รีเซต

สาวโพสต์เจอ 'ก้อนใสปริศนา' บนชายหาด ชาวเน็ตพากันสงสัยนี่ตัวอะไร - ใช่แมงกะพรุนหรือไม่?

สาวโพสต์เจอ 'ก้อนใสปริศนา' บนชายหาด ชาวเน็ตพากันสงสัยนี่ตัวอะไร - ใช่แมงกะพรุนหรือไม่?
TNN ช่อง16
20 มีนาคม 2567 ( 14:35 )
29
1
สาวโพสต์เจอ 'ก้อนใสปริศนา' บนชายหาด ชาวเน็ตพากันสงสัยนี่ตัวอะไร - ใช่แมงกะพรุนหรือไม่?

เมื่อคืนที่ผ่านมามีผู้ใช้เฟศบุ๊กรายหนึ่ง ได้โพสต์ลงในกลุ่ม ‘นี่ตัวอะไร’ เผยให้เห็นก้อนใส ๆ คล้ายกับหยดน้ำ ลองจับดูแล้วนิ่ม ๆ เหมือนเยลลี่ ซึ่งเธอได้พบเจ้าก้อนปริศนานี้บนชายหาดของจังหวัดตรัง ด้วยความสงสัยถึงได้โพสต์ถามไปยังชาวเน็ต 


หลังจากโพสต์ดังกล่าวเผยแพร่ออกไปนั้น ได้มีชาวเน็ตต่างเข้าแสดงความเป็นห่วง เพราะอาจเป็น ‘แมงกะพรุน’ ชนิดหนึ่ง ซึ่งถ้าหากไปสัมผัสแล้ว อาจจะเกิดการแพ้ระคายเคืองได้ 


อย่างไรก็ตามมีชาวเน็ตออกมาเฉลยว่าคือตัว ‘หวีวุ้น’ มีลักษณะใส ๆ แต่ไม่เป็นอันตราย อย่างไรก็ตามให้หลีกเลี่ยงการสัมผัส เพราะใกล้เคียงกับแมงกะพรุนมาก ซึ่งชาวเน็ตต่างก็ คอมเม้นต์ไปในทิศทางเดียวกันเพราะเนื่องจากการสัมผัสสัตว์ทะเลที่เราไม่รู้จัก อาจจะเกิดการแพ้ระคายเคืองได้ ซึ่งเจ้าของโพสต์ก็เข้าอกเข้าใจความเป็นห่วงอย่างดี พร้อมกับระบุว่าครั้งหน้าจะไม่สัมผัสอีกต่อไป จุดประสงค์ที่ตนเองจับนั้น เนื่องจากนึกว่าเป็นขยะเศษแก้วต้องการจะนำเอาไปทิ้ง 


ทั้งนี้ ‘หวีวุ้น’ จากข้อมูลของ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน ระบุว่าหวีวุ้น (comb jelly หรือ sea comb) เป็นสัตว์ดึกดำบรรพ์ที่กำเนิดขึ้นบนโลกเมื่อ 500 ล้านปีก่อนอยู่ไฟลัมทีโนฟอรา (Ctenophora - ktenos หวี + phoros มี) 95% ของร่างการหวีวุ้นประกอบไปด้วยน้ำ และมีแผ่นคล้ายหวีจำนวนแปดแถวที่ข้างลำตัวใช้สำหรับเคลื่อนไหวจึงเป็นที่มาของชื่อหวีวุ้น  


หลายคนเข้าใจผิดว่าคือแมงกะพรุน เนื่องจากรูปร่างของหวีวุ้นจะคล้ายแมงกะพรุน (jellyfish) แต่อยู่แต่ที่จริงแล้วหวีวุ้นและแมงกะพรุนอยู่คนละไฟลัม หวีวุ้น เป็นสัตว์จากไฟลัมทีโนฟอรา (Ctenophora) แมงกระพรุน เป็นสัตว์จากไฟลัมไนดาเรีย (Cnidaria) มีรูปร่างสมมาตรเหมือนกัน ต่างกันตรงที่แมงกะพรุนจะมีเข็มพิษแต่หวีวุ้นไม่มีเข็มพิษ แต่จะมีเซลล์สร้างสารเหนียวยึดติดใช้จับเหยื่อเรียกว่าคอลโลบลาสต์




ข้อมูลจาก: Pornpan Yossontornกลุ่มนี่ตัวอะไร 

ภาพจาก: Pornpan Yossontorn กลุ่มนี่ตัวอะไร

ข่าวที่เกี่ยวข้อง