รีเซต

เหมือนผิวจริง! อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์คล้ายผิวหนัง สวมใส่ง่าย ซ่อมแซมตัวเองได้ด้วย

เหมือนผิวจริง! อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์คล้ายผิวหนัง สวมใส่ง่าย ซ่อมแซมตัวเองได้ด้วย
TNN ช่อง16
11 พฤศจิกายน 2563 ( 21:48 )
140
เหมือนผิวจริง! อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์คล้ายผิวหนัง สวมใส่ง่าย ซ่อมแซมตัวเองได้ด้วย

นักวิทยาศาสตร์พัฒนาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ลักษณะคล้ายผิวสามารถซ่อมแซมตัวเองได้ ยืดออกเป็นแผงวงจร และยึดติดกับร่างกายมนุษย์ได้

ผลงานชิ้นนี้เป็นของทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัย University of Colorado Boulder ในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้พัฒนาอุปกรณ์ที่มีลักษณะคล้ายผิวหนังบาง ๆ โดยมีคุณสมบัติเด่นคือมันสามารถซ่อมแซมตัวเองได้ และยังสามารถรีไซเคิลได้อย่างครบวงจรอีกด้วย


ผิวอิเล็กทรอนิกส์นี้จะสามารถใช้ทำงานที่เกี่ยวข้องกับระบบสัมผัสต่าง ๆ เช่น การนับเก้าเดินแต่ละวัน การวัดอุณหภูมิร่างกายและอัตราการเต้นของหัวใจ โดยผู้ใช้งานสามารถเอาผิวหนังนี้แปะหรือติดบนส่วนใดก็ได้บนร่างกาย เช่น อาจจะสวมมันไว้คล้ายกับนาฬิกา หรืออยากจะสวมมันไว้รอบข้อมือ หรือสวมเป็นสร้อยคอก็ยังได้

ทีมนักพัฒนายังกล่าวอีกว่างานวิจัยชิ้นนี้จะสามารถนำไปสู่อนาคตของการพัฒนาระบบเทคโนโลยีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชั้นสูงที่สามารถรีไซเคิลได้ ซึ่งจะช่วยให้ผู้คนสามารถวัดค่าข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับร่างกายของตัวเองได้โดยไม่ต้องสิ้นเปลืองไปกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ดังเช่นในปัจจุบันที่มีการคาดการณ์ว่ามนุษย์นั้นจะสร้างขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ใช้แล้ว เช่นสมาร์ตโฟน แล็ปท็อป และอุปกรณ์อื่น ๆ มากกว่า 55 ล้านตันภายในปี 2021 นี้ จึงเป็นเหตุผลที่ทีมวิจัยต้องการสร้างอุปกรณ์ที่สามารถรีไซเคิลได้นั่นเอง


วิธีการสร้างนั้น นักวิจัยใช้เทคนิคการพิมพ์แบบ screen printing เพื่อจะสร้างกลุ่มสายโลหะเหลวสำหรับวงจร จากนั้นจึงใช้แผ่นฟิล์มบาง ๆ จำนวนสองแผ่นที่สร้างด้วย polyimine ซึ่งมีคุณสมบัติซ่อมแซมตัวเองได้มาประกบทับแผงวงจร 

ผลลัพธ์ก็คือแผ่นผิวหนังอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้ก็จะมีความหนากว่าแผ่นปลาสเตอร์ยาแปะแผลเล็กน้อย ซึ่งสามารถแปะลงบนผิวหนังโดยใช้ความร้อนได้ นอกจากนี้ยังสามารถยืดออกได้กว่า 60% ในทิศทางใดก็ได้โดยไม่ส่งผลต่อแผงวงจรด้านในแต่อย่างใด ถ้าเกิดความเสียหายใด ๆ เกิดขึ้น ก็จะใช้เวลาซ่อมแซมตัวเองเพียง 13 นาทีเท่านั้น

อย่างไรก็ตามผิวหนังอิเล็กทรอนิกส์นี้ยังอยู่ไกลจากความสามารถในการแข่งขันกับอุปกรณ์สวมใส่ในตลาดอื่น ๆ เพราะอุปสรรคข้อหนึ่งที่ชัดเจนก็คืออุปกรณ์ชิ้นนี้ยังต้องการแหล่งพลังงานภายนอกเพื่อให้สามารถทำงานได้นั่นเอง

ขอบคุณข้อมูลจาก

เกาะติดข่าวที่นี่
website: www.TNNThailand.com
facebook : TNNThailand
facebook live : TNN Live
twitter : @TNNThailand
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNThailand
Instagram : @tnn_online
TIKTOK : @tnnonline

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง