รีเซต

กระทรวงในประเทศไทยมีกี่กระทรวง? กระทรวงในประเทศไทยมีอะไรบ้าง เช็คที่นี่!

กระทรวงในประเทศไทยมีกี่กระทรวง? กระทรวงในประเทศไทยมีอะไรบ้าง เช็คที่นี่!
TrueID
22 สิงหาคม 2566 ( 16:29 )
1.3K

กระทรวงในประเทศไทยมีกี่กระทรวง? กระทรวงในประเทศไทยมีอะไรบ้าง เช็คที่นี่! ซึ่ง เป็นหน่วยงานของรัฐบาลไทย จะมีกระทรวงอะไรบ้าง มีอำนาจ หน้าที่อย่างไร รวบรวมความรู้มาให้แล้ว

 

 

กระทรวงในประเทศไทย

 

สำหรับการ ประชุมรัฐสภา วันที่ 22 สิงหาคม 2566 เรื่อง โหวตนายกรอบ 3 ซึ่ง พรรคเพื่อไทย พรรคการเมืองอันดับที่ 2 ที่ได้คะแนนเสียงจากการ เลือกตั้ง 2566 วันที่ 14 พฤาภาคม ที่ผ่านมา ได้มีการเสนอชื่อ เศรษฐา ทวีสิน ว่าที่ นายกคนที่ 30 ของไทย 

 

โดยหากประเทศไทยได้ นายกคนที่ 30 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งประเด็นร้อนที่คอการเมืองต่างจับตามอง คือ รัฐมนตรีของแต่ละกระทรวงว่า นักการเมืองคนใด จากพรรคการเมืองไหนจะได้นั่งเก้าอี้ กระทรวง บ้าง ซึ่งวันนี้จะพาไปรู้จัก กระทรวงในประเทศไทย มีกี่กระทรวง กระทรวงอะไรบ้าง มาดูกันเลย 

 

 

กระทรวงในประเทศไทยมีกี่กระทรวง? 

 

ข้อมูลจากเว็บไซต์ วิกิพีเดีย อธิบายว่า กระทรวงในประเทศไทย เป็นหน่วยงานของรัฐบาลไทย จัดตั้งขึ้นโดยการตราพระราชบัญญัติ ปัจจุบันมีกระทรวงหรือเทียบเท่าจำนวนทั้งสิ้น 20 กระทรวง

 

กระทรวงในประเทศไทยมีอะไรบ้าง?

 

  1. สำนักนายกรัฐมนตรี
  2. กระทรวงกลาโหม
  3. กระทรวงการคลัง
  4. กระทรวงการต่างประเทศ
  5. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
  6. กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
  7. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  8. กระทรวงคมนาคม
  9. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  10. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
  11. กระทรวงพลังงาน
  12. กระทรวงพาณิชย์
  13. กระทรวงมหาดไทย
  14. กระทรวงยุติธรรม
  15. กระทรวงแรงงาน
  16. กระทรวงวัฒนธรรม
  17. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
  18. กระทรวงศึกษาธิการ
  19. กระทรวงสาธารณสุข
  20. กระทรวงอุตสาหกรรม

 

1. กระทรวงในประเทศไทย สำนักนายกรัฐมนตรี (นร) 

เริ่มที่ สำนักนายกรัฐมนตรี (นร) มีฐานะเป็นกระทรวงในประเทศไทย มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี  รับผิดชอบการบริหารราชการทั่วไป ตั้งแต่การ เสนอแนะนโยบายและวางแผนการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และความมั่นคง

 

และราชการเกี่ยวกับการงบประมาณ ระบบราชการ การบริหารงานบุคคล กฎหมายและการพัฒนากฎหมาย การติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติราชการ การส่งเสริมการลงทุน การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ การบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ การปฏิบัติภารกิจพิเศษ และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักนายกรัฐมนตรีหรือส่วนราชการที่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี หรือที่มิได้อยู่ภายในอำนาจหน้าที่ของกระทรวงใดโดยเฉพาะ

 

2. กระทรวงกลาโหม (กห.)

 

ถือเป็น กระทรวงในประเทศไทย ที่สำคัญอย่างมาก เนื่องจากเป็นกระทรวงที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการป้องกันและรักษาความมั่นคงของราชอาณาจักรจากภัยคุกคามทั้งภายนอกและภายในประเทศ การรักษาผลประโยชน์แห่งชาติ สนับสนุนการพัฒนาประเทศ และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหมหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงกลาโหม

 

ซึ่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐบาลที่ผ่านมานั้น มักจะเป็นตำแหน่งที่ นายกรัฐมนตรี นั่งควบรวมอยู่ด้วย 

 

3. กระทรวงการคลัง (กค)

 

มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการเงินการคลังแผ่นดิน การประเมินราคาทรัพย์สิน การบริหารพัสดุภาครัฐ กิจการเกี่ยวกับที่ราชพัสดุ ทรัพย์สินของแผ่นดิน ภาษีอากร การรัษฎากร กิจการหารายได้ที่รัฐมีอำนาจดำเนินการได้แต่ผู้เดียวตามกฎหมายและไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการอื่น การบริหารหนี้สาธารณะ การบริหารและการพัฒนารัฐวิสาหกิจและ หลักทรัพย์ของรัฐ และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงการคลังหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงการคลัง

 

4. กระทรวงการต่างประเทศ (กต)

 

มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการต่างประเทศ และราชการอื่นตามที่ได้มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศหรือส่วน ราชการที่สังกัดกระทรวงการต่างประเทศ

 

5. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก)

 

สำหรับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา หรือ กก นั้น จะมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การกีฬา การศึกษาด้านกีฬา นันทนาการ และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

 

6. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม)

 

มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการพัฒนาสังคม การสร้างความเป็นธรรมและความเสมอภาคในสังคม การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพและความมั่นคงในชีวิต สถาบันครอบครัว และชุมชน และราชการอื่นตามที่มีกฎหมาย กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

 

7. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว)

 

มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริม สนับสนุน และกำกับการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์การวิจัยและการสร้างสรรค์นวัตกรรม เพื่อให้การพัฒนาประเทศเท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก และราชการอื่น ตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและ นวัตกรรม หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม

 

8. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ)

 

มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการเกษตรกรรม การจัดหาแหล่งน้ำและพัฒนาระบบชลประทาน ส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร ส่งเสริมและพัฒนาระบบสหกรณ์รวมตลอดทั้งกระบวนการผลิตและสินค้าเกษตรกรรม และราชการอื่นที่ กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์หรือส่วนราชการที่สังกัด กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

 

9. กระทรวงคมนาคม (คค)

 

อีกหนึ่ง กระทรวงในประเทศไทย ที่น่าสนใจ กระทรวงคมนาคม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการขนส่ง ธุรกิจการขนส่ง การวางแผนจราจร และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคม และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงคมนาคมหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงคมนาคม

 

 

10. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ)

 

มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผน ส่งเสริม พัฒนา และดำเนินกิจการเกี่ยวกับดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม การอุตุนิยมวิทยา การสถิติและราชการอื่น ตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงดิจิทัลเพื่อ เศรษฐกิจและสังคม หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

 

11. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส)

 

มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการป่าไม้ การสงวน อนุรักษ์ และการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การจัดการ การใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน และราชการอื่นตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

 

12. กระทรวงในประเทศไทย กระทรวงพลังงาน (พน)

 

มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดหา พัฒนาและบริหารจัดการพลังงาน และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของกระทรวงพลังงานหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงพลังงาน

 

13. กระทรวงพาณิชย์ (พณ)

 

มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการค้า ธุรกิจบริการ ทรัพย์สินทางปัญญา และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงพาณิชย์หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงพาณิชย์

 

14. กระทรวงมหาดไทย (มท)

 

มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบำบัดทุกข์บำรุงสุข การรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน การอำนวยความเป็นธรรมของสังคม การส่งเสริมและพัฒนาการเมืองการปกครอง การพัฒนาการบริหารราชการส่วนภูมิภาค การปกครองท้องที่ การส่งเสริม การปกครองท้องถิ่นและพัฒนาชุมชน การทะเบียนราษฎร ความมั่นคงภายใน กิจการสาธารณภัย และการพัฒ นาเมืองและราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของ กระทรวงมหาดไทยหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงมหาดไทย

 

15. กระทรวงยุติธรรม (ยธ)

 

มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการกระบวนการยุติธรรม เสริมสร้างและอำนวยความยุติธรรมในสังคม และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงยุติธรรมหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงยุติธรรม

 

16. กระทรวงแรงงาน (รง)

 

มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารและคุ้มครอง แรงงาน พัฒนาฝีมือแรงงาน ส่งเสริมให้ประชาชนมีงานทำ และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงแรงงานหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงแรงงาน

 

17. กระทรวงวัฒนธรรม (วธ)

 

มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับศิลปะ ศาสนา และวัฒนธรรม และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงวัฒนธรรมหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงวัฒนธรรม

 

18. กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ) กระทรวงในประเทศไทย

 

มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและกำกับ ดูแลการศึกษาทุกระดับ ทุกประเภท และการอาชีวศึกษา แต่ไม่รวมถึงการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกระทรวงอื่นที่มีกฎหมายกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ กำหนดนโยบาย แผน และ มาตรฐานการศึกษา สนับสนุนทรัพยากรเพื่อการศึกษา ส่งเสริมและประสานงานการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และการกีฬา เพื่อการศึกษา รวมทั้งการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัด การศึกษา และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการหรือ ส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ

 

19. กระทรวงสาธารณสุข (สธ)

 

และกระทรวงที่สำคัญ และถูกช่วงชิงเมื่อ การจัดตั้งรัฐบาล รวมเสียงหลากหลายพรรค ซึ่ง กระทรวงสาธารณสุข มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ อนามัย การป้องกัน ควบคุม และรักษาโรคภัย การฟื้นฟูสมรรถภาพของประชาชน และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุขหรือส่วนราชการที่สังกัด กระทรวงสาธารณสุข

 

 

20. กระทรวงอุตสาหกรรม (อก)

 

มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรม การพัฒนาผู้ประกอบการ และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงอุตสาหกรรมหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม

 

 

เกาะติด โหวตนายก 2566 

 

 

 

บทความเกี่ยวกับการ โหวตนายกรัฐมนตรี 2566

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง