รีเซต

ยูนนานพบฟอสซิล 'ชะนี' เก่าแก่สุดโลก

ยูนนานพบฟอสซิล 'ชะนี' เก่าแก่สุดโลก
Xinhua
28 กันยายน 2565 ( 20:25 )
60

คุนหมิง, 28 ก.ย. (ซินหัว) -- คณะนักบรรพชีวินวิทยาของจีนและนานาชาติค้นพบฟอสซิลของคาตาร์รีน (catarrhine) หรือลิงวงศ์ใหญ่ชนิดหนึ่งที่มีขนาดเล็ก อายุ 7-8 ล้านปี ในมณฑลอวิ๋นหนาน (ยูนนาน) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน

 

บทความวิจัยจากวารสารเจอร์นัล ออฟ ฮิวแมน อีโวลูชัน (Journal of Human Evolution) ระบุว่าสิ่งมีชีวิตดังกล่าวชื่อ "หยวนโหมวพิเธคัส เสี่ยวหยวน" (Yuanmoupithecus xiaoyuan) ซึ่งได้รับการพิสูจน์เป็นชะนีเก่าแก่ที่สุดเท่าที่รู้จักปัจจุบันมีสัตว์จำพวกชะนีหรือวงศ์ไฮโลบาทิดี (hylobatidae) จำนวน 20 สายพันธุ์ ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในพื้นที่เขตร้อนและกึ่งเขตร้อนของเอเชีย โดยฟอสซิลของสัตว์สายพันธุ์นี้หายากและส่วนมากถูกพบในถ้ำทางตอนใต้ของจีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จี๋เสวียผิง นักวิจัยประจำสถาบันสัตววิทยาคุนหมิง สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน ซึ่งเป็นผู้นำโครงการวิจัยนี้ ระบุว่าทีมนักบรรพชีวินวิทยาค้นพบฟอสซิลฟันของหยวนโหมวพิเธคัส เสี่ยวหยวน ซึ่งถูกจัดเป็นคาตาร์รีนขนาดเล็ก ตั้งแต่ 30 กว่าปีก่อนต่อมาจี๋ค้นพบฟอสซิลกระดูกใบหน้าส่วนล่างบางส่วนของลูกชะนีระหว่างการสำรวจภาคสนาม และบ่งชี้เบื้องต้นว่าตัวอย่างที่ค้นพบเป็นของสัตว์ในวงศ์ไฮโลบาทิดี หลังจากเปรียบเทียบกับกะโหลกของชะนียุคปัจจุบัน"แม้ตัวอย่างหยวนโหมวพิเธคัส เสี่ยวหยวน จะค่อนข้างหายาก แต่การค้นพบชิ้นส่วนสำคัญนี้ ทำให้ทีมวิจัยสามารถยืนยันได้ว่าสัตว์สายพันธุ์นี้เป็นบรรพบุรุษสายตรงที่ใกล้ชิดที่สุดของชะนียุคปัจจุบัน" จี๋กล่าวอนึ่ง คณะนักวิจัยเชื่อว่าการค้นพบฟอสซิลสัตว์สายพันธุ์นี้ได้เติมเต็มช่องว่างในประวัติศาสตร์วิวัฒนาการของคาตาร์รีนขนาดเล็กในเอเชียตะวันออก

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง