รีเซต

พนักงานเอกชนลาออก ยังมีความคุ้มครอง กับ สิทธิประกันสังคม มาตรา 39

พนักงานเอกชนลาออก  ยังมีความคุ้มครอง กับ สิทธิประกันสังคม มาตรา 39
TrueID
28 สิงหาคม 2563 ( 15:24 )
37.2K
2
พนักงานเอกชนลาออก  ยังมีความคุ้มครอง กับ สิทธิประกันสังคม มาตรา 39

"ประกันสังคม" หรือ "กองทุนประกันสังคม" มาตรา 39 คุ้มครองใครบ้าง และคุ้มครองกี่ประเภท trueID news จะพาทุกท่านไปรู้จักประกันสังคมมาตรานี้กัน

 

ขอบคุณภาพ : สำนักงานประกันสังคม

 


ประกันสังคม มาตรา 39 สำหรับใคร?

"ประกันสังคม มาตรา 39" สำหรับผู้ที่เคยเป็นพนักงานเอกชนแล้วลาออก โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องเคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 ส่งเงินสมทบไม่น้อยกว่า 12 เดือน ลาออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่ลาออกจากงาน

 

ผู้ประกันตน มาตรา 39 ให้ความคุ้มครองอะไรบ้าง

ให้ความคุ้มครอง 6 กรณี ดังนี้ เจ็บป่วย ตาย คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ทุพพลภาพ ชราภาพ

 

คุณสมบัติของผู้สมัคร     

 

  • เคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 นำส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือนและออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน นับแต่วันที่ลาออกจากงาน
  • ต้องไม่เป็นผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีทุพพลภาพจากกองทุนประกันสังคม        
    การยื่นใบสมัคร
  • ต้องยื่นใบสมัครตามแบบคำขอเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 (แบบ สปส. 1-20) ด้วยตนเอง ภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่ลาออกจากงาน

 

    
สถานที่ยื่นใบสมัคร  

   

กรุงเทพฯ   ยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่  

ภูมิภาค      ยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข)  

     
หลักฐานการสมัครมาตรา 39      

 

  • แบบขอเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 (สปส.1-20)
  • บัตรประชาชนหรือบัตรอื่นที่มีรูปถ่าย ซึ่งทางราชการออกให้พร้อมสำเนา
  • เงินสมทบที่ต้องนำส่งสำนักงานประกันสังคมเดือนละ 432 บาทต่อเดือน

        เงินที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบ คือ เดือนละ 4,800 บาทเท่ากันทุกคน โดยคิดจากอัตราเงินสมทบ 9% (4,800 x 9% = 432 บาทต่อเดือน) ซึ่งผู้ประกันตนจะได้รับความคุ้มครอง 6 กรณี (กรณีเจ็บป่วย กรณีคลอดบุตร กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย กรณีสงเคราะห์บุตรและกรณีชราภาพ) ต่อเนื่องจากการเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33

 

วิธีการจ่ายเงินสมทบมาตรา 39

 

  • จ่ายที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา พร้อมแบบส่งเงินสมทบฯ (สปส. 1-11)
  • หักจากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์มี 7 ธนาคาร ดังนี้

        1. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)   

        2. ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)   

        3. ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)   

        4. ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)   

        5.  ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)   

        6.  ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)

        7.  ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

 

หมายเหตุ กรณีหักผ่านบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ขอรับหนังสือยินยอมให้หักเงินจากบัญชีเงินฝากธนาคารของผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ได้ที่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาที่เปิดบัญชี หรือ สำนักงานประกันสังคมทุกแห่งที่สะดวก (ยกเว้นสำนักงานใหญ่) 
ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ปรับลดค่าธรรมเนียมรายการละ 5 บาท  (เดิมคิดค่าธรรมเนียม 10 บาท)
 

จ่ายด้วยเงินสดที่

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)   
ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)   
ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)   
จ่ายผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส 7- ELEVEN ซึ่งจะมีค่าธรรมเนียมรายการละ 10 บาท สามารถจ่ายเงินสมทบได้ทุกสาขา
จ่ายเป็นธนาณัติ ณ ที่ทำการไปรษณีย์ พร้อมแบบส่งเงินสมทบ สปส. 1-11 ถึงสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา (กรณีจ่ายผ่านธนาณัติ แนะนำให้สอบถามเจ้าหน้าที่ด้วยว่า สั่งจ่าย ตู้ ป.ณ. ใด)
จ่ายผ่านเคาน์เตอร์ไปรษณีย์ได้ทุกสาขาทั่วประเทศ จะมีค่าธรรมเนียมรายการละ 10 บาท 
จ่ายผ่านเคาน์เตอร์เพย์สบายที่มีสัญลักษณ์ "แจ๋ว" ทุกสาขาทั่วประเทศ จะมีค่าธรรมเนียม 10 บาท

 

 

ขอบคุณภาพ : สำนักงานประกันสังคม


 หน้าที่ของผู้ประกันตนตามมาตรา 39

 

  • ต้องนำส่งเงินสมทบภายในวันที่ 15 ของทุกเดือน หากเกินกำหนดต้องเสียเงินเพิ่ม ในอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน

 

แจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงให้สำนักงานประกันสังคมดังนี้

  • กรณีเปลี่ยนแปลงสถานที่ติดต่อ ต้องแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 30 วัน ตามแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงสถานที่ติดต่อ (สปส. 1-34)
  • กรณีเปลี่ยนชื่อตัว - ชื่อสกุล หรือแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลอื่น ๆ ต้องแจ้งทันทีพร้อมแนบสำเนาหลักฐาน
  • กรณีประสงค์ลาออกหรือกลับเข้าทำงานและมีสถานะเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรทันทีตามแบบแจ้งการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน ตามมาตรา 39 (สปส.1-21)  

 

     
เหตุที่ทำให้ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 สิ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตน

  • ตาย
  • กลับเข้าเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33
  • ลาออก
  • ไม่ส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน (สิ้นสภาพตั้งแต่เดือนแรกที่ไม่ส่งเงินสมทบ)
  • ภายในระยะเวลา 12 เดือน ส่งเงินสมทบไม่ครบ 9 เดือน (สิ้นสภาพในเดือนที่ส่งเงินสมทบไม่ครบ 9 เดือน) 


หมายเหตุ สำหรับผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ได้เข้าเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 (ทำงานในสถานประกอบการ/นายจ้างใหม่) นายจ้างหรือผู้รับมอบอำนาจสามารถดำเนินการแจ้งขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนได้ภาย ใน 30 วันนับแต่วันที่เข้าทำงาน โดยผู้ประกันตนไม่ต้องไปดำเนินการลาออกจากการเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 (สปส.1-21) แต่อย่างใด 

ยกเว้น กรณีผู้ประกันตนตามมาตรา 39   มีการค้างชำระเงินสมทบจะต้องไปดำเนินการแจ้งการลาออก (สปส.1-21) ด้วยตนเองที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา ที่สมัครไว้ 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

>>>สิทธิประกันสังคมในการทำฟัน ครอบคลุมอะไรบ้าง ดัดฟัน จ่ายหรือไม่?

>>>อาชีพอิสระ งานส่วนตัว อย่าลืมใช้สิทธิสมัครประกันสังคม ม.40

>>> รวมปิดกิจการ - ยื่นล้มละลาย ปี 2020 พิษโควิด-19

 

 

 

ข้อมูล : สำนักงานประกันสังคม

==========

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง