รีเซต

ทำธุรกิจเริ่มคึกคัก ก.ย.เปิดใหม่เกือบ 6 พันราย กลุ่มขนส่งโดดเด่น ปิดตัวลบ 4% จากร้านอาหารแห่เจ๊ง

ทำธุรกิจเริ่มคึกคัก ก.ย.เปิดใหม่เกือบ 6 พันราย กลุ่มขนส่งโดดเด่น ปิดตัวลบ 4% จากร้านอาหารแห่เจ๊ง
มติชน
27 ตุลาคม 2564 ( 09:41 )
32

นายทศพล ทังสุบุตร อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยว่า ยอดจดทะเบียนธุรกิจประจำเดือนกันยายน 2564 พบว่า ธุรกิจจัดตั้งใหม่ มีจำนวน 5,820 ราย และมีมูลค่าทุนจดทะเบียนจำนวน 13,973.77 ล้านบาท

 

โดยประเภทธุรกิจจัดตั้งใหม่สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป จำนวน 680 ราย คิดเป็น 12% รองลงมา คือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 248 ราย คิดเป็น 4% และอันดับ 3 คือ ธุรกิจขนส่งและขนถ่ายสินค้ารวมถึงคนโดยสาร จำนวน 188 ราย คิดเป็น 3% ตามลำดับ

 

ธุรกิจจัดตั้งใหม่แบ่งตามช่วงทุน โดยช่วงทุนที่มีจำนวนรายธุรกิจจัดตั้งใหม่ทั่วประเทศมากที่สุด ได้แก่ ช่วงทุนไม่เกิน 1 ล้านบาท มีจำนวน 4,367 ราย คิดเป็น 75.03% รองลงมาช่วงทุนมากกว่า 1-5 ล้านบาท จำนวน 1,375 ราย คิดเป็น 23.63% ลำดับถัดไป คือ ช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท มีจำนวน 67 ราย คิดเป็น 1.15% และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท จำนวน 11 ราย คิดเป็น 0.19% ตามลำดับ

 

ธุรกิจจัดตั้งใหม่ไตรมาส 3/2564 รวมจำนวนธุรกิจจัดตั้งใหม่ 17,034 ราย เมื่อเทียบกับไตรมาส 2/2564 จำนวน 17,633 ราย ลดลงจำนวน 599 ราย คิดเป็น 3% และเมื่อเทียบกับไตรมาส 3/2563 จำนวน 16,841 ราย เพิ่มขึ้นจำนวน 193 ราย คิดเป็น 1%

 

ประเภทธุรกิจจัดตั้งใหม่สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป จำนวน 1,929 ราย คิดเป็น 11% รองลงมา คือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 725 ราย คิดเป็น 4% และธุรกิจขนส่งและขนถ่ายสินค้ารวมถึงคนโดยสาร จำนวน 622 ราย คิดเป็น 4% ตามลำดับ

 

โดยมีมูลค่าทุนธุรกิจจัดตั้งใหม่ 39,350.24 ล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาส 2/2564 จำนวน 63,133.25 ล้านบาท ลดลงจำนวน 23,783.01 ล้านบาท คิดเป็น 38% และเมื่อเทียบกับไตรมาส 3/2563 จำนวน 43,813.68 ล้านบาท ลดลงจำนวน 4,463.44 ล้านบาท คิดเป็น 10%


ธุรกิจจัดตั้งใหม่แบ่งตามช่วงทุน โดยช่วงทุนที่มีจำนวนรายธุรกิจจัดตั้งใหม่ทั่วประเทศมากที่สุด ได้แก่ ช่วงทุนไม่เกิน 1 ล้านบาท มีจำนวน 12,809 ราย คิดเป็น 75.20% รองลงมา คือช่วงทุนมากกว่า 1-5 ล้านบาท จำนวน 3,991ราย คิดเป็น 23.43% รองลงมา คือช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท มีจำนวน 207 ราย คิดเป็น 1.22% และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท จำนวน 27 ราย คิดเป็น 0.16%

 

นายทศพล กล่าวว่า ธุรกิจเลิกประกอบกิจการเดือนกันยายน 2564 มีจำนวน 1,503 ราย โดยมีมูลค่าทุนจดทะเบียนจำนวน 5,764.59 ล้านบาท ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มการเลิกกิจการในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา

 

ประเภทธุรกิจเลิกประกอบกิจการสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป จำนวน 114 ราย คิดเป็น 8% รองลงมาคือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 94 ราย คิดเป็น 6% และธุรกิจภัตตาคาร/ร้านอาหาร จำนวน 49 ราย คิดเป็น 3% ตามลำดับ

 

ธุรกิจเลิกประกอบกิจการแบ่งตามช่วงทุน โดยช่วงทุนที่มีจำนวนรายธุรกิจเลิกประกอบกิจการทั่วประเทศ มากที่สุด ได้แก่ ช่วงทุนไม่เกิน 1 ล้านบาท จำนวน 1,077 ราย คิดเป็น 71.66% รองลงมาช่วงทุนมากกว่า 1- 5 ล้านบาท จำนวน 339 ราย คิดเป็น 22.55% ลำดับถัดไป คือ ช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท จำนวน 83 ราย คิดเป็น 5.52% และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท มีจำนวน 4 ราย คิดเป็น 0.27% ตามลำดับ

 

ทำให้ธุรกิจเลิกประกอบกิจการไตรมาส 3/2564 รวม 3,819 ราย โดยมีมูลค่าทุนจดทะเบียนจำนวน 14,749.31 ล้านบาท ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มการเลิกกิจการในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา

 

ประเภทธุรกิจเลิกประกอบกิจการสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป จำนวน 314 ราย คิดเป็น 8% รองลงมาคือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 277 ราย คิดเป็น 6% และธุรกิจภัตตาคาร/ร้านอาหาร จำนวน 117 ราย คิดเป็น 3% ตามลำดับ

 

ธุรกิจเลิกประกอบกิจการแบ่งตามช่วงทุน โดยช่วงทุนที่มีจำนวนรายธุรกิจเลิกประกอบกิจการทั่วประเทศ มากที่สุด ได้แก่ ช่วงทุนไม่เกิน 1 ล้านบาท จำนวน 2,692 ราย คิดเป็น 70.49% รองลงมาช่วงทุนมากกว่า 1- 5 ล้านบาท จำนวน 911 ราย คิดเป็น 23.85% ลำดับถัดไป คือ ช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท จำนวน 199 ราย คิดเป็น 5.21% และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท มีจำนวน 17 ราย คิดเป็น 0.45% ตามลำดับ

 

ดังนั้น ณ เดือนกันยายน 2564 มีธุรกิจที่ดำเนินกิจการอยู่ทั่วประเทศ 810,509 ราย มูลค่าทุน 19.41 ล้านล้านบาท จำแนกเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด/ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล จำนวน 197,398 ราย คิดเป็น 24.35% บริษัทจำกัด จำนวน 611,799 ราย คิดเป็น 75.48% และบริษัทมหาชนจำกัด จำนวน 1,312 ราย คิดเป็น 0.16% ตามลำดับ

 

ธุรกิจดำเนินกิจการอยู่แบ่งตามช่วงทุน ธุรกิจส่วนใหญ่มีช่วงทุนไม่เกิน 1 ล้านบาท จำนวน 481,078 ราย คิดเป็น 59.36% รวมมูลค่าทุน 0.42 ล้านล้านบาท คิดเป็น 2.18% รองลงมา คือ ช่วงทุนมากกว่า 1-5 ล้านบาท จำนวน 238,944 ราย คิดเป็น 29.48% รวมมูลค่าทุน 0.80 ล้านล้านบาท คิดเป็น 4.13% ช่วงถัดไปคือ ช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท จำนวน 73,979 ราย คิดเป็น 9.13% รวมมูลค่าทุน 2.02 ล้านล้านบาท คิดเป็น 10.40% และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท จำนวน 16,508 ราย คิดเป็น 2.04% รวมมูลค่าทุน 16.17 ล้านล้านบาท คิดเป็น 83.29% ตามลำดับ

 

นายทศพล กล่าวต่อว่า การลงทุนประกอบธุรกิจในไทยภายใต้กฎหมายต่างด้าว เดือนกันยายน 2564มีการอนุญาต 60 ราย เพิ่มขึ้น 15% จากเดือนสิงหาคม ที่มี 52 ราย แบ่งเป็นใบอนุญาตประกอบธุรกิจ29 ราย และหนังสือรับรองประกอบธุรกิจจำนวน 31 ราย โดยมีเม็ดเงินลงทุนรวม 4,864 ล้านบาท

 

นักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในไทยมากที่สุด ได้แก่ ญี่ปุ่น 16 ราย เงินลงทุน 478 ล้านบาทรองลงมา ได้แก่ สิงคโปร์ 8 ราย เงินลงทุน 162 ล้านบาท และสหรัฐ 7 ราย เงินลงทุน 145 ล้านบาท ตามลำดับ

 

ทำให้ 10 เดือนแรกปี 2564 คนต่างชาติได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจ จำนวน 376 ราย มีเงินลงทุนรวม 50,602 ล้านบาท

ข่าวที่เกี่ยวข้อง