รีเซต

วิศวกรสหรัฐฯ สร้าง “หุ่นยนต์ DIY” สำหรับช่วยเล่นกีตาร์โดยเฉพาะ

วิศวกรสหรัฐฯ สร้าง “หุ่นยนต์ DIY” สำหรับช่วยเล่นกีตาร์โดยเฉพาะ
TNN ช่อง16
29 พฤษภาคม 2566 ( 18:49 )
96
วิศวกรสหรัฐฯ สร้าง “หุ่นยนต์ DIY” สำหรับช่วยเล่นกีตาร์โดยเฉพาะ

โอลาฟ เคิร์น (Olav Kvern) วิศวกรในสหรัฐอเมริกา สร้างหุ่นยนต์ช่วยเล่นกีตาร์แบบ DIY สามารถตีโน้ตยาก ๆ ได้สบาย ๆ โดยเขาได้รับแรงบันดาลใจจากการดูการแสดงดนตรีสดเมื่อปี 2007 และพบว่าการเล่นกีตาร์ของนักดนตรีนั้นเก่งและเท่มาก มันได้จังหวะและตำแหน่งที่แม่นยำ ราวกับว่าเป็นหุ่นยนต์ และคำว่า “หุ่นยนต์” เลยทำให้เขาคิดได้ว่า เขาควรสร้างหุ่นยนต์มาเพื่อช่วยเล่นกีตาร์ให้ได้แบบนักดนตรีคนนั้น


สเปกของหุ่นยนต์ช่วยเล่นกีตาร์

หุ่นยนต์ของโอลาฟ เคิร์น (Olav Kvern) มีพื้นฐานมาจากการนำน็อตติดสปริง 6 ตัว เรียงเป็นแนวยาวแทนนื้วมือคน โดยมีกลไกที่จะมีการดีดกับเส้นสายกีตาร์เมื่อได้รับคำสั่งผ่านพิโมโรนิ เซอร์โว 2040 (Pimoroni Servo 2040) แผงวงจรควบคุมไฟฟ้าพร้อมกับตัวควบคุมเซอร์โว (Servo - มอเตอร์ขนาดเล็กที่ควบคุมน้ำหนักและตำแหน่งออกแรงได้อย่างแม่นยำ) 


เมื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ เข้ากับสายกีตาร์แล้ว หุ่นยนต์จะได้รับคำสั่งผ่านเซอร์กิตไพธอน (CircuitPython) ระบบออกคำสั่งที่มีพื้นฐานมาจากภาษาไพธอน (Python) ให้อ่านโน้ตเพลงผ่านเอ็มไอดีไอ (Music Instrument Digital Interface: MIDI) หรือไฟล์ดิจิทัลสำหรับการประสานเสียงดนตรี ก่อนแปลงเป็นเป็นคำสั่งให้น็อตติดสปริงดีดสายคอร์ดกีตาร์เลียนแบบลักษณะการตีคอร์ดด้วยมนุษย์


การพัฒนาหุ่นยนต์ช่วยเล่นกีตาร์

จุดเด่นสำหรับของการออกแบบอยู่ที่ต้นทุนการผลิตที่มีราคาทั้งหมดอยู่ที่ประมาณ 20 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ 700 บาท อย่างไรก็ตาม การปรับแต่งอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้มีจังหวะการตีคอร์ดที่แม่นยำและสอดคล้องกับการตีด้วยมนุษย์ทำให้โอลาฟ เคิร์น ต้องใช้เวลาถึง 16 ปี จนได้เห็นการเล่นตามที่ปรากฏบนสื่อออนไลน์


แม้ว่าจะมีคำถามจากสังคมออนไลน์ว่าเหตุใดจึงไม่พัฒนาหุ่นยนต์ให้เล่นกีตาร์ได้ แต่กลับเลือกเป็นเพียงตัวช่วยในการตีคอร์ด คำถามนี้ โอลาฟ เคิร์น ให้คำตอบว่า สิ่งที่เขาต้องการมากที่สุดก็คือการเล่นกีตาร์ในจังหวะและโน้ตที่ยากและซับซ้อนให้ง่ายและสนุกมากขึ้น ไม่ใช่การสร้างหุ่นยนต์เล่นกีตาร์ทั้งหมดแต่อย่างใด


ที่มาข้อมูล Interesting Engineering, Makezine

ที่มารูปภาพ Olav Kvern via Makezine

ข่าวที่เกี่ยวข้อง