รีเซต

WHO เตือน "หายนะทางศีลธรรม" แจกวัคซีนโควิดไร้เท่าเทียม

WHO เตือน "หายนะทางศีลธรรม" แจกวัคซีนโควิดไร้เท่าเทียม
TNN ช่อง16
19 มกราคม 2564 ( 09:20 )
43
WHO เตือน "หายนะทางศีลธรรม" แจกวัคซีนโควิดไร้เท่าเทียม

วันนี้ (19 ม.ค.64) นายทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก หรือ ดับเบิลยูเอชโอ (WHO) ออกโรงเตือนว่า โลกกำลังอยู่ใน “วิกฤตความล้มเหลวทางศีลธรรม” เพราะการแจกจ่ายวัคซีนต้านโควิด-19 ที่ไม่มีความเท่าเทียมเสมอภาค คนที่อายุยังน้อยและสุขภาพแข็งแรงในประเทศที่ร่ำรวยกว่ากลับได้รับวัคซีนก่อนคนกลุ่มเสี่ยงและอ่อนแอในประเทศยากจน

"ขณะนี้มีการฉีดวัคซีนโควิดให้แก่ประชาชนในประเทศที่มีรายได้สูง 49 ประเทศแรกไปแล้วมากกว่า 39 ล้านคน ในขณะที่ประเทศที่มีรายได้น้อยที่สุดมีการฉีดวัคซีนให้ประชากรไปเพียง 25 คนเท่านั้น" นายทีโดรส กล่าว

จนถึงขณะนี้ จีน, อินเดีย, รัสเซีย, สหราชอาณาจักร และสหรัฐ ทุกประเทศต่างพัฒนาวัคซีนต้านโควิดได้ ซึ่งวัคซีนบางชนิดถูกผลิตและพัฒนาโดยทีมผู้เชี่ยวชาญนานาชาติ เช่นวัคซีนของบริษัทไฟเซอร์ของสหรัฐ ร่วมกับบริษัทไบโอเอ็นเทคของเยอรมนี และเกือบทุกประเทศได้แจกจ่ายและฉีดวัคซีนให้กับกลุ่มประชาชนเป้าหมายไปเรียบร้อยแล้ว

นายทีโดรส ซึ่งกล่าวต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารของ WHO ในวันจันทร์ ระบุว่า เขาต้องการพูดอย่างตรงไปตรงมาว่า โลกกำลังอยู่ในวิกฤตความล้มเหลวทางศีลธรรม และราคาของความล้มเหลวนี้จะต้องจ่ายด้วยชีวิตและการดำรงชีพในหลายประเทศที่ยากจนที่สุดของโลก วิธีการแบบ “ฉันมาก่อน” จะเป็นการทำลายตัวเอง เพราะมันจะผลักให้ราคาวัคซีนสูงขึ้นและกระตุ้นให้เกิดการกักตุ้นด้วย ซึ่งท้ายที่สุดแล้ว การกระทำเหล่านี้จะยิ่งทำให้ไวรัสระบาดนานยิ่งขึ้น และยิ่งต้องใช้มาตรการคุมเข้มต่าง ๆ เพื่อควบคุมการระบาดของไวรัส ส่งผลกระทบสร้างความเสียหายต่อผู้คนและเศรษฐกิจมากขึ้น

และนายทีโดรสยังได้เรียกร้องให้ปฏิบัติตามพันธสัญญาอย่างเต็มที่ในการกระจายและแบ่งปันวัคซีนทั่วโลก ภายใต้โครงการ “โคแว็ค” ซึ่งมีกำหนดจะเริ่มแจกจ่ายในเดือนหน้านี้  เขากล่าวเพิ่มเติมว่า การเรียกร้องของเขาต่อประเทศสมาชิกทั้งหมด ก็เพื่อเป็นการรับประกันว่า ภายใน “วันอนามัยโลก” ที่จะมาถึงในวันที่ 7 เมษายนนี้ ประชาชนในทุกประเทศจะได้ฉีดวัคซีนโควิด-19 ซึ่งจะเป็นสัญลักษณ์ของความหวังที่จะเอาชนะทั้งการระบาดของไวรัสและความเหลื่ยมล้ำ ซึ่งเป็นรากเหง้าของความท้าทายต่อสาธารณสุขโลกมากมาย

จนถึงขณะนี้ มีมากกว่า 180 ประเทศแล้ว ที่ลงนามร่วมโครงการวัคซีนโคแว็ค ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก WHO และกลุ่มสนับสนุนวัคซีนระหว่างประเทศ จุดประสงค์หลัก คือทำให้หลายประเทศร่วมมือเป็นหนึ่งเดียวในการเพิ่มอำนาจเจรจาต่อรองกับบรรดาบริษัทยา ซึ่งขณะนี้ มีอยู่ 92 ประเทศ ที่มีรายได้ต่ำ หรือปานกลาง จะมีวัคซีนที่ได้รับการสนับสนุนด้านการเงินจากกลุ่มประเทศผู้บริจาค 


เกาะติดข่าวที่นี่

website: www.TNNTHAILAND.com
facebook : TNNONLINE
facebook live : TNN Live
twitter : TNNONLINE
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNONLINE
Instagram : TNN_ONLINE
TIKTOK : @TNNONLINE

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง