รีเซต

ตลท.หนุนเศรษฐกิจสีเขียว เดินหน้าพัฒนา “ตลาดคาร์บอนเครดิต”

ตลท.หนุนเศรษฐกิจสีเขียว เดินหน้าพัฒนา “ตลาดคาร์บอนเครดิต”
ทันหุ้น
12 กันยายน 2567 ( 15:09 )
19
ตลท.หนุนเศรษฐกิจสีเขียว เดินหน้าพัฒนา “ตลาดคาร์บอนเครดิต”

 

#คาร์บอนเครดิต #ทันหุ้น - ตลาดหลักทรัพย์ฯ เดินหน้าพัฒนาศูนย์ซื้อขายคาร์บอนเครดิต ส่งเสริมให้ไทยเป็นผู้นำอาเซียนด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

 

ตามที่รัฐบาลได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาในวันนี้ (12 กันยายน 2567) ในการส่งเสริมเศรษฐกิจสีเขียว มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และเป็นผู้นำของอาเซียนในด้านการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ตลอดจนส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางด้านการซื้อขายคาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) ของอาเซียนผ่านตลาดหลักทรัพย์ไทย นั้น

 

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเห็นความสำคัญของการพัฒนาระบบนิเวศเศรษฐกิจสีเขียวร่วมกับพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านของประเทศไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งการเตรียมความพร้อมและส่งเสริมศักยภาพของภาคธุรกิจในการปรับตัวและแสวงหาโอกาสจากการเปลี่ยนผ่าน รวมถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การพัฒนาระบบจัดการข้อมูล SET ESG Data Platform เพื่อเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงข้อมูล ESG ของภาคธุรกิจและผู้ลงทุน ซึ่งจำเป็นต่อการพัฒนาระบบนิเวศการเงินอย่างยั่งยืน (Sustainable Finance) อีกทั้งยังได้พัฒนาระบบ SET Carbonซึ่งเป็นเครื่องมือคำนวณคาร์บอนฟุตพรินท์ (Carbon Footprint) ให้กับบริษัทจดทะเบียนและผู้ประกอบธุรกิจในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) รวมทั้งช่วยให้สถาบันการเงินมีข้อมูลสำคัญที่เพียงพอต่อการพัฒนาสินค้าทางการเงินสีเขียว (Green Finance) นอกจากนี้ ยังได้พัฒนาสัญญามาตรฐานในการซื้อขายคาร์บอนเครดิต (Standard Master Trading Agreement)เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการซื้อขายคาร์บอนเครดิต

 

ทั้งนี้ กลไกหนึ่งที่สำคัญต่อการปรับตัวของภาคธุรกิจในการมุ่งสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) คือ การมีศูนย์กลางการซื้อขายคาร์บอนเครดิตที่มีประสิทธิภาพและความโปร่งใส ตลาดหลักทรัพย์ฯ อยู่ระหว่างศึกษาการพัฒนากลไกกำกับดูแลและระบบซื้อขาย โดยได้ทำงานร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ในการออกแบบรูปแบบที่เหมาะสม และผลักดันแก้ไขกฎระเบียบต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรค เพื่อให้สามารถดำเนินการในเรื่องนี้ได้อย่างคล่องตัว ซึ่งจะมีส่วนสนับสนุนเป้าหมายการสร้างความยั่งยืนควบคู่ไปกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง