รีเซต

ดัชนีเงินเฟ้อ ม.ค.64 ลดลง 0.34% จากปัจจัยโควิดรอบ2-ราคาพลังงาน

ดัชนีเงินเฟ้อ ม.ค.64 ลดลง 0.34% จากปัจจัยโควิดรอบ2-ราคาพลังงาน
TNN ช่อง16
5 กุมภาพันธ์ 2564 ( 15:11 )
41
ดัชนีเงินเฟ้อ ม.ค.64 ลดลง 0.34% จากปัจจัยโควิดรอบ2-ราคาพลังงาน

วันนี้ (5ก.พ.64) นางพิมพ์ชนก พิตต์ฟีลด์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) แถลงดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (CPI) หรืออัตราเงินเฟ้อในเดือนม.ค.64 อยู่ที่ระดับ 99.79 ลดลง 0.34% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่เพิ่มขึ้น 0.09% จากเดือนธ.ค.63   

ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) ซึ่งหักราคาอาหารสดและพลังงานออกในเดือนม.ค.64 อยู่ที่ระดับ 100.47 เพิ่มขึ้น 0.21% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่หากเทียบกับธ.ค.63 เพิ่มขึ้น 0.03%

เงินเฟ้อเดือนม.ค. ที่ลดลง 0.34%  มีปัจจัยสำคัญมาจากราคาพลังงานที่ยังต่ำกว่าปีก่อน หรือลดลง 4.82%  การปรับลดค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) ลงอีกเป็น 15.32 สตางค์ต่อหน่วย ซึ่งจะมีผลต่อเนื่องจนถึงเดือนเมษายน และราคาข้าวสารเจ้าและข้าวสารเหนียวที่ยังลดลงต่อเนื่อง รวมทั้งปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 รอบสองส่งผลค่อการใช้จ่ายและการผลิต สำหรับแนวโน้มเดือนก.พ.คาดว่ายังคงติดลบเนื่องจากอทธิพลจากราคาพลังงานและมาตรการของรัฐในการช่วยเหลือค่าครองชีพ

ทั้งนี้  ในเดือนม.ค.นี้  สนค.ได้ปรับไปใช้ปีฐานของปี 2562 ในการนำมาคำนวณอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งเป็นปีฐานเดียวกับทุกหน่วยงานด้านเศรษฐกิจอื่นๆ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากเป็นปีที่สำนักงานสถิติแห่งชาติได้สำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนทั่วประเทศ ซึ่งจะทำให้ได้ข้อมูลที่สะท้อนภาวะค่าใช้จ่ายของประชาชนได้ชัดเจนมากขึ้น

สำหรับอัตราเงินเฟ้อในปี 2564 กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์ว่า จะขยายตัวด้  1.2% หรือ เคลื่อนไหวระหว่าง 0.7-1.7%  ซึ่งเป็นอัตราที่น่าจะช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้อย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง ทั้งนี้ อยู่ภายใต้สมมติฐาน อัตราการเติบโตเศรษฐกิจ (จีดีพี) ขยายตัวอยู่ในกรอบ 3.5-4% น้ำมันดิบดูไบ อยู่ในกรอบ 40-50 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล อัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 30-32 บาทต่อเหรียญสหรัฐ

สำหรับมาตรการช่วยเยียวยาประชาชนของภาครัฐซึ่งช่วยในการกระตุ้นการใช้จ่าย ทั้ง"เราชนะ" และ "คนละครึ่ง" นั้น สนค. มองว่ามาถูกทางแล้ว เพราะเป็นการช่วยกระตุ้นการบริโภค การจับจ่ายใช้สอยภายในประเทศ แม้ไม่ได้ทำให้ประชาชนมีเงินในกระเป๋าเพิ่มขึ้นแต่เป็นการช่วยสนับสนุนการใช้จ่าย ทำให้มีเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจได้หลายรอบมากขึ้นโดยเฉพาะในท้องถิ่น ซึ่งช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายและค่าครองชีพให้กับประชาชน และเพิ่มรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการและผู้ค้ารายย่อยได้มากขึ้น  

เกาะติดข่าวที่นี่

website: www.TNNTHAILAND.com 
facebook : TNNONLINE
facebook live : TNN Live 
twitter : TNNONLINE 
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNONLINE 
Instagram : TNN_ONLINE 
TIKTOK : @TNNONLINE

ข่าวที่เกี่ยวข้อง