รีเซต

เช็คสิทธิ ม.33 ม.39 ม.40 จ่ายเงินสมทบประกันสังคม เงินทดแทน ได้ช่องทางใดบ้าง

เช็คสิทธิ ม.33 ม.39 ม.40 จ่ายเงินสมทบประกันสังคม เงินทดแทน ได้ช่องทางใดบ้าง
Ingonn
11 กุมภาพันธ์ 2565 ( 09:51 )
3.4K

เช็คสิทธิรับเงินเยียวยา ม.33 ม.39 ม.40 ผู้ประกันตนสามารถจ่ายเงินสมทบทุนประกันสังคม หรือรับเงินประกันสังคม กองทุนเงินทดแทน ได้หลายช่องทาง โดยมาตรา 33 มาตรา 39 มาตรา 40 สามารถรับ-จ่ายได้ ตามช่องทาง เช่น ชำระทางเคาน์เตอร์ , e-Payment , หักบัญชีเงินฝากธนาคาร , Mobile App , ผ่านช่องทางธนาคาร  , หน่วยบริการต่างๆ เช่น ห้างสรรพสินค้า ไปรษณีย์ไทย แอปพลิเคชัน , จ่ายด้วยการโอนผ่านช่องทางธนาคารและบริการพร้อมเพย์ ซึ่งแตกต่างกันตามสิทธิ ม.33 ม.39 และ ม.40

 

วันนี้ TrueID จึงสรุปช่องทางการรับเงิน และจ่ายเงินสมทบทุนประกันสังคม และ กองทุนเงินทดแทน สามารถรับเงินได้ผ่านช่องทางใดบ้าง มีธนาคารใดร่วมบ้าง

 

หากส่งเงินสมทบประกันสังคมเกินทำอย่างไร

กรณีที่ส่งเงินสมทบประกันสังคมเกิน นายจ้างหรือผู้ประกันตนจะต้องยื่นความจำนงขอรับเงินสมทบคืนภายใน 1 ปีนับตั้งแต่วันที่ส่งเงินสมทบ โดยมีขั้นตอนดังนี้

  1. กรณีนายจ้างหรือสถานประกอบการส่งเงินสมทบเกิน 
    • นายจ้างต้องยื่นขอรับเงินคืนพร้อมแนบหลักฐานและเหตุผลในการขอรับเงินคืนได้ที่สำนักงานประกันสังคม

  2. กรณีผู้ประกันตนส่งเงินสมทบเกิน
    • หากผู้ประกันตนได้รับจดหมายแจ้งจากสำนักงานประกันสังคม สามารถกรอกข้อความแสดงความประสงค์ขอรับเงินคืนพร้อมลงลายมือชื่อยื่นที่สำนักงานประกันสังคมหรือส่งทางไปรษณีย์

 

กรณีที่นายจ้างยื่นขอรับคืนเงินให้ลูกจ้าง

  1. นายจ้างกรอกแบบคำขอรับคืนเงิน สปส.1-23/1
  2. สำเนาหรือหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล หรือสำเนาทะเบียนพาณิชย์ (อายุไม่เกิน 6 เดือน) พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
  3. แนบรายชื่อลูกจ้างที่ขอคืนพร้อมจำนวนเงินที่ขอคืนแต่ละคน
  4. หนังสือมอบอำนาจกระทำแทน
  5. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวที่หน่วยราชการออกให้ของนายจ้างและผู้รับอำนาจ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
  6. เอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการขอรับคืนเงิน เช่น หลักฐานการจ่ายเงินค่าจ้าง, หนังสือลาออกของผู้ประกันตน เป็นต้น (พร้อมรับรองสำเนาถูกต้องทุกฉบับ)


ในกรณีที่ลูกจ้างที่ได้รับจดหมายแจ้งจากประกันสังคม สามารถกรอกข้อความแสดงความประสงค์ขอรับเงินคืนพร้อมลงลายมือชื่อ และนำไปยื่นกับสำนักงานประกันสังคมหรือจะส่งทางไปรษณีย์ได้เลย

 

ช่องทางการรับเงินสมทบที่ส่งเกินจากสำนักงานประกันสังคม

  1. รับเงินสด/เช็ค นายจ้างขอรับด้วยตนเองโดยนำบัตรประจำตัวประชาชนไปแสดง หรือกรณีให้บุคคลอื่นไปแทนต้องทำหนังสือมอบอำนาจและนำบัตรประชาชนผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจแสดงด้วย

  2. รับเช็คทางไปรษณีย์ สำนักงานประกันสังคมจะส่งให้ภายใน 3 วันทำการนับจากวันที่อนุมัติคำสั่งจ่าย

  3. รับเงินผ่านทางธนาคาร ต้องแนบสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ ที่มีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้มีสิทธิเท่านั้น สำนักงานประกันสังคมจะแจ้งธนาคารให้โอนเงินเข้าบัญชีภายใน 5 วันทำการนับจากวันที่อนุมัติคำสั่งจ่าย

 

รับเงิน-จ่ายเงิน กองทุน "ประกันสังคม" และ กองทุนเงินทดแทน ช่องทางไหนบ้าง

 

กองทุนประกันสังคม

สถานประกอบการ (ม.33)

เคาน์เตอร์

  • Krungthai
  • Krungsri

 

e-Payment

  • Krungthai
  • Krungsri
  • ttb
  • SCB
  • KBank
  • Bangkok Bank
  • citi
  • SMBC
  • MIZUHO
  • Deutsche Bank
  • BNP
  • 7-11 เคาน์เตอร์เซอร์วิส
     

ผู้ประกันตน (ม.39)

เคาน์เตอร์

  • Krungthai
  • Krungsri
  • 7-11 เคาน์เตอร์เซอร์วิส
  • Lotus's
  • ไปรษณีย์ไทย
  • cen pay
  • Big C

 

หักบัญชีเงินฝากธนาคาร

  • Krungthai
  • Krungsri
  • ttb
  • SCB
  • KBank
  • Bangkok Bank
     

ผู้ประกันตน (ม.40)


เคาน์เตอร์

  • Krungthai
  • Krungsri
  • ธ.ก.ส.
  • 7-11 เคาน์เตอร์เซอร์วิส
  • Lotus's
  • cen pay
  • บุญเติม
  • Big C
     

หักบัญชีเงินฝากธนาคาร

  • Krungthai
  • Krungsri
  • ttb
  • SCB
  • KBank
  • Bangkok Bank
  • ออมสิน
  • ธ.ก.ส.
     

Mobile App

  • Shopee
     

 

กองทุนเงินทดแทน

เคาน์เตอร์

  • Krungthai
  • Krungsri
  • 7-11 เคาน์เตอร์เซอร์วิส
  • Lotus's
     

e-Payment

  • Krungthai
  • ttb
  • Kbank
  • Bangkok Bank
  • Deutsche Bank
  • 7-11 เคาน์เตอร์เซอร์วิส
     

 

ช่องทางการจ่ายเงินสิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคมและกองทุนเงินทดแทนผ่านธนาคาร


ม.33 และ ม.39 (โอนผ่านธนาคาร)

  • Krungthai
  • Krungsri
  • Bangkok Bank
  • ttb
  • SCB
  • Kbank
  • ธนาคารอิสลาม
  • CIMB Thai
  • ออมสิน
  • ธ.ก.ส.
  • PromptPay
     

ม.40 (โอนผ่านธนาคาร)

  • Krungthai
  • Krungsri
  • ออมสิน
  • ธ.ก.ส.
     

 

ขอรับเงินทดแทนกองทุนเงินทดแทน (โอนผ่านธนาคาร)

  • Krungthai
  • Krungsri
  • ออมสิน
  • ธ.ก.ส.

 

 

 

 

ข้อมูล สำนักงานประกันสังคม

 

 

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง