รีเซต

"ข้อควรรู้ เมื่อเจอด่านตรวจ" ช่วงสงกรานต์ ปี64

"ข้อควรรู้ เมื่อเจอด่านตรวจ" ช่วงสงกรานต์ ปี64
TrueID
8 เมษายน 2564 ( 12:59 )
962
  • ดีเดย์ 1 เม.ย.นี้ ตั้งจุดตรวจ-เป่าแอลกอฮอล์ทั่วกรุงเทพฯ
  • เป้าหมาย ต้องโปร่งใส มีกล้องบันทึกภาพ ป้องกันความเคลือบแคลงสงสัยจากประชาชน
  • จะออกใบสั่งต้องไม่กลั่นแกล้ง หรือพยายามหาเหตุในการออกใบสั่ง
  • หากประชาชนมั่นใจว่าตัวเองบริสุทธิ์ ไม่เคยกระทำความผิด และรถที่ใช้ขับขี่มีเอกสารถูกต้องตามกฎระเบียบครบถ้วน ก็ไม่ต้องกังวล

 

ตามคำสั่งเมื่อวันที่ 3 มีนาคมที่ผ่านมาของ บิ๊กปั๊ด” พล...สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. ที่ลงนามหนังสือเรื่องมาตรการปฏิบัติเกี่ยวกับการตั้งจุดตรวจเพื่อบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยจราจรทางบกและความผิดอื่น ที่เกี่ยวกับรถหรือการใช้ทาง

 

 

เพื่อกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานจราจรให้เป็นไปตามหลักกฎหมาย เป็นมาตรฐานสากล มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และไม่กระทบสิทธิกับประชาชนเกินสมควร สร้างความเชื่อมั่น และเกิดภาพลักษณ์ที่ดีในการบังคับใช้กฎหมาย จึงกำหนดมาตรการปฏิบัติเกี่ยวกับการตั้งจุดตรวจ

 

สาระหลักของคำสั่งดังกล่าว เน้นการกำหนดแผนการตั้งจุดตรวจ และการปฏิบัติในการตั้งจุดตรวจประเภทต่างๆ, หลักปฏิบัติการตั้งจุดตรวจกวดขันวินัยจราจร, หลักปฏิบัติการตั้งจุดตรวจวัดมลภาวะอันเกิดจากยานพาหนะ อย่างชัดเจน เพื่อให้การปฏิบัติเกี่ยวกับการตั้งจุดตรวจเพื่อบังคับใช้กฎหมายเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ เกิดความปลอดภัยและความสะดวกในการจราจร โดยสั่งการทุกสถานีตำรวจนครบาล เตรียมเริ่มกำหนดแผนจัดทำแนวทางการปฏิบัติ วันที่ 1 เมษายน 2564 เป็นต้นไป

 

แนวทาง/วิธีการตั้งจุดตรวจ/ด่านตรวจ/จุดสกัด จุดตรวจ หมายถึงสถานที่ที่เจ้าพนักงานตํารวจ ออกปฏิบัติหน้าที่ตรวจค้นเพื่อจับกุม ผ้กระทำผิดในเขตทางเดินรถ หรือทางหลวง ในกรณีปกติเป็นการชั่วคราว โดยมีกําหนด ระยะเวลาเท่าที่มีความจําเป็นในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวแต่ต้องไม่เกิน 24 ชั่วโมง และเมื่อ เสร็จสิ้นภารกิจแล้วจะต้องยุบจุดตรวจดังกล่าวทันที 

 

ด่านตรวจ หมายถึงสถานที่ทําการที่เจ้าพนักงานตํารวจ ออกปฏิบัติหน้าที่ในการ ตรวจค้น เพื่อจับกุมผ้กระทำผิดในเขตทางเดินรถ (ความหมายตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.  2522 หรือทางหลวง ความหมายตาม พ.ร.บ. ทางหลวง พ.ศ. 2535) โดยระบุสถานที่ไว้ชัด แจ้งเป็นทางการ การต้งด่านตรวจจะต้องได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี หรือผ้มีอำนาจตาม กฎหมายว่าด้วยทางหลวง หรือกองอํานวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) แล้วแต่ กรณี 

 

จุดสกัด หมายถึงสถานที่ทําการที่เจ้าพนักงานตํารวจออกปฏิบัติหน้าที่ในการตรวจ ค้น เพื่อจับกุมผ้กระทำผิดในเขตทางเดินรถ (ความหมายตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ.  2522 หรือทางหลวง ความหมายตาม พ.ร.บ. ทางหลวง พ.ศ. 2535) ในกรณีที่มีเหตุ ฉุกเฉิน หรือจําเป็นเร่งด่วน ให้จัดต้งเป็นการชั่วคราว และเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจแล้วจะต้อง ยุบยกเลิกจุดตรวจดังกล่าวทันที 

 

ทั้งนี้แนวทางการปฏิบัติที่สำคัญ ของด่านตำรวจ ยุค พล.ต.อ.สุวัฒน์ คือ

 

1.  การตั้งจุดตรวจต้องได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชา ตั้งแต่ระดับ ผบก.ขึ้นไป

2. การตั้งจุดตรวจต้องมีแผนการปฏิบัติที่ชัดเจน

3. จุดตรวจวัดแอลกอฮอล์ต้องมีป้ายแสดงถึงมาตรฐานการตรวจวัดแอลกอฮอล์ ตั้งไว้ตรงบริเวณใกล้ โต๊ะตรวจวัดฯ ในลักษณะที่ผู้รับการตรวจวัดฯ มองเห็นได้ชัดเจน

4. การกำหนดสถานที่ตั้งจุดตรวจวัดแอลกอฮอล์ ต้องกำหนดมาจาก

- ข้อมูลผู้กระทำความผิดเมาแล้วขับในเขตพื้นที่

- สถิติการเกิดอุบัติเหตุ สาเหตุมาจากเมาแล้วขับ

- สภาพการจราจร ความปลอดภัยของผู้ใช้รถใช้ถนนและเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นสำคัญ

- ความสะดวก มีที่จอดยานพาหนะของผู้ขับขี่ มีไฟฟ้าสำหรับใช้ที่จุดตรวจฯ เช่น สำหรับกล้องวงจรปิด สัญญาณไฟวบวาบ และเครื่องพิมพ์ผลการตรวจ เป็นต้น


5. จุดตรวจวัดแอลกอฮอล์ต้องมีแผงกั้นที่มีเครื่องหมายการจราจรว่า "หยุดตรวจ" โดยให้เป็นไปตามมาตรฐานที่จุดตรวจ และในเวลากลางคืนจะต้องมีแสไฟส่องสว่างให้มองเห็นได้อย่างชัดเจนในระยะไม่น้อยกว่า 150 เมตร และก่อนถึงจุดตรวจให้มีแผ่นป้ายแสดงยศ ชื่อ นามสกุล และตำแหน่ง ของหัวหน้าด่านตรวจ หรือจุดตรวจดังกล่าว

 

6. การสื่อสารกับประชาชนในการบังคับใช้กฎหมาย ต้องมีการอธิบายข้อกฎหมายให้ผู้กระทำผิดเข้าใจ ข้อกล่าวหา โดยใช้กิริยาวาจาที่สุภาพ

 

7. การตั้งจุดตรวจวัดแอลกอฮอลให้ปฏิบัติตามมาตรการการปฏิบัติเกี่ยวกับการตั้งด่านตรวจ จุดตรวจและจุดสกัด ตามที่ ตร.ได้เคยสั่งการไว้อย่างเคร่งครัด  นำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อให้เกิดความโปร่งใส ตรวจสอบได้  บันทึกข้อมูลการตั้งจุดตรวจวัดแอลกอฮอล์ตามแผนการปฏิบัติ ลงในระบบการจัดทำแผนการตั้งจุดด่านตรวจกวดขันวินัยจราจร (Police Traffic Checkpoint Control)

 

8.ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่ประจำจุดตรวจวัดแอลกอฮอล์ทุกนาย บันทึกการปฏิบัติหน้าที่ด้วยกล้องบันทึกภาพคลื่อนไหว เพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานในการปฏิบัติหน้ที่ และเพื่อยืนยันหลักความโปร่งใสการตรวจสอบได้

 

9. การตรวจวัดแอลกอฮอล์ ให้มีการตรวจเบื้องต้นและแบบยืนยันผล และต้องบันทึกการตรวจทั้งสองแบบด้วยกล้องบันทึภาพเคลื่อนไหว แบบดิจิตอลชนิดใส่ซิมเน็ต เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาสามารถตรวจสอบได้แบบ real time

 

10. แนวทางการปฏิบัติเพื่อป้องกันการทุจริต

- จัดโต๊ะสำหรับตรวจวัดแอลกอฮอล์แบบยืนยันผลให้มีแสงสว่างมากพอ เป็นสถานที่เปิดเผย ป้องกันความเคลือบแคลงสงสัยจากประชาชน

- มีบ้ายไว้ตรงบริเวณจุดตรวจวัดฯ มีข้อความว่า "จุดตรวจวัดแอลกอฮอล์ สน./สภ..... มีการบันทึกภาพคลื่อนไหวแบบดิจิตอลไว้เป็นหลักฐาน เพื่อความโปร่งใส ตรวจสอบได้ เป็นมาตรฐานสากล"

- เมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติแล้ว ให้หัวหน้าจุดตรวจวัดแอลกอฮอล์ รายงานผลการปฏิบัติเป็นลายลักษณ์อักษรเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น

- ให้หัวหน้าสถานีตรวจสอบข้อมูลการตรวจที่พิมพ์จากครื่องตรวจวัดแอลกอฮอล์  หากพบข้อมูลผิดปกติ ให้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริง และดำเนินการตามกฎหมายและระเบียบต่อไป

- ให้หัวหน้าสถานีตำรวจจัดทำระบบจัดเก็บไฟล์ภาพเคลื่อนไหวแบบดิจิตอลการตรวจวัดแอลกอฮอล์เพื่อป้องกันการร้องเรียนการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจวัดฯ ในภายหลัง

- จัดให้มีแผ่นป้ายแสดข้อความว่า "หากพบเจ้าหน้าที่ทุจริต หรือประพฤติมิชอบให้แจ้งผู้บังคับบัญชา โทร...ให้ใส่หมายเลขโทรศัพท์มือถือของ ผบก.ไว้  หรือ แจ้งร้องเรียนการปฏิบัติหน้าที่ สายด่วน หมายเลข1599" ข้อความดังกล่าวข้างต้นให้มองเห็นได้อย่างชัดเจนในระยะไม่น้อยกว่า 15 เมตร

 

นอกจากนี้ยังกำหนดโมเดลการตั้งด่านว่า ในโรงพักขาดใหญ่ต้องมีเจ้าหน้าที่ประจำด่าน 12 คน

 

เมื่อคณะได้ทำคตรวจสอบการตั้งจุดตรวจทดลองในครั้งนี้แล้ว จะทำการพิจารณาเพื่อสรุปข้อมูลว่าการ ตั้งจุดตรวจดังกล่าว เป็นไปตามแนวทางของ ผบ.ตร.ที่ได้มอบนโยบายไว้หรือไม่ ซึ่งหากเป็นไปตามแนวทาง จะได้นำเสนอเพื่อกำหนดเบ็นแนวทางในการตั้งจุดตรวจ เพื่อให้ทุกหน่วยในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติต่อไป

 

ข้อควรรู้ เมื่อเจอด่านตรวจ

 

จุดประสงค์ของการตั้งด่านตรวจ คือ

  • ตรวจสอบคนทำความผิดด้านการจราจร
  • ทั้งสภาพรถ ข้อบังคับการชำระภาษีประจำปี
  • เมาสุราแล้วขับขี่ เพื่อจัดระเบียบความปลอดภัยบนถนน
  • รวมถึงการป้องปรามผู้ก่ออาชญากรรม ในการป้องกันด้านความมั่นคง

หากประชาชนมั่นใจว่าตัวเองบริสุทธิ์ ไม่เคยกระทำความผิด และรถที่ใช้ขับขี่มีเอกสารถูกต้องตามกฎระเบียบครบถ้วน ก็ไม่ต้องกังวล

 

  • ทั้งนี้ การตั้งด่านตรวจนั้น ผู้ปฏิบัติย่อมมีอำนาจขอดูใบขับขี่ ตรวจค้นตามกฎหมายอยู่แล้ว...หากผู้ขับขี่ไม่ยอมแสดงใบขับขี่ อาจมีสิทธิถูกแจ้งข้อกล่าวหา “ขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน” ตามกฎหมายอาญา ม.368 "ผู้ใดทราบคำสั่งของเจ้าพนักงาน ซึ่งสั่งการตามอำนาจที่มีกฎหมายให้ไว้ ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นโดยไม่มีเหตุหรือข้อแก้ตัวอันสมควร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 วัน และปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"

 

  • หากแอบอ้างคนใหญ่ คนโต ราชการระดับสูง พร้อม "ข่มขู่" จนถึงขั้นเกิดความกลัว ไม่กล้าปฏิบัติหน้าที่อันชอบด้วยกฎหมาย อาจมีความผิดข่มขู่เจ้าพนักงาน ตาม ม.139 คือ "ผู้ใดข่มขืนใจเจ้าพนักงานให้ปฏิบัติการอันมิชอบด้วยหน้าที่ หรือให้ละเว้นการปฏิบัติการตามหน้าที่ โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 4 ปี หรือปรับไม่เกิน 8 พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"

 

  • หากผู้ขับขี่มีความผิดตาม พ.ร.บ.จราจร 2522 ม.43 (2) เมาสุรา หรือของเมาอย่างอื่นขณะขับขี่ เจ้าหน้าที่ตำรวจมีอำนาจเรียกหยุดตรวจ ตาม ม.142 วรรค 2 เพื่อทดสอบผู้ขับขี่ว่าหย่อนความสามารถในการขับขี่หรือไม่ หากไม่ยอมตรวจทดสอบ สามารถกักตัวดำเนินการทดสอบภายในเวลาเท่าที่จำเป็น

“ผู้ขับขี่นั้นยังไม่ยอมทดสอบอีก ที่เชื่อว่าขับรถในขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้นั้นมีอาการมึนเมา

 

  • กรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจ มีเหตุต้องสงสัย พิรุธของการกระทำความผิด มีอำนาจหน้าที่เรียกตรวจประชาชนได้เสมอ แม้แต่การขอตรวจความผิดด้านการจราจร หากประชาชนได้ให้ความร่วมมือในการตรวจค้นอย่างเต็มที่แล้ว และมีเหตุอันเกรงกลัว หรือเกิดความระแวงการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ตำรวจ สามารถใช้โทรศัพท์มือถือถ่ายภาพไว้เป็นหลักฐาน

 

  • การตรวจค้นพบว่า มีสิ่งผิดกฎหมายไว้ในครอบครอง จะด้วยเจตนาก็ดี หรือไม่เจตนาก็ดี ตามหลักเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องแจ้งข้อกล่าวหาในชั้นจับกุม ในส่วนสิทธิของบุคคลนั้นสามารถปฏิเสธได้ หรือ ชี้แจงสิทธิตามความเหมาะสม แต่ไม่ควรสร้างอารมณ์ให้เกิดการโต้เถียงระหว่าง 2 ฝ่าย เพราะไม่เกิดประโยชน์ อาจเกิดความสุ่มเสี่ยงต่อผู้ถูกกล่าวหา

 

  • บางครั้งการเกิดการโต้เถียงที่ไม่มีพฤติกรรมขัดขวางต่อสู้ เช่น แค่เพียงสะบัดมือตามปฏิกิริยาป้องกันตัวของคน อาจทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าใจผิด แจ้งข้อหาขัดขวาง และใช้ยุทธวิธีควบคุมจับกุมเกินกว่าเหตุขึ้น กลายความเสียเปรียบมากขึ้นกว่าเดิม

 

  • ตาม “จุดตรวจ” มักมีพยานบุคคลที่เห็นเหตุการณ์น้อย ส่วนใหญ่มีเฉพาะเจ้าหน้าที่ตำรวจเท่านั้น ดังนั้น ควรไปให้ปากคำในชั้นพนักงานสอบสวนที่สถานีตำรวจดีกว่า เพราะมีผู้คนพลุกพล่าน ปลอดภัย และสามารถใช้สิทธิของผู้ถูกกล่าวหาได้อย่างเต็มที่ มีทั้งสิทธิพบปรึกษาทนายความ หรือประสงค์แจ้งให้ญาติผู้ไว้วางใจทราบถึงการจับกุม ที่สามารถดำเนินการได้โดยสะดวก ซึ่งพนักงานสอบสวน จะเป็นผู้อนุญาตให้ผู้ถูกจับดำเนินการได้ตามสมควร

 

  • สุดท้ายนี้ต้อง “เข้าใจ” และ “เห็นใจ” ทั้ง 2 ฝ่าย เพราะหากเจ้าพนักงานไม่ปฏิบัติ ตรวจ ค้น จับกุม อาจเข้าข่ายความผิด ป.อ.ม.157 เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ

 

ส่วนประชาชนคิดว่าตัวเองบริสุทธิ์อยู่แล้ว การให้ดูใบขับขี่ ตรวจค้น ก็ไม่ต้องมีความกังวลใจอะไร แต่หากไม่ให้ตรวจตามนั้น จะเกิดปัญหา อาจเข้าข่ายความผิด ป.อ.ม.368 ในเรื่องขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน

 

ข้อมูล : TNN ช่อง16 , มติชน

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง