รีเซต

ส่งดาวเทียม BlackSky ขึ้นสู่อวกาศถ่ายภาพเกือบเรียลไทม์ตามเวลาจริงจากอวกาศ

ส่งดาวเทียม BlackSky ขึ้นสู่อวกาศถ่ายภาพเกือบเรียลไทม์ตามเวลาจริงจากอวกาศ
TNN ช่อง16
3 เมษายน 2565 ( 00:54 )
84
ส่งดาวเทียม BlackSky ขึ้นสู่อวกาศถ่ายภาพเกือบเรียลไทม์ตามเวลาจริงจากอวกาศ

บริษัท Rocket Lab บริษัทสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีอวกาศประสบความสำเร็จในการส่งดาวเทียม BlackSky ขึ้นสู่อวกาศ นับเป็นครั้งที่ 2 ในปีนี้ที่บริษัททำภารกิจส่งดาวเทียม BlackSky ทำให้เครือข่ายดาวเทียม BlackSky มีจำนวนดาวเทียมโคจรรอบโลกแล้ว 14 ดวง


การปล่อยจรวดในครั้งนี้มีชื่อภารกิจว่า “Without Mission A Beat” ตามธรรมเนียมการตั้งชื่อเทคโนโลยีหรือภารกิจต่าง ๆ จากบริษัทเอกชนที่ไม่จำเป็นต้องใช้ชื่อที่เป็นทางการมากนัก จรวด Electron ของบริษัททะยานขึ้นจากฐานปล่อย Launch Complex 1 บริเวณคาบสมุทร Mahia ของประเทศนิวซีแลนด์ บรรทุกดาวเทียม BlackSky จำนวน 2 ดวง ขึ้นสู่วงโคจรที่ระดับความสูง 430 กิโลเมตร


ก่อนหน้านี้จรวด Electron ของบริษัทถูกออกแบบให้สามารถเดินทางกลับโลกและถูกดักจับด้วยการใช้ร่มชูชีพและเฮลิคอปเตอร์กลางอากาศ เพื่อนำจรวดกลับมาใช้งานใหม่ อย่างไรก็ตามในภารกิจ “Without Mission A Beat” บริษัท Rocket Lab ไม่มีการดักจับจรวด Electron อย่างไรก็ตามบริษัทมีแผนใช้ชีวิตดักจับจรวดดังกล่าวในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2022 นี้


สำหรับเครือข่ายดาวเทียม BlackSky นั้นก่อตั้งในช่วงปี 2016 มีเป้าหมายสร้างเครือข่ายดาวเทียมขนาดเล็กน้ำหนักประมาณดวงละ 44 กิโลกรัม มีขีดความสามารถในการสื่อสารและถ่ายภาพความละเอียดสูงของพื้นผิวโลกในตำแหน่งต่าง ๆ ภาพถ่ายของบริษัทมีความละเอียดมากถึง 1 เมตร จากระดับความสูง 450 กิโลเมตร จุดเด่นที่ทำให้บริษัทมีความแตกต่างจากเครือข่ายดาวเทียมทั่วไป คือ เครือข่ายดาวเทียม BlackSky สามารถภาพถ่ายของบริษัทเกือบเรียกได้ว่าเรียลไทม์ตามเวลาจริง เนื่องจากมีการดีเลย์ส่งข้อมูลภาพเพียงแค่ 90 นาที ขีดความสามารถดังกล่าวมีประโยชน์เป็นอย่างมากในด้านการทำแผนที่ การสำรวจ ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ไฟป่าและด้านการทหาร



ที่มาของข้อมูล techcrunch.com

ที่มาของรูปภาพ blacksky.com


ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง