รีเซต

ชูผักพื้นบ้านสมุนไพรใกล้ตัว ปรุงเมนูอาหารดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

ชูผักพื้นบ้านสมุนไพรใกล้ตัว ปรุงเมนูอาหารดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
NewsReporter
17 พฤษภาคม 2565 ( 15:40 )
212
ชูผักพื้นบ้านสมุนไพรใกล้ตัว ปรุงเมนูอาหารดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

นายแพทย์ขวัญชัย วิศิษฐานนท์ รองอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า วันที่ 17 พฤษภาคมของทุกปีเป็นวันความดันโลหิตสูงโลก ซึ่งโรคความดันโลหิตสูง เป็น 1 ใน 4 ของโรคที่ไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่เป็นปัญหาทางการสาธารณสุข จากข้อมูลระบบคลังข้อมูลสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุขไทย พบว่า ในปีงบประมาณ 2565 มีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ 473,354 ราย พบมากในเขตสุขภาพที่ 9 จำนวน 60,068 ราย เขตสุขภาพที่ 1 จำนวน 50,777 ราย และเขตสุขภาพที่ 6 จำนวน 47,392 ราย ซึ่งเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างสูง

 

สาเหตุของการเกิดโรคที่สำคัญคือ พฤติกรรมสุขภาพ เช่น การกินอาหารรสเค็มจัด หวานจัด สูบบุหรี่ ติดสุราและขาดการออกกำลังกาย ซึ่งหากชะล่าใจ ปล่อยให้ความดันโลหิตสูงนานๆ อาจก่อให้เกิดโรคอื่นร่วมด้วย เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์ อัมพาต หรืออาจเสียชีวิตจากเส้นเลือดในสมองแตกได้

 

องค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยและภูมิปัญญาพื้นบ้าน มีการนำเอาพืชผักสมุนไพรในท้องถิ่นมาปรุงเป็นเมนูอาหารเพื่อดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เช่น กระเจี๊ยบ, กระเทียม, มะรุม, ใบหม่อน, บัวบก, ย่านาง, ขิง และตะไคร้ ที่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนฤทธิ์ลดความดันโลหิต และสามารถมั่นใจได้ถึงความปลอดภัยในการนำมาบริโภค เพราะเป็นสิ่งที่นำมากินเป็นอาหารอยู่แล้ว

 

สำหรับเมนูแนะนำ ได้แก่ แกงส้มมะรุม, ไก่ต้มใบหม่อน, ไก่ผักขิง, ยำตะไคร้ และแกงเห็ดรวม เป็นต้น ส่วนน้ำสมุนไพรที่แนะนำ เช่น น้ำขิง, น้ำกระเจี๊ยบ, น้ำใบบัวบก, นำใบย่านาง และชาตะไคร้ฯ สำหรับยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติที่มีสรรพคุณขับปัสสาวะ ลดความดันโลหิตคือ ยาหญ้าหนวดแมวและยากระเจี๊ยบแดง ซึ่งเป็นรูปแบบชาชง แต่มีข้อควรระวังคือ ไม่ควรใช้ในผู้ที่มีการทำงานของหัวใจและไตบกพร่อง เนื่องจากมีแร่ธาตุโพแทสเซียมสูง โดยยาดังกล่าวสามารถใช้สิทธิเบิกจ่ายได้ที่คลินิกการแพทย์แผนไทยในสถานพยาบาลของรัฐตามภูมิลำเนา หรือสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาและร้านสะดวกซื้อ ทั่วไป

 

หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทย หรือการใช้ยาสมุนไพรในการรักษาโรค สามารถติดต่อได้ที่ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก หมายเลขโทรศัพท์ 0 2149 5678 หรือช่องทางออนไลน์ที่ FACEBOOK กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก และ line @DTAM

 

ข้อมูล Radio-สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.

คลิกเลย >>> TrueID Community <<<

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง