รีเซต

ส่องผลกระทบ "ค่าเงินบาทแข็ง" ถึงเวลา แบงก์ชาติ ลดดอกเบี้ย ช่วยพยุง SMEs

ส่องผลกระทบ "ค่าเงินบาทแข็ง" ถึงเวลา แบงก์ชาติ ลดดอกเบี้ย ช่วยพยุง SMEs
TNN ช่อง16
26 กันยายน 2567 ( 14:25 )
22
ส่องผลกระทบ "ค่าเงินบาทแข็ง" ถึงเวลา แบงก์ชาติ ลดดอกเบี้ย ช่วยพยุง SMEs

สถานการณ์การแข็งค่าของเงินบาทในขณะนี้ สร้างความกังวลให้กับภาคเศรษฐกิจของไทย เพราะสถานการณ์ดังกล่าวมีผลกระทบต่อภาคการส่งออกและการท่องเที่ยว ซึ่งถือเป็นรายได้หลักของประเทศ 


โดยนายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รมช.การคลัง เปิดเผยว่าสถานการณ์อัตราแลกเปลี่ยนในขณะนี้ มี 2 เรื่องหลัก คือ 1. ค่าเงินบาทผันผวน ซึ่งจะได้เห็นเงินบาทขยับขึ้นไปแตะระดับ 36 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐฯ และปรับลงมาอยู่ที่ 33 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐฯ มีช่องว่างถึง 10% ตรงนี้เป็นตัวเลขที่น่ากลัว และ 2. เงินบาทแข็งค่า โดยเป็นการแข็งค่ากว่าภูมิภาค แข็งค่ากว่าคู่ค้า แข็งค่ากว่าคู่แข่ง


สอดคล้องกับมุมมองของ รศ.ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช ผู้เชี่ยวชาญเศรษฐกิจระหว่างประเทศและอาเซียน มองว่าสถานการณ์ค่าเงินบาทแข็ง ไม่ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจไทย และ การส่งออกของไทยที่คิดเป็น 60%   ของรายได้ประชาชาติ ส่งผลให้การส่งออกลดลง โรงงานอุตสาหกรรมและภาคการผลิตของไทบไม่สามารถแข่งขันได้ก็จะมีโอกาสปิดตัวลง และยังส่งผลต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทย

 

รศ.ดร.อัทธ์ เชื่อว่าสถานการณ์ในขณะนี้มีโอกาสที่ค่าเงินบาทไปถึง 31 บาท ต่อ 1 ดอลลาร์  หากไม่ดำเนินการใน 2 เรื่อง คือ ธนาคารแห่งประเทศไทยลดดอกเบี้ยลง  เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีให้สามารถแข่งขันได้  ทั้งนี้หากไม่ดำเนินการอาจต้องมีการเข้าไปแทรกแซงค่าเงินให้อ่อนลง ไปถึง 33-34 บาท ต่อดอลลาร์ สหรัฐ


“จีน ถือเป็นตัวอย่างให้เห็นว่ามีการปรับตัวที่ค่อนข้างเร็วจากการปรับลดดอกเบี้ยลง 0.2-0.25 % เพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางดอกเบี้ยสหรัฐอเมริกา ส่วนของไทย  ธปท. ควรลดอัตราดอกเบี้ยที่ 0.25%  เพราะถ้าเราลดอัตราดอกเบี้ย เราจะช่วยลดหนี้ครัวเรือนไทย ช่วยลดภาระหนี้ SMEs กระตุ้นให้ลงทุนมากขึน เพราะดอกเบี้ยต่ำลง” ผู้เชี่ยวชาญเศรษฐกิจระหว่างประเทศและอาเซียน ระบุ  

 

รศ.ดร.อัทธ์ ย้ำว่านโบายการเงินของไทยคงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องสอดคล้องกับทิศทางนโยบายการเงินของโลก หกแบงก์ชาติไม่ลดอัตราดอกเบี้ยในรอบนี้ ในอนาคตไม่เกินปีนี้ก็ต้องลดอัตราดอกเบี้ยให้เป็นไปตามทิศทางโลกอยู่ดี 


สำหรับสถานการณ์ค่าเงินบาท คงต้องรอดูทิศทางแก้ไขที่ชัดเจนในสัปดาห์หน้า โดยนายพิชัย ชุณหวิชร รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.การคลัง ได้นัดหารือกับนายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)  เพื่อหารือเกี่ยวกับภาพรวมกรอบเงินเฟ้อ ภาพรวมนโยบายการเงินและการคลังที่จะต้องทำงานร่วมกัน สอดประสานกัน การมองภาพรวมและทิศทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะเป็นการพูดคุยภายใน 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง