รีเซต

"ลีอา โธมัส" นักว่ายน้ำ “หญิงข้ามเพศ” ที่เก่งเพียงไรก็ลงแข่งโอลิมปิก “ประเภทหญิง” ไม่ได้ | Exclusive

"ลีอา โธมัส" นักว่ายน้ำ “หญิงข้ามเพศ” ที่เก่งเพียงไรก็ลงแข่งโอลิมปิก “ประเภทหญิง” ไม่ได้ | Exclusive
TNN ช่อง16
8 สิงหาคม 2567 ( 11:11 )
10
"ลีอา โธมัส" นักว่ายน้ำ “หญิงข้ามเพศ” ที่เก่งเพียงไรก็ลงแข่งโอลิมปิก “ประเภทหญิง” ไม่ได้ | Exclusive

สังคมโลกโอบอุ้มความหลากหลายมากขึ้น โดยเฉพาะ “ความหลากหลายทางเพศ” ไม่จำกัดเฉพาะชายหรือหญิง บุคคลสามารถเลือกตนเองว่าจะเป็นเพศสภาพใดก็ได้ ผู้คนสามารถที่ผ่าตัด “เปลี่ยนเพศ” ได้ และบางประเทศให้เลือกคำนำหน้าชื่อได้


แต่ในโลกของ “กีฬา” ที่ว่าด้วยเรื่องของการแข่งขันชิงชัยกัน “ความได้เปรียบ” เพียงเล็กน้อยที่ติดตัวมากับ “เพศกำเนิด” อาทิ มวลกล้ามเนื้อ ฮอร์โมน หรือพันธุกรรม นำมาสู่การตั้งคำถามถึงความยุติธรรมในการแข่งขัน


โดยเฉพาะ กลุ่ม “ทรานส์วูแมน” หรือ “หญิงข้ามเพศ”  ที่มักมีคำครหาถึงเรื่องนี้เสมอ แม้จะ Identified หรือแปลงเพศมาแล้วว่าเป็นหญิง ก็ไม่อาจหักล้างสิ่งนี้ได้ 


"ลีอา โธมัส" นักว่ายน้ำชายแปลงเป็นหญิง ที่อยู่ในอันดับ 1 ของโลกประเภทหญิง ณ ตอนนี้ เป็นกรณีศึกษาที่ดีที่สุด ติดตามไปพร้อม ๆ กัน 


*หมายเหตุ: บทความนี้นำเสนอเพียงข้อเท็จจริง และผลการแข่งขัน ไม่ได้ตัดสินว่าใครถูกหรือผิด


จากชายสู่หญิง

ลีอา โธมัส หรือชื่อเดิม “วิลเลียม โธมัส” เกิดที่รัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา เขาฉายแววการว่ายน้ำท่าฟรีสไตล์มาตั้งแต่วัยเด็ก และได้เรียนต่อระดับอุดมศึกษาที่มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ซึ่งผลงานก็อยู่ในระดับกลางค่อนบน ติดทีมไปแข่งขันระดับไอวีลีกบางครั้ง 


แต่จิตใจของเขาเรียกร้องให้กำหนดตนเองว่าเป็นผู้หญิง เขาจึงเข้ารับกระบวนการ “hormone replacement therapy (HRT)” ซึ่งเป็นการทำลาย “เทสโทสเทอโรน” หรือ “ฮอร์โมนเพศชาย” ให้หายไปทีละน้อย และจะทำให้ “เอสโทรเจน” หรือ “ฮอร์โมนเพศหญิง” เพิ่มมากขึ้น เพื่อเตรียมการสู่การเป็นผู้หญิงแบบเต็มตัว


โทมัส ได้ออกมา Call Out เพื่อให้ตนเองได้ลงแข่งขันในประเภทหญิง แต่ในช่วงการทำ HRT นั้น โทมัสยังคงมีฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนระดับสูงอยู่ ทำให้ไม่สามารถลงแข่งขันได้แบบเต็มตัว จึงต้องควบการแข่งขันทั้งชายและหญิงไปก่อน


ในประเภทชาย โทมัส ทำผลงานได้ไม่ค่อยน่าพอใจ อยู่ในอันดับที่ 89 ในลีกว่ายน้ำระดับมหาวิทยาลัย และอยู่ในลำดับที่ 462 ในการแข่งขันระดับอาชีพ 


กลับกัน ในประเภทหญิง โทมัส ทำผลงานได้เป็นอย่างดี เพราะในการแข่งขัน NCAA Division I national championship เขาว่ายชนะ เอ็มมา วีแอนท์ อดีตเจ้าของเหรีญเงินโอลิมปิกฟรีสไตล์ 400 เมตรประเภทหญิง โดยทิ้งห่างเวลาถึง 1.75 วินาที ซึ่งถือว่าชนะขาด 


ในปี 2022 อันดับโลกของ โทมัส ทะยานจากลำดับที่ 65 มาเป็นลำดับที่ 1 ในประเภทหญิง ส่วนประเภทชายอยู่ในลำดับที่ 554 ทำให้โทมัสเลือกที่จะลงแข่งขันในประเภทหญิงอย่างไม่ลังเล แม้จะมีคำครหามากมายถึงความได้เปรียบ และความไม่ยุติะรรม โดยเฉพาะจากนักกีฬาว่ายน้ำหญิง




การทำ HRT นั้น คือการปรับลดเทสโทสเทอโรน แต่ไม่ได้ “กำจัดทิ้งทั้งหมด” หมายความว่า แม้โทมัสจะบอกว่าทำ HRT แต่ไม่มีสิ่งใดยืนยันได้ว่า ฮอร์โมนเพศชายนี้ได้หมดสิ้นไปก่อนการแข่งขันจริง ๆ 


ดิฉันไม่มีทางทราบได้เลยว่าอนาคตวงการว่ายน้ำจะเป็นอย่างไร แต่ดิฉันจะต้องประกาศให้โลกรู้ว่าดิฉันคือใคร เป็นอย่างไร แบบที่ดิฉันเป็น ดิฉันอยากว่ายน้ำในแบบที่เป็นดิฉันจริง ” เขากล่าวกับ Sport Illustrated เมื่อปี 2022 ก่อนที่จะเปิดเผยต่ออีกว่า ดิฉันอยากเข้าแข่งขันโอลิมปิก 2024”


การถกเถียงที่รุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ


หลังให้สัมภาษณ์กับ Sport Illustrated ก็มีแรงกระเพื่อมตามมามหาศาล โดยเฉพาะในระดับนิติบัญญัติของมลรัฐ ที่ได้ออกกฏหมายห้ามนักกีฬาที่เป็นบุคคลข้ามเพศลงแข่งขันปะปนกับผู้หญิง โดยเฉพาะในระดับเยาวชน 


เริ่มต้นที่รัฐอินเดียนา ในปี 2023 ก่อนจะไปยังยูทาห์ อะแลบามา แอริโซนา อาร์คันซอ ฟลอริดา จอร์เจีย ไอดาโฮ ไอโอวา เคนตักกี มิซซิซิปปี มอนทานา โอคลาโฮมา เซาธ์ แคลิฟลอเนีย เซาธ์ ดาโกตา เทนเนซซี เวสต์เวอร์จิเนีย หลุยส์เซียนา หรือแม้กระทั่งเทกซัส รัฐบ้านเกิดของโธมัส


เรื่องนี้ New York Times เขียนอธิบายว่า การมีส่วนร่วมทางกีฬาของเด็กผู้หญิงและผู้หญิงข้ามเพศกลายเป็นหัวข้อที่แตกแยกมากขึ้นเรื่อย ” เพราะเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนอย่างมาก ส่วนหนึ่งคือเรื่องของการเปิดรับความหลากหลายที่เป็นเทรนด์ของโลก หากไปป้องปรามเท่ากับว่าสร้างความอยุติธรรม อีกส่วนหนึ่งคือธรรมชาติของกีฬาที่ต้องไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางการแข่งขัน หากอนุญาตให้ บุคคลข้ามเพศแข่งขันกับผู้หญิง ก็เท่ากับว่าสร้างความอยุติธรรมเช่นกัน


เรื่องนี้ส่งผลมายังการตัดสินของอนุญาโตตุลาการ หลังจากที่ World Aquatics ยื่นฟ้องโธมัสว่าขาดคุณสมบัติในการเข้าแข่งขันโอลิมปิก 2024 เนื่องจากเขาเป็น บุคคลข้ามเพศที่อย่างไรก็ตามไม่สามารถเปลี่ยนแปลง “โครโมโซม Y” ในตนเอง ที่จะทำให้เกิดความได้เปรียบแก่นักกีฬาหญิงได้ แม้ฮอร์โมนเพศชายจะลดลงก็ตาม 


หากกล่าวตามหลักชีววิทยาแล้ว การตรวจเพศ (Sex Verification) ในการเข้าแข่งขันโอลิมปิก ไม่ได้สนใจเรื่องฮอร์โมน เพราะเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้เสมอ แต่โคโมโซมนั้นเป็น “ธรรมชาติ” ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ มีมาตั้งแต่กำเนิด และโครโมโซมสามารถกำหนดความเป็นเพศ ที่จะส่งผลมายังฮอร์โมนได้ 


หมายความว่า ความพยายามใช้สิทธิเลือกเพศของบุคคลข้ามเพศ ไม่อาจที่จะหักล้างธรรมชาติของมนุษย์ได้ เว้นเสียแต่ว่ามีการตัดต่อพันธุกรรม หรือจัดแข่งขันโอลิมปิกเฉพาะบุคคลข้ามเพศขึ้นมา


แต่ใช่ว่าบุคคลข้ามเพศจะได้เปรียบเสมอไป ยกตัวอย่าง ลอเรล ฮับบาร์ด (Laurel Hubbard) นักกีฬาหญิงข้ามเพศ (female transgender) อายุ 43 ปี ตัวแทนจากนิวซีแลนด์เข้าร่วมการแข่งขันยกน้ำหนักบุคคลหญิง แต่ก็ไม่ชนะ


เรอเน่ ริชาร์ (Renée Richards) จักษุแพทย์ชาวอเมริกันที่ผ่านการผ่าตัดแปลงเพศจากชายเป็นหญิงก่อนที่จะมีโอกาสแข่งขันในกีฬาเทนนิสกับ มาร์ตินา นาวราทิโลวา (Martina Navratilova) ในปี 1977 และพ่ายให้กับ Navratilova


หรือจะยกตัวอย่าง กรณีทรานส์แมน (หญิงแปลงเป็นชาย ผู้มีโครโมโซม XX) ก็ชกมวยต่อยชนะผู้ชายมาแล้วก็มี เช่น พาทริซิโอ มานูเอล 


กระนั้น กรณีศึกษาข้างต้น เป็นเรื่องที่นาน ๆ จะเกิดขึ้นที จึงต้องกลับมาพิจารณราว่า กีฬาเป็นเรื่องของการตัดสินแพ้ชนะด้วยความห่างกันเพียงเล็กน้อย การแข่งขันจึงต้อง “ทำให้เท่ากันตั้งแต่เริ่ม” ให้มากที่สุด


สำหรับกรณีของ โธมัส เขาถูกตัดสิทธิ์แข่งขันโอลิมปิก 2024 ไปตามระเบียบ เรื่องนี้ World Aquatics ยกย่องคำตัดสินว่าเป็น "ก้าวสำคัญในความพยายามของเราที่จะปกป้องกีฬาของผู้หญิง


Exclusive by วิศรุต หล่าสกุล [Hayden Whiz]


แหล่งอ้างอิง


ข่าวที่เกี่ยวข้อง