISKS)
ภัยที่เกิดขึ้นในขณะที่สินค้ากำลังอยู่ในระหว่างการลำเลียงหรือขนถ่ายโดยเรือลำเลียง​​
​ภัยเนื่องจากเครื่องบิน
(AIRCRAFT DEVICES,AERIAL DEVICES)
ความเสียหายของทรัพย์สินภาคพื้นดินที่เกิดจากเครื่องบินหรืออุปกรณ์เครื่องบิน หรือชิ้นส่วนที่ตกลงมาจากเครื่องบิน (ยกเว้นความเสียหายที่เกิดจากเสียงดังของเครื่องบิน) เป็นภัยเพิ่มซึ่งสามารถซื้อความคุ้มครองได้ตามกรมธรรม์ประกันอัคคีภัย
ภัยการระเบิด
(EXPLOSION)
​กรมธรรม์มาตรฐานของการประกันอัคคีภัยจะคุ้มครองความเสียหายเนื่องจากเพลิงไหม้ ไม่ว่าจะเกิดจากการระเบิดหรือไม่ก็ตาม และคุ้มครองภัยการระเบิดจากเครื่องใช้ที่ใช้ในบ้าน เช่น แก๊สที่ใช้สำหรับทำความร้อนหรือแสงสว่าง กรมธรรม์ดังกล่าวจะยกเว้นความเสียหายจากการระเบิดอื่น ๆ ไม่ว่าการระเบิดนั้นจะมีสาเหตุจากเพลิงไหม้หรือไม่ก็ตาม ถ้าผู้เอาประกันภัยประสงค์จะซื้อความคุ้มครองภัยการระเบิดจากสาเหตุอื่นก็สามารถซื้อความคุ้มครองเพิ่มเติมได้
ภัยเพิ่มพิเศษ
(EXTRANEOUS PERIL)
​ภัยที่นอกเหนือจากภัยทางทะเลทั่วไปในการประกันภัยการขนส่งทางทะเล ภัยเพิ่มพิเศษจากปรกติเหล่านี้ได้แก่ การประมาทเลินเล่อ สินค้าขาดจำนวน การแตกรั่วไหลของหีบห่อ ในการประกันสรรพภัยสำหรับการขนส่งสินค้าทางทะเลจะให้ความคุ้มครองถึงภัยเพิ่มเหล่านี้ด้วย
​ภัยการเบี่ยงเส้นทางเนื่องจากน้ำแข็ง
(ICE DEVIATION RIST)
การประกันภัยที่ผู้รับประกันภัยจะจ่ายเงินชดเชยตามน้ำหนักของสินค้าที่ขนถ่ายลงก่อนถึงท่าปลายทาง อันเนื่องจากท่าปลายทางมีน้ำแข็งหรือถูกปิดเนื่องจากน้ำแข็ง
ภัยทางทะเล
(PERILS OF THE SEA)
ตัวภัยหรือเหตุที่ทำให้เกิดความเสียหาย ที่เป็นเหตุหรือตัวภัยที่เกิดขึ้นจากทะเล หรือเกิดจากสภาพปรกติในการเดินทางในทะเล เช่น ความเสียหายจากพายุ การชนกัน การเกยตื้น แต่ไม่รวมความเสียหายจากการสึกหรอซึ่งเกิดจากคลื่นลมตามปรกติ
มูลค่า ณ ปลายทางหลังเสียหาย
(ARRIVED DAMAGED VALUE)​
​มูลค่าของสินค้าที่คงเหลือเมื่อถึงปลายทาง ภายหลังจากที่เกิดความเสียหายในระหว่างการขนส่ง
เมื่อหมดอายุ
(AS EXPIRY)​
คำที่ใช้เพื่อแสดงว่ากรมธรรม์หมดอายุ และจะต้องต่อสัญญาประกันภัยตามเงื่อนไขเดิม
มูลค่าหลังเสียหาย
​(DAMAGED VALUE) 
มูลค่าจริงของตัวเรือหรือสินค้าซึ่งได้รับความเสียหาย ประเมินราคา ณ จุดปลายทางในขณะที่มาถึง  ในกรณีการประกันภัยตัวเรือมูลค่าหลังเสียหายจริงจะต้องเป็นมูลค่าที่ไม่รวมค่าซ่อมแซม ในกรณีการประกันภัยสินค้ามูลค่าหลังเสียหายรวม (gross damged value) ต้องเท่ากับมูลค่าหลังเสียหายจริงบวกค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการขนถ่ายสินค้า ภาษีและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ส่วนมูลค่าหลังเสียหายสุทธิ (net value) คือมูลค่าหลังเสียหายจริงไม่รวมค่าขนถ่ายสินค้า ภาษี และค่าธรรมเนียมต่าง ๆ
​โรคภัยเนื่องจากอาชีพ
(OCCUPATIONAL DISEASE)
โรคภัยไข้เจ็บหรือสุขภาพทรุดโทรมอันเป็นผลเนื่องมาจากการทำงานให้นายจ้าง
​ระยะไม่คุ้มครอง
(WAITING PERIOD)
​ในการประกันวินาศภัย หมายถึงระยะเวลาหนึ่งซึ่งผู้เอาประกันภัยและผู้รับประกันภัยตกลงว่า ในช่วงเวลาดังกล่าวผู้รับประกันภัยไม่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เช่น ในการประกันภัยธุรกิจหยุดชะงักอาจมีข้อตกลงว่า เมื่อเกิดวินาศภัยขึ้นและมีผลให้ธุรกิจต้องหยุดชะงัก ใน 7 วันแรกที่ธุรกิจต้องหยุดชะงักผู้รับประกันภัยจะไม่จ่ายเงินทดแทนให้ และจะเริ่มให้ความคุ้มครองเมื่อพ้นระยะเวลา 7 วันดังกล่าวแล้ว
วันเริ่มเสี่ยงภัย
(ATTACHMENT DATE)
​วันที่สัญญาประกันภัยเริ่มให้ความคุ้มครอง
​วันครบกำหนด
(DUE DATE)
วันถึงกำหนดที่จะต้องชำระค่าเบี้ยประกันภัย
​สัญญาชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
(CONTRACT OF INDEMNITY)
สัญญาชดใช้ความเสียหายหรือความสูญเสียทางการเงินให้กลับสู่สภาพเดิมมากที่สุดเท่าที่จะทำได้​​
​สัญญาประกันภัย
​(CONTRACT OF INSURANCE)
สัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ในกรณีวินาศภัยหากมีขึ้น หรือในเหตุอย่างอื่นในอนาคตตามที่ได้ระบุไว้ในสัญญา และในการนี้บุคคลอีกคนหนึ่ง ตกลงจะส่งเงินซึ่งเรียกว่า เบี้ยประกันภัย
เหตุสุดวิสัย(ตามธรรมชาติ)
(​ACT OF GOD)​
​เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ ปราศจากการข้องเกี่ยวของมนุษย์ และมนุษย์ไม่สามารถรู้ล่วงหน้าหรือคาดการณ์ได้ เช่น น้ำท่วม แผ่นดินไหว
​หน้าที่เปิดเผยความจริง
​(DUTY OF DISCLOSURE)
ตามกฎหมาย ผู้ขอเอาประกันภัยมีหน้าที่ต้องเปิดเผยความจริงให้ผู้รับประกันภัยทราบถึงความจริงอันเป็นสาระสำคัญทั้งหมดของการประกันภัย กล่าวคือ ความจริงทั้งหมดที่ผู้รับประกันภัยจำเป็นต้องทราบเพื่อใช้ในการตัดสินใจว่าจะรับประกันภัยหรือไม่ และหากรับจะมีเงื่อนไขประการใดบ้าง
เหตุการณ์วินาศภัย
(LOSS EVENT)
​เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และทำให้เกิดการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนทั้งหมดที่ผู้รับประกันภัยจะต้องจ่าย อันเกิดจากเหตุการณ์วินาศภัยเพียงเหตุการณ์เดียว เช่น แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นครั้งเดียวหรือหลายครั้งภายในเวลา 72 ชั่วโมงถือว่าเป็นเหตุการณ์วินาศภัยเพียงเหตุการณ์เดียว
​อัตราเฉลี่ย
(AVERAGE RATE)
ในการประกันภัยทรัพย์สิน โดยเฉพาะการประกันอัคคีภัยที่มีการเอาประกันภัยทรัพย์สินหลายรายการในกรมธรรม์เดียวกัน มูลค่าและอัตราเบี้ยประกันภัยที่นำมาใช้จะได้จากการเฉลี่ยด้วยวิธีการให้น้ำหนัก
​​อัตราเบี้ยประกันภัยทรัพย์สินในอาคาร
(CONTENTS RATE)
​อัตราเบี้ยประกันอัคคีภัยสำหรับทรัพย์สินที่อยู่ในอาคาร ซึ่งอาจจะแตกต่างกับอัตราเบี้ยประกันอัคคีภัยสำหรับตัวอาคาร

 

ข้อมูลจาก ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.)

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง