ทำความรู้จัก New E-Filling ยื่นภาษีออนไลน์ ปี 2565-2566
ใกล้สิ้นสุดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.91 ประจำปีภาษี 2564 ซึ่งกรมสรรพากรได้ขยายเวลาการยื่นแบบฯ ให้สำหรับการยื่นผ่านอินเทอร์เน็ตถึงวันที่ 8 เมษายน 2565
ทำความรู้จัก New E-Filling ยื่นภาษีออนไลน์ ปี 2565-2566
ผู้เสียภาษีสามารถ "ยื่นแบบภาษีออนไลน์" ได้ที่เว็บไซต์กรมสรรพากร rd.go.th ผ่านระบบ e-Filing เพื่อลดขั้นตอนการไปติดต่อที่สำนักงานสรรพากร และหากได้รับเงินคืนภาษีก็จะโอนเข้าพร้อมเพย์ตามเลขบัตรประชาชนของผู้ลงทะเบียน ถือเป็นขั้นตอนที่ช่วยอำนวยความสะดวกโดยไม่ต้องก้าวออกจากบ้าน วันนี้ TrueId จะพาทุกท่านไปรู้จักกับระบบยื่นภาษีใหม่ และขั้นตอนการยื่นภาษีแบบใหม่ จะเป็นอย่างไรไปติดตามกัน
ขั้นตอนการยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ต ภ.ง.ด.90/91
1. เข้าสู่เว็บไซต์กรมสรรพากรที่ www.rd.go.th เลือก “ยื่นออนไลน์”
2. เข้าสู่หน้าจอ E-FILING กดเข้าสู่ระบบ
3. กรอกหมายเลขผู้ใช้ และ รหัสผ่าน กด"ตกลง"(หากยังไม่มีหมายเลขผู้ใช้ให้กด"สมัครสมาชิก")
4.เลือกเบอร์โทรศัพท์ที่แจ้งไว้ เพื่อขอรับรหัส OTP ยืนยันตัวตน
5. เข้าสู่หน้าจอการกรอกข้อมูลการยื่นแบบ จะมี 6 หน้า ดังนี้
- 5.1 หน้าหลัก
- 5.2 เลือกเงินได้/ลดหย่อน
- 5.3 บันทึกเงินได้
- 5.4 บันทึกลดหย่อน
- 5.5 คํานวณภาษี
- 5.6 ยืนยันการยื่นแบบ
โดยจะต้องกรอกข้อมูลเรียงลําดับตามแต่ละหน้าไปจนถึงหน้ายืนยันการยื่นแบบฯ แต่สามารถ ย้อนกลับมาแก้ไขข้อมูลในหน้าหัวข้อต่าง ๆ ได้
5.1 หน้าหลัก ระบบจะแสดงหน้าจอรายละเอียดขอผู้มีเงินได้ ดังนี้
- ผู้มีเงินได้
- สถานภาพผู้มีเงินได้
- สถานการณ์ยื่นแบบ
- คู่สมรส
- ข้อมูลการมีเงินได้และสถานการณ์ยื่นแบบฯ ของคู่สมรส
5.2 เลือกเงินได้/ลดหย่อน แสดงข้อมูล ดังนี้
- เลือกรายการเงินได้พึงประเมิน - เลือกเงินได้ที่ได้รับยกเว้น/ค่าลดหย่อน
5.3 บันทึกเงินได้
- ระบบจะแสดงข้อมูลตามประเภทเงินได้พึงประเมินที่เลือกไว้ในขั้นตอนที่ 5.2 สามารถย้อนกลับไป เพิ่ม/ลด ประเภทเงินได้ โดยเลือกที่ 2 เลือกเงินได้/ลดหย่อน 2
- เลือกประเภทเงินได้ “จํานวนเงินได้ทั้งหมด” ระบบจะคํานวณอัตราร้อยละที่ใช้ หักค่าใช้จ่ายให้อัตโนมัติ หรือเปลี่ยนเลือกเป็นหักค่าใช้จ่ายจริงได้
- บันทึกข้อมูลภาษีหัก ณ ที่จ่ายทั้งหมด (ในกรณีไม่มี ให้ใส่เป็น 0.00) และ เลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้จ่ายเงินได้
5.4 บันทึกลดหย่อน
- รายการลดหย่อนและยกเว้นจะปรากฏตามที่เลือกไว้ในหัวข้อที่ 5.2 ส่วน “เลือก เงินได้ที่ได้รับยกเว้น/ค่าลดหย่อน” ในกรณีที่ไม่เลือกก็จะไม่ปรากฏ สามารถย้อนกลับไป เพิ่ม/ลด รายการลดหย่อน โดยเลือกที่ 2 เลือกเงินได้/ลดหย่อน 1
- สามารถบันทึกจํานวนเงินที่ได้รับการลดหย่อนและยกเว้นภาษีได้ไม่เกินเกณฑ์ที่ สรรพากรกําหนด ถ้าบันทึกจํานวนเงินเกินเกณฑ์จะขึ้นข้อความปฏิเสธแจ้งเตือน
5.5 คํานวณภาษี
- ระบบจะสรุปข้อมูลการคํานวณภาษี และเงินได้ที่ได้รับยกเว้นสามารถ กรอกในส่วนการคํานวณภาษีได้ ดังนี้ (ในกรณีไม่มี ให้ใส่เป็น 0.00)
- เงินบริจาคสนับสนุนการศึกษา/การกีฬา - เงินบริจาค - ภาษีเงินได้ที่ได้รับยกเว้นจากการซื้ออสังหาริมทรัพย์
- สามารถเลือกแสดงเจตนาบริจาคภาษีให้พรรคการเมืองได้ ในกรณีที่มีภาษีชําระตั้งแต่ 100 บาทขึ้นไป
5.6 ยืนยันการยื่นแบบ
- ระบบจะแสดงใบหน้าแบบรายการภาษี ภ.ง.ด.90/91 ให้ตรวจสอบข้อมูลที่ได้บันทึก และจํานวนเงินที่ต้องชําระภาษี กรณีไม่มีภาษชําระจะแสดงเป็น 0.00 บาท
- เลือก “ยืนยันการยื่นแบบ” จะสิ้นสุดการบันทึกแบบแสดงรายการภาษี (2) กรมสรรพากร แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปีภาษี 2558 ภ.ง.ด.90/91
กรณีที่ผู้มีเงินได้มีภาษีชําระไว้เกิน
ระบบจะปรากฏส่วนคําร้องขอคืนภาษี ดังนี้
- มีความประสงค์จะขอคืนเงินภาษี
- ไม่มีความประสงค์จะขอคืนเงินภาษี
หากเลือก “มีความประสงค์จะขอคืนเงินภาษี” ระบบจะแสดงข้อความให้แจ้งผลการคืนเงินภาษี ผ่านระบบ SMS โดยให้ระบุเบอร์โทรศัพท์แล้วตกลง เลือกทํารายต่อไป ระบบจะเข้าสู่ขั้นตอน
ต่อไป
ในส่วนนี้หาก “มีความประสงค์จะขอคืนเงินภาษี” โดยสามารถเลือกวิธีการจัดส่งเช็คคืนภาษีได้ ดังนี้
- ไม่ประสงค์ลงทะเบียน EMS
- ประสงค์ลงทะเบียน EMS ฉบับละ 32 บาท โดยหักจากเงินภาษีที่ได้คืนของท่าน ทั้งนี้ต้อง ได้รับคืนไม่น้อยกว่าค่าบริการฝากส่ง
กรณีที่เลือก “ประสงค์ลงทะเบียน EMS ฉบับละ 32 บาท” จะมีข้อความแจ้งเตือน และแสดง จํานวนเงินคงเหลือที่ขอคืนภาษี
6. ตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้องครบถ้วน เลือก “ยืนยันการยื่นแบบ”
7. ระบบจะแสดงผลการยื่นแบบ สามารถเลือก “พิมพ์แบบ”
กรณีที่ผู้มีเงินได้มีภาษชําระไว้เพิ่มเติม
การผ่อนชําระจํานวนเงินภาษีตั้งแต่ 3,000 บาท ผู้มีเงินได้มีสิทธิขอผ่อนชําระภาษีเป็น 3 งวด งวดละเท่าๆกัน โดยสามารถเลือกในส่วน “ประสงค์ หรือ ไม่ประสงค์”
หากเลือก “ประสงค์” ระบบจะแสดง “ข้อตกลงการขอชําระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นงวด ผ่านระบบการยื่นแบบและชําระภาษีทางอินเทอร์เน็ต” เลือก “ยอมรับ” ระบบจะแสดงรายละเอียดจํานวนเงินการขอผ่อนชําระภาษีของผู้มีเงินได้ ทั้ง 3 งวด พร้อมกับระบุ วัน/เดือน/ปี ที่สิ้นสุดในการชําระ
ผู้มีเงินได้สามารถเลือกให้กรมสรรพากรแจ้งเตือนการผ่อนชําระภาษีผ่านระบบ SMS โดยเลือก
- ประสงค์ให้แจ้งที่หมายเลขโทรศัพท์
- ไม่ประสงค์
เลือก “ทํารายการต่อไป” จะเข้าสู่หน้าจอ ยืนยันการยื่นแบบ ระบบจะแสดงจํานวนเงินภาษี ที่ชําระเพิ่มเติม และ จํานวนเงินภาษีที่ชําระพร้อมแบบ(งวดที่ 1) เลือก “ยืนยันการยื่นแบบ”
8. ระบบจะเข้าสู่ขั้นตอนการยืนยันชําระภาษี
กรมสรรพากรให้บริการช่องทางการชําระภาษี ได้แก่
8.1 ชําระแบบเชื่อมต่อเว็บไซต์ (ระบบชําระเงิน) ของธนาคารโดยตรง
" E-Payment (ตัดเงินแบบ Online Real Time) " ATM บนอินเทอร์เน็ต
" บัตรเครดิตบนอินเทอร์เน็ต
8.2 ชําระภาษีด้วยชุดชําระเงิน (Pay- in Slip) แสดงข้อมูลสําคัญใช้ชําระภาษี ได้แก่ ชื่อ-สกุล เลขประจําตัวประชาชน รหัสควบคุม จํานวนเงินภาษี มีช่องทางที่เปิดให้บริการ ดังนี้
" ตู้ ATM ของธนาคารที่เข้าร่วมโครงการ " Internet Banking ของธนาคารที่เข้าร่วมโครงการ Counter Service (ต้องนําชุดชําระเงินไปชําระ)
- ธนาคารที่เข้าร่วมโครงการ - 7-Eleven - เทสโก้ โลตัส
- ที่ทําการไปรษณีย์ " สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (ต้องนําชุดชําระเงินไปชําระ) " Tele Banking ของธนาคารที่เข้าร่วมโครงการ " Phone Banking ของธนาคารที่เข้าร่วมโครงการ
" Mobile Banking ของธนาคารที่เข้าร่วมโครงการ
8.3 เลือกยังไม่ชําระภาษี (กรณีมีภาษีต้องชําระแต่ยังไม่เลือกช่องทางการชําระเงิน)
8.4 เลือกพิมพ์เมื่อต้องการพิมพ์แบบแสดงราย
9. พิมพ์แบบฯ และ ใบเสร็จรับเงิน ภ.ง.ด.90/91
ได้ทันทีกรณีที่ไม่มีภาษีชําระหรือขอคืนภาษี และกรณีมีภาษีชําระเพิ่มเติม พิมพ์แบบฯ และ ใบเสร็จรับเงิน ภ.ง.ด.90/91 ได้หลังจากได้ยื่นแบบฯ และชําระภาษีแล้ว 2 วันทําการ ที่หน้าเมนู พิมพ์แบบฯ-ใบเสร็จ ภ.ง.ด. (90/91) (94)
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- เมื่อมีเงินได้ ผู้เสียภาษีต้องทำอย่างไร?
- เตรียมตัวยื่นภาษี ทำความรู้จัก ภ.ง.ด. คืออะไร?
- รวมค่าลดหย่อน สำหรับยื่นปี 2564
ข้อมูล : กรมสรรพากร
--------------------
เกาะติดสถานการณ์โควิด-19 ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก