รีเซต

เปิดพฤติกรรมเสี่ยงที่ควรหลีกเลี่ยงในขณะใช้งาน "บันไดเลื่อน"

เปิดพฤติกรรมเสี่ยงที่ควรหลีกเลี่ยงในขณะใช้งาน "บันไดเลื่อน"
TNN ช่อง16
30 มิถุนายน 2566 ( 12:55 )
80
เปิดพฤติกรรมเสี่ยงที่ควรหลีกเลี่ยงในขณะใช้งาน "บันไดเลื่อน"

ขึ้น "บันไดเลื่อน - ทางเลื่อน" ต้องรู้! เปิดพฤติกรรมเสี่ยงที่ควรหลีกเลี่ยงในขณะใช้งาน มีอะไรบ้างเช็กเลยที่นี่


สืบเนื่องจากมีกรณีข่าวดัง ผู้โดยสารประสบอุบัติเหตุบนทางเลื่อนที่สนามบินดอนเมือง ทำให้ขาซ้ายขาด ซึ่งเหตุเกิดเมื่อเมื่อช่วงเช้าของวันที่ 29 มิถุนายน 2566 ตามที่มีรายงานก่อนหน้านี้นั้น สร้างความระทึกและหวาดกลัวต่อผู้โดยสารและผู้มาใช้บริการสนามบินอย่างมาก


แน่นอนว่า ชีวิตประจำวันของคนส่วนใหญ่ จำเป็นที่จะต้องใช้งานบันไดเลื่อนในการขึ้นลงอาคาร ไม่ว่าจะเป็นบันไดเลื่อนในห้าง บันไดเลื่อนรถไฟฟ้า บันไดเลื่อนในที่ทำงาน ซึ่งการใช้งานบันไดเลื่อนส่วนใหญ่มักจะมีปัญหาและเกิดอุบัติเหตุอยู่บ่อยครั้ง ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุของตัวบันไดเลื่อนเอง หรือตัวบุคคลที่ละเลยความระมัดระวังในการใช้บันไดเลื่อน


ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยในการใช้บันไดเลื่อน เราจึงขอแนะนำวิธีขึ้น-ลงบันไดเลื่อนอย่างปลอดภัยและพฤติกรรมเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุขณะใช้งานบันไดเลื่อนดังนี้


พฤติกรรมเสี่ยงที่ควรหลีกเลี่ยงในขณะใช้งานบันไดเลื่อน


-การยืนพิงกับขอบด้านข้างของบันไดเลื่อน

-การนั่งราวจับของบันไดเลื่อน นั่งบนบันไดเลื่อน

-การยื่นศีรษะ หรือลำตัวออกนอกราวจับของบันไดเลื่อน

-การหยอกล้อกันระหว่างขึ้นบันไดเลื่อน

-การก้มเล่นโทรศัพท์มือถือตลอดเวลาที่อยู่บนบันไดเลื่อน


วิธีการขึ้น – ลงบันไดเลื่อนอย่างปลอดภัย


-มองจังหวะการเคลื่อนตัวของบันไดเลื่อนให้มีความพอดีกับการก้าวเท้า

-ระวังเครื่องแต่งกาย(ชายกระโปรง ชายกางเกง หรือเชือกรองเท้า) ติดในช่องหรือซี่ร่องบันไดเลื่อน

-ขณะยืนบนบันไดเลื่อน ควรจับราวบันไดเลื่อน เพื่อป้องกันการเสียการทรงตัว

-หากถือสิ่งของทั้งสองมือ ควรเปลี่ยนมารวมไว้ในมือเดียว เพื่อให้สามารถจับราวบันไดเลื่อนได้

-หากไปกับเด็กเล็ก ไม่ควรให้เด็กเล็กเดินขึ้นบันไดเลื่อนเอง



ภาพจาก TNN Online

 

 



หลักการทำงานของบันไดเลื่อน


บันไดเลื่อน คือระบบขนส่งด้วยสายพานแบบหนึ่งที่ใช้บันไดในการลำเลียงคนจำนวนมากด้วยความเร็วที่เหมาะสมและคงที่ การเคลื่อนที่ของบันไดเลื่อนจะใช้โซ่ที่มีข้อต่อ 1 คู่ (ลักษณะคล้ายโซ่จักรยานหรือรถยนต์ยนต์แต่ใหญ่กว่า) คล้องผ่านเกียร์หรือเฟือง 2 คู่ (ด้านบนและด้านล่างของบันได) เฟืองจะขับบันไดเลื่อนที่เรียงต่อกันหลายๆ ชั้นด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าที่ระดับความเร็วคงที่ และเพื่อให้บันไดเลื่อนมีความปลอดภัยในการใช้งาน ราวบันไดจะถูกออกแบบมาให้เคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียวกับบันไดด้วยความเร็วเท่ากับบันไดด้วย ดังนั้นมอเตอร์ขับบันไดเลื่อน นอกจากจะขับบันไดแล้วยังทำหน้าที่ขับราวบันไดด้วย



ที่มา กองปราบปราม / ienergyguru.com 

แฟ้มภาพ TNN Online

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง