รีเซต

พบสเปิร์มเก่าแก่ที่สุดในโลก ฝังอยู่ในอำพันอายุ 100 ล้านปี

พบสเปิร์มเก่าแก่ที่สุดในโลก ฝังอยู่ในอำพันอายุ 100 ล้านปี
Xinhua
17 กันยายน 2563 ( 17:58 )
184

 (แฟ้มภาพซินหัว : ภาพเปรียบเทียบอวัยวะสืบพันธุ์และสเปิร์มของสัตว์จำพวกออสตราคอด จากสถาบันธรณีวิทยาและบรรพชีวินวิทยาหนานจิง สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน)

 

หนานจิง, 17 ก.ย. (ซินหัว) -- นักบรรพชีวินวิทยาของจีนร่วมกับคณะวิจัยจากเยอรมนีและอังกฤษค้นพบสเปิร์มสัตว์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลกเท่าที่พบในปัจจุบันในก้อนอำพันชิ้นหนึ่งที่มีอายุ 100 ล้านปี อ้างอิงจากรายงานของสถาบันธรณีวิทยาและบรรพชีวินวิทยาหนานจิง สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีนรายงานวิจัยชิ้นนี้ตีพิมพ์ในวารสารของราชสมาคมกรุงลอนดอนฉบับบี ว่าด้วยวิทยาศาสตร์ชีวภาพ (Proceedings of the Royal Society B: Biological Sciences) โดยก่อนการค้นพบครั้งล่าสุดนี้ สเปิร์มสัตว์ที่ได้รับการยืนยันว่าเก่าแก่ที่สุดมีอายุประมาณ 50 ล้านปีสเปิร์มดังกล่าวมาจากออสตราคอด (ostracod) สัตว์ที่จัดอยู่ในชั้นครัสเตเชียน (crustaceans) หรือสัตว์จำพวกมีเปลือกแข็งหุ้มร่างกายแบบเป็นปล้อง

 

ซึ่งมักมีขนาดเล็กจิ๋วแค่ประมาณ 1 มิลลิเมตร แต่กระจายอยู่ทั่วไปในมหาสมุทร ทะเลสาบ หนองน้ำ แม่น้ำ และบ่อน้ำนักวิจัยค้นพบสเปิร์มหรือเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ของออสตราคอด ในก้อนอำพันจากยุคครีเทเชียสที่พบในเมียนมา ก้อนอำพันนี้มีน้ำหนัก 0.676 กรัมและมีตัวอย่างสเปิร์มออสตราคอด 39 ตัวอย่างนักวิจัยพบว่าสเปิร์มออสตราคอดโบราณ มีความยาวมากกว่า 1 ใน 3 ของความยาวลำตัวออสตราคอด มีความคล้ายคลึงกับรูปร่างสเปิร์มของออสตราคอดยุคใหม่ ออสตราคอดโบราณสามารถสร้างสเปิร์มขนาดยักษ์และสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศเช่นเดียวกับลูกหลานของมันในยุคปัจจุบัน"สเปิร์มขนาดใหญ่สามารถเพิ่มอัตราความสำเร็จของการผสมพันธุ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งอาจเป็นเหตุผลสำคัญของการมีประชากรออสตราคอดจำนวนมาก" หวังเหอ สมาชิกของทีมวิจัยและนักวิจัยของสถาบันในเมืองหนานจิงกล่าว

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง