"วันนอร์" ซัดแรงแก้รธน. ต้องสร้างรั้วป้องกันรัฐประหาร ย้ำรธน. ฉบับใหม่ควรมาจากประชาธิปไตย
TNN ช่อง16
10 ธันวาคม 2567 ( 14:53 )
44
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา เป็นประธานเปิดงาน วันรัฐธรรมนูญ 2567 ภายใต้ชื่องาน“สู่รัฐธรรมนูญในฝัน” เป็นการสร้างความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการเมืองในระบบรัฐสภา เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง ประธานรัฐสภา กล่าวว่า วันนี้ถือเป็นวันสำคัญของรัฐสภา ที่มาจากประชาชนอนุมัติรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ ซึ่งรัฐธรรมนูญ รัฐสภา และประชาชนมีความผูกพันกันอย่างแยกไม่ได้ และวันนี้ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงธรรมนูญ มาถึง 20 ฉบับ เห็นถึงความอ่อนแอของการรักษารัฐธรรมนูญ แต่เราต้องตระหนักถึงความปรารถนาดี พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ที่จำใจจะมอบรัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยให้กับคนไทยทั้งประเทศ โดยที่ไม่มอบอำนาจให้กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งใช้อำนาจในการมาบริหารประเทศนี้โอกาสนี้ ประธานรัฐสภายังยกตัวอย่างเหตุการณ์ทางการเมืองในประเทศเกาหลีใต้ ที่ล่าสุด สภายับยั้งการประกาศกฎอัยการศึกของประธานาธิบดี ซึ่งทำให้เห็นว่าประเทศเกาหลีใต้ ก้าวข้ามมาได้เพราะมีรัฐธรรมนูญที่เข้มแข็ง เช่นเดียวกับประเทศตุรกีที่มีประชาชนเข้มแข็ง นายวันมูหะมัดนอร์ ยังย้ำว่า ตนเองไม่เห็นด้วยกับการฉีกรัฐธรรมนูญ ซึ่งการฉีกรัฐธรรมนูญเป็นการอ้างของผู้ปกครองประเทศ และความบกพร่องของสภา ซึ่งเป็นข้ออ้างแต่ตนยอมรับว่ารัฐสภายังมีข้อบกพร่อง ผู้บริหารอาจจะไม่ดี แต่การฉีกรัฐธรรมนูญเกิดรัฐประหาร ก็สามารถแก้ได้เพราะรัฐสภาเป็นของประชาชน และผู้บริหารมาจากประชาชน ก็ต้องแก้ด้วยประชาชน ถ้าผู้บริหารไม่ดีประชาชนก็จะไม่เลือก ถ้ารัฐสภาไม่ดีก็ต้องเกิดการยุบสภา ซึ่งหลังจากนั้นประชาชนก็จะต้องเลือกเข้ามา ดังนั้นประชาชนสำคัญที่สุด เพราะประชาธิปไตยเป็นของประชาชน ไม่ใช่อำนาจของกระบอกปืน สำคัญในระบอบประชาธิปไตย วันนี้ถึงเวลาที่จะพร้อมสร้างสิ่งเหล่านี้ โดยรัฐธรรมนูญในอนาคตมีนักวิชาการหลายท่านที่มาในวันนี้ อาจจะมีส่วนสำคัญในการสร้างรัฐธรรมนูญ ส่วนตัวชอบคำพูดของ นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล ที่ระบุว่ารัฐธรรมนูญในอนาคตควรจะมีบทบัญญัติของการป้องกันปฏิวัติรัฐประหาร หลักการป้องกันการฉีกรัฐธรรมนูญ เช่นเหมือนกับประเทศเกาหลีใต้ที่มีการป้องกันได้ เพราะมีกลไกในสภา ซึ่งถือเป็นเครื่องมือ แต่หลายคนมองว่า นักปฏิวัติฉีกรัฐธรรมนูญได้อยู่ดี ดังนั้น จึงเห็นว่าบ้านที่มีรั้วมีประตู กับบ้านที่ไม่มีรั้ว ไม่มีประตู สิ่งไหนจะป้องกันโจรได้ดีกว่า ตนเองจึงอยากเห็น รัฐธรรมนูญฉบับต่อไปต่อไปเป็นบ้าน ที่มีรั้วมีประตูและใส่กุญแจได้ เพื่อให้คนอยู่ในนั้นพร้อมปิดประตู และต่อสู้ในรั้วของตนเองได้ โดยการแก้ไขรัฐธรรมนูญข้างหน้า จะต้องมีความหวังมีความหวังกับบทบัญญัติ ต้องมีบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ และที่สำคัญ การป้องกันรัฐประหารจะอาศัยแค่ รัฐสภา ประชาชนอย่างเดียวไม่ได้ จะต้องมีตุลาการ ศาล ต้องมีส่วนป้องกัน พร้อมกันนี้ยังย้ำว่าไม่อยากเห็นการเฉลิมฉลองวันรัฐธรรมนูญ แต่ต้องมองไปข้างหน้า ว่ามีรัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยแล้ว จะป้องกันรัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยให้ยืนนานได้อย่างไร และพร้อมใจป้องกันรัฐธรรมนูญ ซึ่งถึงเวลาแล้วที่จะต้องสร้างแนวรั้วป้องกันรัฐธรรมนูญ ซึ่งรัฐสภาและสถาบันพระปกเกล้าจะมีการอบรมประชาชนแม้จะต้องใช้งบประมาณ แต่ก็เพื่อให้คนเข้าใจในรัฐประชาธิปไตยพร้อมกับปกป้องรัฐธรรมนูญ ให้เหมือนกับประชาชนชาวเกาหลีใต้ และประเทศตุรกี ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่คุ้มค่า ปลูกฝังประชาชนในการรับประชาธิปไตย ตนเองขอฝากนายพิเชษฐ์เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาคนที่สอง เป็นหัวหน้าโครงการนี้ เพราะถึงเวลาที่จะต้องทำอย่างจริงจัง ซึ่งตนเองเชื่อด้วยความสุจริตใจว่าไม่มีใครอยากปฏิวัติถ้าไม่จำเป็น ดังนั้นทุกฝ่ายต้องร่วมมือกัน ซึ่งตนเองไม่อยากเห็นการปฏิวัติรัฐประหารที่ตนเองเห็นมาหลายครั้งแล้ว พร้อมกับเห็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญหลายครั้ง ทุกคนอาจจะเป็นส่วนหนึ่ง ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งที่ 21 นี้ และมีแนวทาง ปกป้องประชาชน ปกป้องรัฐประหารไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ อย่างน้อยให้มีรั้วดีกว่าไม่มีรั้วหลังจากนั้น ประธานรัฐสภากล่าวเพิ่มเติมว่า ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งต่อไปแนวทางป้องกันการรัฐประหาร คือจะต้องมีบทบัญญัติ ว่าด้วยการลงโทษ ผู้ที่กระทำด้วยการทำปฏิวัติ ล้มล้างรัฐธรรมนูญ และขอให้บทบัญญัตินั้นนำไปสู่การปฏิบัติให้ได้ไม่ใช่แค่มีบทบัญญัติอย่างเดียว ส่วนจะดำเนินการอย่างไรนั้นต้องศึกษารัฐธรรมนูญของประเทศเกาหลีใต้ ที่มีบทบัญญัติเรื่องนี้ไว้ว่าเมื่อมีการยึดอำนาจสามารถนำบทบัญญัตินี้เข้าสู่รัฐสภาลบล้างอำนาจที่ประกาศไว้ได้ ซึ่งถือว่าเป็นตัวอย่างที่ง่าย ซึ่งส่วนตัวคิดว่าคนไทยคงเก่งที่จะร่างกฎหมายต่างๆ ให้นำไปใช้ได้ แต่สำคัญอยู่ที่ประชาชนร่วมมือกัน เหมือนกับประเทศเกาหลีใต้ที่ร่วมมือกันที่ไม่เห็นด้วยกับการประกาศกฎอัยการศึก ถ้าประชาชนไม่เห็นด้วยก็ไม่สำเร็จ ส่วนเรื่องนี้จะไปสอดคล้องกับการแก้ไขร่างพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม โดยให้อำนาจคณะรัฐมนตรี มีหน้าที่และอำนาจพิจารณาแต่งตั้งนายทหารชั้นนายพล เพื่อสกัดการรัฐประหาร ที่พรรคเพื่อไทยสนับสนุน นายวันมูหะมัดนอร์ กล่าว่า คนละส่วนกัน เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องของพรรคการเมือง ซึ่งไม่เกี่ยวกัน แต่ ส่วนตัวเห็นว่ารัฐธรรมนูญ ที่จะแก้ไขในสมัยนี้ ต้องมีมาตรการที่ป้องกัน ไม่ให้รัฐธรรมนูญถูกฉีกอีก ส่วนบทลงโทษของผู้ที่ทำรัฐประหารนั้นความรุนแรงจะถึงระดับไหนนั้นขึ้นอยู่กับคณะกรรมการร่าง ว่าควรมีบทลงโทษขนาดไหน และจะต้องปฏิบัติได้ด้วย ก่อนหน้านี้มีบทลงโทษที่รุนแรงว่าการฉีกรัฐธรรมนูญคือกบฏ แต่ว่าไม่ได้ผลในด้านการปฏิบัติ ดังนั้นบทบัญญัติจะต้องสอดคล้องกับแนวปฏิบัติได้ด้วยและประชาชนยอมรับ โดยที่ต้องเอาทุกฝ่ายมาคุยกัน โดยเฉพาะฝ่ายที่มีอาวุธในมือ เพราะขณะนี้ โลกเปลี่ยนแปลงไปมาก การเมืองก็เปลี่ยนแปลงไปด้วย ดูจากหลายแห่งการเมืองในประเทศเกาหลีใต้และไนจีเรีย ซึ่งประเทศไทยจะอยู่อย่างนี้โดยไม่เปลี่ยนแปลง ประชาธิปไตยคงจะล้าหลังมากที่มาข่าว:TNN