“รอยเลื่อนสะกาย” ต้นตอแผ่นดินไหวมรณะ สั่นไหวเมียนมา สะเทือนถึงกรุงเทพฯ

รอยเลื่อนสะกายคืออะไร ต้นตอแผ่นดินไหว สะเทือนกรุงเทพฯ
จากเหตุแผ่นดินไหวขนาด 7.7 ในเมียนมา ตามด้วยอาฟเตอร์ช็อคขนาดอีกหลายครั้ง ที่สะเทือนมาถึงใจกลางกรุงเทพฯ และทำให้อาคารสั่นไหว และมีตึกถล่มที่จตุจักร
รศ.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโยธา สาขาวิศวกรรมปฐพี เปิดเผยกับสื่อว่า นี่เป็นแผ่นดินไหวที่รอยเลื่อนสะกาย
แล้วรอยเลื่อนสะกายคืออะไร
นี่คือรอยเลื่อนที่อยู่ในแถบมัณฑะเลย์ของเมียนมา เป็นต้นตอของแผ่นดินไหวรุนแรงในเมียนมามาแล้วหลายครั้ง โดยครั้งรุนแรงสุด นับได้ 7-8 ครั้งเลยทีเดียว ในช่วงปี ค.ศ. 1912, 1930, 1940 รวมถึงในปี 1950
ตามสถิติแล้ว มันจะเกิดแผ่นดินไหวบริเวณรอยเลื่อนนี้ทุก ๆ 10-20 ปีเลยทีเดียว แต่ครั้งนรี้ ขนาด 7.6 ถือว่ารุนแรงมาก รับรู้ตั้้งแต่ภาคเหนือลงมาถึงภาคกลาง และดินอ่อนของกรุงเทพฯ และปริมณฑลด้วย
บทความวิชาการว่าด้วย รอยเลื่อนสะกาย ของภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชี้ว่า รอยเลื่อนสะกาย เป็นหนึ่งในรอยเลื่อนมีพลังที่ใหญ่และสำคัญที่สุดในภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 1,200 กิโลเมตร
วางตัวใน แนวเหนือ-ใต้ผ่ากลางประเทศพม่า จากทางตอนเหนือของเมืองมิตจีนา และพาดผ่านเมืองสำคัญมากมาย
นักธรณีวิทยาเชื่อว่ารอยเลื่อนสะกายเป็นขอบหรือ รอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลกย่อยในอดีต 2 แผ่น คือ แผ่นซุนดา (Sunda Plate) และแผ่นพม่า (Burma Plate) ซึ่งปัจจุบันถือเป็นส่วนหนึ่งของแผ่นเปลือกโลกยูเรเซีย
ผลจากการเคลื่อนที่ ในยุคปัจจุบัน ของแผ่นเปลือกโลกอินเดีย ( Indian Plate) เข้า ชนและมุดตัวลงไปใต้แผ่นเปลือกโลกยูเรเซียในทิศทางตะวันออกเฉียงเหนือโดยประมาณ ส่งผลให้รอย เลื่อนสะกาย ซึ่งเป็นรอยต่อที่ยังไม่เชื่อมประสานติดกันอย่างสมบูรณ์เกิดการขยับและเลื่อนตัวตามไปด้วย
นับแต่ปี 2507 - 2555 เคยเกิดแผ่นดินไหวหลัก (Mainshock) บริเวณรอบๆ รัศมี 100 กิโลเมตรจากรอยเลื่อนสะกายประมาณ 276 เหตุการณ์ โดยมีขนาดแผ่นดินไหวระหว่าง 2.9-7.3 ริกเตอร์
บทความวิชาการนี้ ยังชี้ว่า รอยเลื่อนสะกายมีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ได้ทั้ง ระดับ 7.0-8.0 ริกเตอร์ ซึ่งผลจากการเกิดแผ่นดินไหวในระดับนี้ อาจสร้างแรงสั่นสะเทือนเพียงพอที่จะ เดินทางมาถึงประเทศไทย
งานวิชาการยังประเมินว่า หากเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ระดับนี้ บริเวณภาคเหนือของประเทศไทยมีโอกาสได้รับ ผลกระทบด้านแรงสั่นสะเทือนในรูปการณ์ต่อไปนี้
หมายถึงระดับแรงสั่นสะเทือนที่ทำให้ถ้วยชามขยับ หน้าต่างประตูสั่น ผนังมีเสียงลั่น รถยนต์ที่จอดอยู่สั่นไหวชัดเจน จนไปถึง เกือบทุกคนรู้สึก ถ้วยชามตกแตก ของในบ้านแกว่ง หน้าต่างพัง ของที่ตั้งไม่มั่นคงล้ม นาฬิกาลูกตุ้มหยุดเดิน และอาคารถล่มได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดในไทยในวันที่ 28 มีนาคม นั่นเอง