Into the past : เรื่องราวในวันวาน 19 กรกฎาคม
Into the past : วันนี้ trueID News จะพาย้อนไปในอดีตของวันที่ 19 กรกฎาคม กับเหตุการณ์ที่สำคัญ เรื่องราวสาระน่ารู้ ทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ จะเป็นอย่างไรไปติดตามกัน
Into the past : ประเทศไทย
วันนี้เมื่อปี พ.ศ. 2441 เป็นวันฉลองพระราชพิธีทวีธาภิเษก ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสที่ทรงครองราชสมบัตินานเป็นสองเท่าของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และถือเป็นวันสถาปนาโรงเรียนทวีธาภิเศก
อาคารเรียนหลังแรกของ โรงเรียนทวีธาภิเศก
เนื่องด้วยปี พ.ศ. 2441 (ร.ศ.117) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงครองราชย์ในรัชกาลที่ 5 เป็นเวลายาวนาน 2 เท่า ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดจัดงานบำเพ็ญพระราชกุศล ทวีธาภิเศก เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2441 ถวายบรมอัยกาธิราช ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย และสมโภชสิริราชสมบัติ ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
ในงานพระราชพิธีทวีธาภิเศกดังกล่าว พระองค์ได้โปรดเกล้า ให้ทำเหรียญที่ระลึก รัชกาลที่ 5 เสมอด้วยรัชกาลที่ 2 ทวีคูณ ร.ศ. 117 เพื่อพระราชทานแก่ข้าราชการภายใน และข้าราชบริพารผู้ประกอบคุณงามความดี เหรียญที่ระลึกนี้มีเนื้อเงินกาไหล่ทองและเนื้อเงิน
และในเวลาต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าให้สร้าง โรงเรียนทวีธาภิเศก ซึ่งเป็นโรงเรียนชายล้วน ได้มีพระบรมราชโองการให้จัดพิธีฉลองอาคารนี้รวม 2 วัน และได้เสด็จมาเป็นประธานในพิธีด้วยพระองค์เอง.
=====
Into the past : รอบโลก
ในวันนี้เมื่อปี ค.ศ. 1940 อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ สั่งให้ สหราชอาณาจักร ยอมจำนนก่อนที่จะเปิดศึกทางอากาศ
ภาพประกอบจาก : AFP
สงครามโลกครั้งที่สอง กองทัพอากาศเยอรมันหรือลุฟท์วัฟเฟอ (Luftwaffe) เปิดการโจมตีทางอากาศเพื่อชิงความได้เปรียบกับกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร ก่อนที่จะดำเนินการบุกทางทะเลและการทิ้งทหารพลร่มจากอากาศในปฏิบัติการสิงโตทะเล (Unternehmen Seelöwe) ที่ทางเยอรมันได้วางแผนไว้ก่อนหน้า
ต้นเหตุของการรบครั้งนี้มาจากความคิดของ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ และนายทหารในกองทัพบกเยอรมันที่เชื่อว่าการบุกหมู่เกาะบริเตนข้ามทะเลจะไม่สามารถทำได้โดยง่ายถ้ากองทัพอากาศหลวงไม่ถูกทำลายเสียก่อน เป้าหมายหลักของลุฟท์วัฟเฟอในการเปิดศึกทางอากาศคือเพื่อบั่นทอนหรือทำลายกองกำลังทางอากาศของอังกฤษจนอ่อนแอกว่าที่จะยับยั้งการบุกได้ ส่วนเป้าหมายรองก็คือทำลายโรงงานผลิตเครื่องบินและสาธารณูปโภคต่างๆ รวมทั้งทิ้งระเบิดใส่พื้นที่ที่มีความสำคัญทางการเมือง เพื่อข่มขู่ชาวบริเตนให้ยอมแพ้หรือยอมสงบศึกด้วย
กระนั้น แม้เยอรมนีจะมีเครื่องบินรบที่ดีกว่าและนักบินที่มีประสบการณ์มากกว่า (สืบเนื่องจากการบุกครองโปแลนด์ก่อนหน้านี้) แต่ความเด็ดขาดของกองทัพอากาศหลวงและจำนวนเครื่องบินที่มากกว่า ทำให้ฝ่ายเยอรมันประสบกับความล้มเหลวในการทำลาย หรือแม้แต่จะบั่นทอนกำลังของกองทัพอากาศหลวงของอังกฤษ (หรือแม้แต่จะทำลายขวัญกำลังใจของชาวบริเตน)และพ่ายแพ้ไปในที่สุดซึ่งความพ่ายแพ้ครั้งนี้ของเยอรมันถือเป็นหนึ่งในความพ่ายแพ่ครั้งสำคัญของเยอรมัน.
=====
Into the past : เรื่องราวในวันวาน 18 กรกฎาคม
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :