รีเซต

นักวิทย์ฯ เพาะพันธุ์ยุงที่มียีนต้านมาลาเรีย หวังป้องกันโรคระบาด

นักวิทย์ฯ เพาะพันธุ์ยุงที่มียีนต้านมาลาเรีย หวังป้องกันโรคระบาด
TNN ช่อง16
18 เมษายน 2564 ( 01:43 )
87
นักวิทย์ฯ เพาะพันธุ์ยุงที่มียีนต้านมาลาเรีย หวังป้องกันโรคระบาด

แม้ว่าในบ้านเราอาจจะไม่ได้พบเห็นผู้ป่วยโรคมาลาเรียได้บ่อยนัก แต่ก็นับว่ามันคือหนึ่งในโรคติดเชื้อที่ยังคงเป็นปัญหาในหลายพื้นที่ทั่วโลก ซึ่งมีความรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ นักวิทยาศาสตร์จึงได้คิดค้นแนวทางป้องกันการแพร่ระบาดของโรคร้ายนี้ โดยใช้ยังที่มียีนป้องกันโรคมาลาเรีย


มาลาเรีย (Malaria) คือโรคติดเชื้อที่เกิดจากปรสิต มีอยู่ด้วยกัน 4 สายพันธุ์ โดยเชื้อปรสิตสายพันธุ์ Plasmodium falciparum มักทำให้เกิดอาการรุนแรงจนเสียชีวิตได้ เชื้อปรสิตเหล่านี้มียุงก้นปล่องเป็นพาหะนำโรค หากเราสามารถปรับแต่งยีนของยุงเหล่านี้ให้สามารถทำลายเชื้อตั้งแต่ยังอยู่ในตัวยุง ก็อาจจะช่วยลดการแพร่ระบาดของโรคได้


นักวิทยาศาสตร์จาก Imperial College London สามารถปรับแต่งยีนของยุงก้นปล่อง ให้สามารถทำลายเชื้อปรสิตได้เป็นผลสำเร็จ และมีเป้าหมายในการเพาะพันธุ์ยุงเหล่านี้ก่อนปล่อยออกสูธรรมชาติ เพื่อให้ยุงที่มียีนต้านเชื้อกระจายยีนนี้ไปยังลูกหลายรุ่นต่อไป


การทดลองนี้มีความสำคัญอย่างมากในแง่ของการควบคุมโรค เนื่องจากเชื้อมาลาเรียในช่วงหลังเริ่มดื้อยาปฏิชีวนะมากขึ้น ทำให้การรักษาผู้ป่วยเป็นไปอย่างยากลำบาก เพราะฉะนั้นการป้องกันที่ดีที่สุดคือการทำลายเชื้อปรสิตในตัวยุงนั่นเอง


นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่นักวิทยาศาสตร์พยายามปรับแต่งยีนของยุง ในปี 2018 มีการทดลองเพาะพันธุ์ยุงที่ไม่ดูดเลือดสัตว์ขึ้นมา พร้อมปล่อยออกสู่ธรรมชาติ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ก็คาดหวังว่ายุงที่พัฒนาขึ้นจะช่วยลดปัญหาการแพร่ระบาดของโรคร้ายนี้ได้


ขอขอบคุณข้อมูลจาก Interesting Engineering

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง