วิธีเช็คเงินสมทบประกันสังคมออนไลน์! ที่นายจ้างตรวจสอบเงินสมทบประจำปีได้ด้วยตัวเอง
ข่าววันนี้ นายจ้างอยากเช็คเงินสมทบประจำปี แต่ไม่สะดวกเดินทางไป สำนักงานประกันสังคม (สปส.) วันนี้ TrueID ขอแนะนำวิธีเช็คเงินสมทบประกันสังคมออนไลน์ง่าย ๆ อีกหนึ่งทางเลือกที่นายจ้างสามารถใช้บริการได้ทุกที่ ทุกเวลา ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน แถมลดเสี่ยงโควิดด้วยนะ เอาล่ะมาดูขั้นตอนกันเลยดีกว่า
เช็คเงินสมทบประกันสังคมออนไลน์!
นายจ้างต้องรู้! วิธีเช็คเงินสะสมประจำปี ผ่านออนไลน์
โดยทาง สปส. ได้อำนวยความสะดวกแจ้งอัตราเงินสมทบประจำปี ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์กองทุนเงินทดแทน หรือเรียกวาา e-rate ซึ่งเป็นระบบการให้บริการที่สำนักงานประกันสังคมออกแบบมาให้นายจ้างสามารถใช้บริการเรียก
- ดูรหัสประเภทกิจการ
- อัตราเงินสมทบหลัก
- อัตราเงินสมทบประจำปี
- รายละเอียดการคำนวณอัตราเงินสมทบตามค่าประสบการณ์ประจำปี
ส่วนวิธีการเข้าใช้งาน e-rate เพื่อขอทำธูรกรรมผ่านอิเล็คทรอนิกส์ แบ่งเป็น 2 กรณีที่นายจ้างต้องทำความเข้าใจ และทำตามขั้นตอนก่อนที่จะสามารถเช็คเงินสมทบประจำปี หรือข้อมูลอื่น ๆ ที่ต้องการได้
ขั้นตอนการใช้งานขอทำธูรกรรมผ่านอิเล็คทรอนิกส์
- เข้าเว็บไซต์ www.sso.go.th เพื่อเริ่มใช้งาน
- เมื่อเข้าสู่หน้าจอหลักประกันสังคม คลิกเมนู "e-service"
1. กรณีที่นายจ้างที่ยังไม่มี USER และ PASSWORD
โดยคลิกที่เมนู "ขอทำธุรกรรมผ่านอินเทอร์เน็ต" โดยกรอกข้อความตามที่ระบุ ระบบจะแจ้งแบบคำขอทำธุรกรรมทาง e-mail ที่ให้ไว้ นายจ้างลงนามพร้อมยื่นเอกสารต่อสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา เพื่อขออนุมัติสิทธิ์การใช้งาน รายละเอียดดังนี้
- ขั้นตอนที่ 1 ผู้ใช้งานอ่านทำความเข้าใจข้อตกลงและเวื่อไขโดยละเอียดแล้ว คลิก "เครื่องหมายถูก" เพื่อยืนยันข้อตกลง จากนั้น คลิก "ดำเนินการต่อ"
- ขั้นตอนที่ 2 ผู้ใช้งานกรอกข้อมูลโดยละเอียด จากนั้นคลิก "ดำเนินการต่อ"
- ขั้นตอนที่ 3 ยืนยันข้อมูลการบันทึกคำขอทำธุรกรรม
2. กรณีที่นายจ้างมี USER และ PASSWORD แล้ว
จากหน้าจอหลัก "e-service" ผู้ใช้งานคลิกที่เมนู "เปลี่ยนแปลงสิทธิ์ในการทำธุรกรรม" เพื่อทำการบันทึกเพิ่มสิทธิ์ที่ต้องการ ระบบจะส่งแบบคำขอเพิ่มสิทธิ์ทาง e-mail นายจ้างลงนามพร้อมเอกสารยื่นต่อสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา เพื่อขออนุมัติสิทธิ์การใช้งาน รายละเอียดดังนี้
- ขั้นตอนที่ 1 ผู้ใช้งานอ่านทำความเข้าใจข้อตกลงและเวื่อไขโดยละเอียดแล้ว คลิก "เครื่องหมายถูก" เพื่อยืนยันข้อตกลง จากนั้น คลิก "ดำเนินการต่อ"
- ขั้นตอนที่ 2 ผู้ใช้งานเลือก "เพิ่มสิทธิ์การทำธุรกรรม" จากนั้นคลิก "ดำเนินการต่อ"
- ขั้นตอนที่ 3 ผู้ใช้งานตรวจสอบข้อมูลผู้ขอทำธุรกรรม จากนั้นคลิก "ดำเนินการต่อ"
- ขั้นตอนที่ 4 ผู้ใช้งาน คลิก "เครื่องหมายถูก เพื่อเลือกบันทึกเพิ่มสิทธิ์ที่ต้องการ จากนั้นคลิก "ดำเนินการต่อ"
- ขั้นตอนที่ 5 หน้าจอแสดงผลการยืนยันข้อมูลการบันทึกคำขอทำธุรกรรมสำเร็จ
ขั้นตอนการเช้าสู่ระบบแจ้งอัตราเงินสมทบประจำปี
ในส่วนขั้นตอนการเช้าสู่ระบบแจ้งอัตราเงินสมทบประจำปีอิเล็กทรอนิกส์กองทุนเงินทดแทน (e-rate) เพื่อประมวลผลและดาวน์โหลดรายละเอียดการคำนวณอัตราเงินสมทบตามค่าประสบการณ์ประจำปี มีขั้นตอนดังนี้
- เข้าสู่ระบบผ่านเว็บไซต์ www.sso.go.th/ เพื่อเริ่มใช้งาน
- เมื่อเข้าสู่หน้าจอหลักของสำนักงานประกันสังคม ให้ผู้ใช้งาน คลิกเมนู "สถานประกอบการ" เพื่อเข้าสู่หน้าจอ "ระบบ e-service"
- คลิกที่เมนู "เข้าสู่ระบบ" ที่มุมบนด้านขวาของหน้าจอ "การระบุชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่าน"
- ให้ผู้ใช้งานกรอกข้อมูล "ชื่อผู้ใช้" และ "รหัสผ่าน" แล้วกดปุ่ม "ตกลง" เพื่อเข้าสู่หน้าจอ "การเข้าใช้งานตามสิทธิ์ของผู้ใช้งาน"
- ให้ผู้ใช้งาน คลิกเมนู "กองทุนเงินทดแทน" เพื่อเข้าสู่หน้าจอ "การเลือกรับบแจ้งอัตราเงินสมทบประจำปีผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-rate)
- ให้ผู้ใช้งานคลิกเมนู "e-contribution" เพื่อเข้าสู่หน้าตอ "ระบบอัตราเงินสมทบประจำปี (e-rate) ซึ่งในระบบจะแสดงเลขที่บัญชีนายจ้าง ชื่อสถานประกอบการ และปีที่ผู้ใช้งานต้องการให้ประมวลผล หลังจากนั้นให้กดอุ่ม "ค้นหา" เพื่อค้นหาอัตราเงินสมทบในปีที่ต้องการ
- หน้าจอแสดงผลการค้นหา โดยผู้ใช้งานต้องการข้อมูลอัตราเงินสมทบรหัสกิจการใด ให้กดปุ่มเครื่องหมาย เพื่อดึงให้ระบบประมวลผล และกด OK เพื่อยืนยัน
- เมื่อระบบ "ประมวลผลสำเร็จ" ระบบจะขึ้นสัญลักษณ์ให้นายจ้างคลิกปุ่มดาวน์โหลดได้
- กดปุ่ม "ดาวน์โหลด"
- ระยยจะแสดงเอกสารรายละเอียดการคำนวณอัตราเงินสมทบตามค่าประสบการณ์ประจำปี
ข้อมูล : สำนักงานประกันสังคม
ภาพ : ข่าวสด
--------------------
เกาะติดสถานการณ์โควิด-19 ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก
กดเลย >> community แห่งความบันเทิง
ทั้งข่าว หนัง ซีรีส์ ละคร ดนตรี และศิลปินไอดอล ที่คุณชื่นชอบ บนแอปทรูไอดี